การศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางแก้ไขการดำเนินงาน พัฒนาฐานข้อมูล Mahidol-IR ในปี 2554 - 2558

ผู้แต่ง

  • สาวิตรี บุญปาลิต

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2017.6

คำสำคัญ:

ฐานข้อมูล, Mahidol-IR, คลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล, ทรัพย์สินทางปัญญา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคที่พบในการดำเนินงานพัฒนาฐานข้อมูล Mahidol-IR  และ  2) หาแนวทางปรับปรุงการดำเนินงานพัฒนาฐานข้อมูล Mahidol-IR

          ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาและอุปสรรคของกลุ่มผู้บริหาร กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน และผู้ดูแลระบบ มีดังนี้ 1. ขาดนโยบายที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรจากมหาวิทยาลัย  2. บุคลากรที่มีหน้าที่นำเข้าข้อมูลมีน้อย  3. ขาดบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโปรแกรม DSpace  4. ต้องการเข้าร่วมฝึกอบรม/สัมมนาทั้งที่จัดในประเทศ และต่างประเทศ  5. ต้องการฝึกอบรม/ทบทวนการนำเข้าข้อมูลเพิ่มเติม  6. ไม่ได้ปฏิบัติงานนี้แบบต่อเนื่องทำให้ลืมและต้องทบทวนใหม่อยู่เสมอ  7. ไม่มีโอกาสในการพัฒนาฐานข้อมูลเนื่องจากมีงานประจำ

          สำหรับข้อเสนอแนะ แนวทางปรับปรุงแก้ไขปัญหาการดำเนินงานพัฒนาฐานข้อมูล Mahidol-IR มีดังนี้ 1. ผลักดันให้มหาวิทยาลัยมีนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษร 2. เพิ่มบุคลากรให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง 3. กำหนดให้มีการจัดอบรม/สัมมนาภายในหน่วยงาน และส่งเข้าอบรม/สัมมนาทั้งที่จัดในประเทศ และต่างประเทศ 4. มอบหมายงานให้ผู้รับผิดชอบนำเข้าข้อมูลถือปฏิบัติตามข้อตกลงการปฏิบัติงานล่วงหน้า (PA) กับส่วนงานอย่างชัดเจนและมีการประเมินผลผู้ปฏิบัติงาน 5. จัดทำคู่มือการลงรายการฐานข้อมูล Mahidol-IR ด้วยมาตรฐานเมตาดาตาฉบับย่อที่เข้าใจง่าย เพื่ออำนวยความสะดวกและช่วยประหยัดเวลาในการนำเข้าข้อมูล

References

1. กฤษฎา แก้วผุดผ่อง. (2552). คู่มือปฏิบัติงานการพัฒนาฐานข้อมูลคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลด้วยโปรแกรม DSpace รุ่น 1.6.2 บน Micrisoft Windows 2003 Server. นครปฐม: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล,นครปฐม.

2. กุสลวัฒน์ คงประดิษฐ์. (2557). คลังหน่วยเก็บถาวรสถาบันและซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มดีสเปซ = Institutional repository and platform software DSpace. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 22(40), 23-41.
เครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUNILO-Libraries of ASEAN University Network) สืบค้นเมื่ 8 มกราคม 2559 จากhttps://aunilosec.org/repositories/

3. เปรมฤดี แทนมาลา. (2554). การใช้คลังปัญญาจุฬาฯ เพื่อประเทศไทยของอาจารย์และนิสิตบัณฑิตศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารบรรณารักษศาสตร์, 31(1), 23-38.

4. มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. (2552). แผนยุทธศาสตร์การวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2552 - 2555 นโยบายด้านส่งเสริมการวิจัย สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2559 จาก https://www.mahidol.ac.th/th/policy_research.htm.

5. มหาวิทยาลัยมหิดล. สำนักงานอธิการบดี. (2559). แผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2559–2562 สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2559 จาก http://www.uc.mahidol.ac.th/pdf-file/strategic-plan-mu2559-2562_100858.pdf

6. วราพินธ์ กุลกาญจนาภิบาล (2553). เอกสาร Pulinet วิชาการ ครั้งที่ 1 คลังปัญญามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ = PSU Knowledge Bank. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

7. วัชรี เพ็ชรวงษ์ และ กุลธิดา ท้วมสุข. (2554). การวิเคราะห์เปรียบเทียบคลังสารสนเทศสถาบันของมหาวิทยาลัยไทยและต่างประเทศ = A Comparative Analysis of Institutional Repositories of Thai and Foreign Universities. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 29(3), 53-64.

8. ศศิธร ติณะมาศ และ สมาน ลอยฟ้า. (2556). การบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัลอันเป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันอุดมศึกษาไทย. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 6(2), 47-63.

9. อนุรักษ์ อยู่วัง และ พิมพ์รำไพ เปรมสมิทธ์. (2556). การจัดการคลังสถาบันในห้องสมุดมหาวิทยาลัย= Institutional Repository Management in University Libraries. วารสารบรรณารักษศาสตร์, 33(1), 67-86.

10. อังคณา สุริวรรณ์, รัชนี กิตติรังสี, ศศิธร วงศ์โพธิสาร และ จันทรา เทพอวยพร. (2556). คู่มือการลงรายการฐานข้อมูล Mahidol-IR ด้วย เมตาดาตา. นครปฐม: หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

11. Gozetti, P. (2006). Institutional Repositories in scholarly communication: a literature review on models, issues and current trends. MA/MSc International Information Studies University of Northumbria University of Parma.

12. Klungthanaboon, W., Leelanupab, T., & Moss, M. (2012). Institutional repositories for scholarly communities in Thailand. KMITL Information Technology Journal, 1(1), 1-14.

13. Palmer, C. L., Teffeau, L. C., & Newton, M. P. (2008). Strategies for institutional repository development: A case study of three evolving initiatives. [Retrieved March 3, 2016 from http://docs.lib.purdue.edu/lib_research/106 ]. Libraries Research Publications(Paper 106).

14. Sterman, L. (2014). Institutional Repositories: An analysis of trends and a proposed collaborative future. College & Undergraduate Libraries, 21(3-4). doi: http://doi.dx.org/10.1080/10691316.2014.943919

15. Wyk, B. v., & Mostert, J. (2012). African institutional repositories as contributors to global information : a South African case study. [Retrieved March 3, 2016 from http://etd2012.unmsm.edu/pe/pdf/presentation/VWykETD2012FT.pdf].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย