ความพึงพอใจของคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ต่อการให้บริการ งานพัฒนาหลักสูตรของงานบริหารการศึกษาและกิจการนักศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ศศิธร บูรณ์เจริญ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2017.11

คำสำคัญ:

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติการพัฒนาหลักสูตร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินความพึงพอใจของคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ต่อการให้บริการงานพัฒนาหลักสูตร  2) หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและความพึงพอใจของคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ต่อการให้บริการงานพัฒนาหลักสูตร  โดยทำการสำรวจความพึงพอใจของคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ต่อการให้บริการงานพัฒนาหลักสูตรของงานบริหารการศึกษาและกิจการนักศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดลประจำปีการศึกษา 2558 จำนวน 136 คน ระหว่างเดือนเมษายน – เดือนกรกฎาคม 2558  ได้รับแบบสอบถามคืน 96 ฉบับ (ร้อยละ 70.58) วิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจ ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS ใช้ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าไคสแควร์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 51 ขึ้นไป วุฒิการศึกษาระดับปริญญาเอก ตำแหน่งอาจารย์ แต่ทำหน้าที่ในคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต เพียงร้อยละ 25 เท่านั้น ผู้วิจัยสำรวจความพึงพอใจใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่ ด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่ และด้านการบริหารจัดการระบบการเสนอหลักสูตรเข้ากลั่นกรองผลการสำรวจ พบว่า ผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากที่สุดในด้านการให้บริการ (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.25) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็น การบริการด้วยความสุภาพ ได้คะแนนสูงสุด (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.54) ความพึงพอใจรองลงมา ได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่ (ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.97) ซึ่งมีความพึ่งพอใจมากสุดในประเด็น ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร (ค่าคะแนน 4.04)และด้านการบริหารจัดการระบบการเสนอหลักสูตรเข้ากลั่นกรอง (ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.87) ซึ่งมีความพึ่งพอใจมากสุดในประเด็นประสานงานอย่างเป็นระบบในการเสนอหลักสูตรเข้ากลั่นกรองในคณะกรรมการชุดต่างๆ (ค่าคะแนน 4.00) ผลการวิเคราะห์ ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างเพศ อายุ วุฒิการศึกษา และตำแหน่งกับความพึงพอใจของอาจารย์และเจ้าหน้าที่ในการให้บริการงานพัฒนาหลักสูตร (p > 0.05)

References

1. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2556). รายงานประจำปีงบประมาณ 2556. กรุงเทพฯ: บริษัท อีโมชั่น อาร์ท จำกัด.

2. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558).การศึกษา. [Online] สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม, 2558 เข้าถึงได้จากhttp://www.ph.mahidol.ac.th/ed/dgree/phwtm.html

3. ทองสุข ธนูรัตน์. (2538). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาทางด้านช่างอุตสาหกรรม. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

4. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. (2558). ขั้นตอนการเสนอหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา. [Online] สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม, 2558 เข้าถึงได้จากhttp://intranet.grad.mahidol/syllabus/ step/.

5. ประคอง กรรณสูตร. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

6. ปิยธิดา ตรีเดช, พีระ ครึกครื้นจิตร, สมชาติ โตรักษา. (2552). หลักการบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส.พี.เอ็น. การพิมพ์ จำกัด.

7. พิมล เมฆสวัสดิ์ (2549). การประเมินคุณภาพบริการสํานักหอสมุดกลางมหาวิทยาลัยศรีครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: สํานักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรนครินทรวิโรฒ.

8. พิณ ทองพูน. (2529). ความพึงพอใจที่มีต่อบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการการประถมศึกษาจังหวัดใน 14 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สงขลา: ม.ป.ป. (อัดสำเนา).

9. พิทักษ์ ตรุษทิม. (2538). ความพึงพอใจของประชาชนต่อระบบและกระบวนการให้บริการของกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาพัฒนาสังคม, บัณฑิตวิทยาลัย, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

10. ไพรพนา ศรีเสน. (2544). ความคาดหวังของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการในงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศิริราช คณะแพทย์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

11. มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (2555).ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการให้บริการด้านการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง. งานวิจัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดตรัง.

12. ราชบัณฑิตสถาน. (2530). พจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

13. วรรณวิมล จงจรวยกุล. (2551).ความพึงพอใจในการให้บริการของงานทะเบียนและวัดผล. งานวิจัย R2R. มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

14. วรนารถ แสงมณี. (2547). การบริหารทรัพยากรมนุษย์/งานบุคคล (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ประสิทธธิภัณฑ์แอนพริ้นติ้ง.

15. วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2526). พฤติกรรมของมนุษย์กับสภาพแวดล้อม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

16. วิชัย เหลืองธรรมชาติ (2531).ความพึงพอใจและการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมใหม่ของประชากร ในหมู่บ้านอพยพโครงการเขี่อนรัชชประภา(เชี่ยวหลาน) จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ, สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

17. วีระพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2538). คุณภาพในงานบริการ. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

18. สงัด อุทรานันท์. (2532). พื้นฐานและการพัฒนาหลักสูตร. กรุงเทพฯ: มิตรสยาม.

19. สมิต สัชฌุกร. (2546). การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สานธาร.

20. สุเทพ พานิชพันธุ์. (2541). ความพึงพอใจของเกษตรกรในการเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตรจังหวัดอุบลราชธานี. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

21. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

22. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.(2552). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552. กรุเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

23. หลุย จำปาเทศ. (2533). จิตวิทยาการจูงใจ.กรุงเทพฯ: บริษัทสามัคคีสาส์น จำกัด.

24. หทัยรัตน์ ประทุมสูตร. (2542). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ กศ.ม.,มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

25. Kenya Projects Organization [KENPRO]. (2015). Providing Project Management, Research, IT and Publishing projects Solutions.[Online] สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2558 เข้าถึงได้จากhttp://www.kenpro.org/sample-size- determination-using-krejcie-and-morgan-table/.August 21, 2014.

26. Saylor and Alexander. (1974). การพัฒนา หลักสูตร. [Online] สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2557.เข้าถึงได้จาก http://www.kroobannok.com/blog/79031.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย