ปัญหาและแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการประเมินประสิทธิภาพการสอน โดยนักศึกษาเป็นผู้ประเมิน: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ผู้แต่ง

  • สมจิน เปียโคกสูง

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2017.29

คำสำคัญ:

ประเมินประสิทธิภาพการสอน, แรงจูงใจในการมีส่วนร่วม, การจัดลำดับกระบวนการส่งเสริม

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการประเมินประสิทธิภาพการสอน ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญหนึ่งที่ใช้เพื่อบ่งชี้ถึงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่สะท้อนออกมาจากมิติของผู้เรียน ในปัจจุบันปัญหาด้านจำนวนนักศึกษาที่เข้าทำการประเมินการสอนลดน้อยลง ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่นำมาใช้เพื่อการบ่งชี้ประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษา 1) สภาพการมีส่วนร่วมต่อกระบวนการการประเมินการสอนของนักศึกษาและอาจารย์ 2) ระดับความคิดเห็นของนักศึกษาและอาจารย์ที่มีต่อปัญหาในการเข้าใช้และทำการประเมินการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษาเป็นผู้ประเมิน และ 3) ศึกษาแนวทางและจัดลำดับความสำคัญของแนวทางการปรับปรุง แก้ไข ที่ส่งผลให้กระบวนการประเมินการสอนโดยนักศึกษาเป็นผู้ประเมินมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในบริบทของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  กำหนดกลุ่มตัวอย่าง คือ  นักศึกษาและอาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จำนวนทั้งสิ้น 1,293 คน โดยการสุ่มลำดับชั้นอย่างเป็นสัดส่วน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามความคิดเห็นต่อกระบวนการประเมินการสอน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และวิเคราะห์สถิติอ้างอิง ได้แก่ การทดสอบความเป็นเอกพันธ์ของสัดส่วนด้วยการวิเคราะห์สถิติไค-สแควร์ การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของประชากรกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด การสังเคราะห์การจัดลำดับความสำคัญร่วมกันด้วยวิธีการนับของโบดา และบ่งชี้ระดับความสอดคล้องกันของการจัดลำดับความสำคัญด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของ          เคนเดล-ทาวน์ ซึ่งผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้

  1. สภาพการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการประเมินการสอน อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เคยได้รับข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมการประเมินการสอน ผ่านช่องทางสื่อสารต่างๆ ได้แก่ (1) บันทึกข้อความแจ้งเปิดประเมินการสอน (2) ประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์ และ (3) E-mail มหาวิทยาลัย ส่วนนักศึกษาได้รับข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมการประเมินการสอน ผ่าน (1) ประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์ และ (2) บริการส่งข้อความสั้น จากศูนย์บริการการศึกษา
  1. สภาพปัญหาในปัจจุบันของกระบวนการประเมินการสอน นักศึกษาและอาจารย์ระบุประเด็นที่เป็นปัญหาในระดับมาก จำนวน 5 ข้อ ได้แก่ (1) การขาดสิ่งเร้า (รางวัล/กฎบังคับ) เพื่อกระตุ้นให้เข้าทำการประเมินการสอน (2) การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการประเมินการสอน แต่ลืมเข้าทำการประเมิน (3) จำนวนผู้สอนที่ต้องประเมินในแต่ละรายวิชามากเกินไป ไม่สามารถประเมินได้อย่างครบถ้วน (4) จำนวนวิชาที่ลงทะเบียนเรียนมากเกินไป ไม่สามารถประเมินได้อย่างครบถ้วน (5) จำนวนข้อคำถามในแบบประเมินมีมากเกินไป ทำให้ต้องเสียเวลาในการประเมิน  และระบุว่าเป็นปัญหาในระดับปานกลาง จำนวน 5 ข้อ ได้แก่  (6) ช่วงเวลาในการเปิดให้ทำการประเมินการสอน ล่าช้าเกินไป ผู้สอนไม่สามารถปรับปรุงการสอนได้ทัน (7) รู้สึกเบื่อหน่าย/เสียเวลา เนื่องจากทำการประเมินแล้ว แต่อาจารย์ไม่มีการปรับปรุงการสอนที่ดีขึ้น  (8) คำถามในแบบประเมิน ไม่ชัดเจน ยากต่อการทำความเข้าใจ จึงไม่สามารถประเมินได้โดยง่าย (9) การจัดการเรียนการสอนในบางวิชาไม่สอดคล้องกับช่วงเวลาที่เปิดให้ประเมินการสอน และ (10) ไม่มีเวลาในการเข้าทำการประเมินการสอน เนื่องจากต้องเรียนเต็มเวลา
  2. แนวทางการส่งเสริมประสิทธิภาพของกระบวนการประเมินการสอนและลำดับความสำคัญ ผลการสังเคราะห์ลำดับความสำคัญจากอาจารย์และนักศึกษา เรียงลำดับจากสำคัญมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ลำดับที่ (1) ควรจัดหาสิ่งเร้าเพื่อส่งเสริมกิจกรรม อาทิ ของรางวัล/คะแนนพิเศษ เป็นต้น (2)  มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์ให้มากยิ่งขึ้น อาทิ ตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ทั่วทุกอาคาร/จ้างนักศึกษาช่วยงานประชาสัมพันธ์ เป็นต้น (3) กำหนดประกาศมหาวิทยาลัยเพื่อบังคับใช้ อาทิ ซ่อนการแสดงผลการเรียน/จำกัดการลงทะเบียน หากไม่ทำการประเมินการสอน           เป็นต้น  (4)  นำผลการประเมินการสอนไปใช้ ในการพิจารณาความดีความชอบ/การขึ้นเงินเดือนของอาจารย์ผู้สอน/ต่อสัญญาจ้าง เป็นต้น  (5) จัดหาห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์/สถานที่เฉพาะ ให้แก่นักศึกษาเพื่อใช้ในการประเมินการสอน และ (6) ระงับการสอน/กำหนดหลักสูตรอบรมด้านการสอนแก่อาจารย์ที่มีผลการประเมินการสอนต่ำ ต้องได้รับการปรับปรุงก่อนการสอนครั้งต่อไป มีระดับความสอดคล้องกันของการจัดลำดับระหว่างอาจารย์และนักศึกษาในระดับสูง (t= 0.714) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

 

References

1. คณะกรรมการพัฒนาระบบงานส่งเสริมประสิทธิภาพการสอน ฝ่ายวิชาการ. (2542). คู่มือการดำเนินงานตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินประสิทธิภาพการสอน พ.ศ. 2536. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

2. จินตวีร์ เกษมศุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

3. รายงานประเมินภารกิจการจัดการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (2559). แหล่งที่มา: http://web.sut.ac.th/das/images/stories/PDF/Evaluation/06-1-Edu-Manage_Eva3-54.pdf

4. เนตรรุ้ง อยู่เจริญ. (2553). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของครูสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาใน เขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

5. ศิริชัย กาญจนวสี. (2547). ทฤษฎีการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

6. สุดเขต แจ้งกระจ่าง และภาณุวัฒน์ สุริยฉัตร. (ม.ป.ท). แนวทางการพัฒนาการประเมินการสอนของอาจารย์โดยนักศึกษา [ออนไลน์]. จาก, http://www.kmutt.ac.th/sd/html/pdf/teacher.pdf

7. สิรินธร สินจินดาวงศ์ (2553). การพัฒนารูปแบบการประเมินการสอนของอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

8. Abdi, H. (2007). Kendall rank correlation. In Salkind, N.J. Encyclopedia of Measurement and Statistics. Thousand Oaks (CA): Sage.

9. Berk, R. A. (2012). Top 20 strategies to increase the online response rates of student rating scales. International Journal of Technology in Teaching and Learning. 8(2): 98-107.

10. Chantawong, N. (n.d.). Knowledge management increasing learning ability: A View of Knowledge Management [online]. Available: http://med.md.kku.ac.th/site_data/mykku_med/701000019/Motivation.doc

11. Darling-Hammond, L. (2012). Creating a comprehensive system for evaluating and supporting effective teaching [Online]. Available: https://edpolicy.stanford.edu/sites/default/files/publications/creating-comprehensive-system-evaluating-and-supporting-effective-teaching.pdf

12. Denise, T. and James, R. (n.d.). Best practices for increasing online teaching evaluation response rates [Online]. http://abeweb.org/proceedings/ proceedings12/12Ogden.pdf.

13. Dwork, C., Kumar, R., Naor, M. and Sivakumar, D. (2001). Rank aggregation methods for the web. In Proceedings of the 10th international conference on World Wide Web (WWW '01) (pp. 613-622). ACM, New York: USA.

14. Elena R. M. and Straccia, U. (2003). Web metasearch: rank vs. score based rank aggregation methods. In Proceedings of the 2003 ACM symposium on Applied computing (SAC '03) (pp. 841-846). ACM, New York: USA.

15. Gezgin B. U. (2011). Potential problems of student evaluation of teaching (set) in off-shore campuses in southeast and east Asia and suggestions. Journal of Higher Education Theory and Practice. 11(2):90-101.

16. Leadership Development Program, (2005). Improving the Process of Course Evaluation: The Online Alternative for Berkeley. Technical Report

17. Michaels, L. (2013). Online Evaluations: A brief review [Online]. Available: http://ace.ucdavis.edu/Media/Default/Files/eval-report-michaels-final.pdf

18. OECD. (2009). Teacher Evaluation: A Conceptual Framework and examples of Country Practices [On-line]. Available: http://www. oecd.org/edu/school/ 44568106.pdf

19. OECD. (2013). Teachers for the 21st Century Using Evaluation To improve Teaching [On-line]. Available: http://www.oecd.org/site/eduistp13/TS2013 Background Report.pdf

20. The New School. (n.d.). Encouraging Students to Fill Out Course Evaluations: Advice from New School Faculty [On-line]. Available: http://www.newschool.edu/WorkArea/DownloadAsset.aspx?id=99500

21. Weng, C., Weng, A. and Tsai, K. (2014). Online Teaching Evaluation for Higher Quality Education: Strategies to Increase University Students’ Participation. 13(4): 105-114.

22. Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis (2nd), New York: Harper and Row

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย