ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโท ของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • ศศิธร บูรณ์เจริญ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2017.27

คำสำคัญ:

การศึกษาต่อ, หลักสูตรระดับปริญญาโท, คณะสาธารณสุขศาสตร์, การเรียนการสอน

บทคัดย่อ

          การศึกษาต่อในระดับปริญญาโทมีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของประเทศประการหนึ่งคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาโทหลายสาขา อย่างไรก็ตาม ความเข้าใจในที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยการตัดสินใจเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาโทของคณะยังไม่ทราบแน่ชัด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับตัดสินใจเข้าศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโท ของคณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล โดยศึกษาในนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 คณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล สุ่มตัวอย่างแบบตาราง จำนวน 138 คน เป็นเพศหญิงร้อยละ 76.8 แบ่งเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณาสุขศาสตร์  จำนวน 86 คน (ร้อยละ 57.8) และนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จำนวน 52 คน (ร้อยละ 42.2)  ผลการประเมินผลความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรระดับปริญญาโทของคณะสาธารณสุขศาสตร์ พบว่า นักศึกษาสนใจศึกษาต่อ ร้อยละ 25.40 ในจำนวนนี้ต้องการศึกษาในภาคปกติร้อยละ 71.4 และภาคพิเศษร้อยละ 28.6  และผลศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับตัดสินใจเข้าศึกษาต่อหลักสูตรระดับปริญญาโท 9 ด้าน พบว่า ปัจจัยด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ซึ่งการจัดการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมีการปฏิบัติงานจริง ได้ค่าคะแนนสูงสุดเฉลี่ย 4.56  ตามด้วยปัจจัยด้านบุคลากร โดยเฉพาะอาจารย์ผู้สอนซึ่งมีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญ    ในสาขาวิชาที่สอนเป็นอย่างดี (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.54)  และปัจจัยด้านความเชื่อถือของสถาบัน  (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.50) ผลการวิเคราะห์ ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลเกี่ยวกับ เพศ  อายุ  ภูมิลำเนา อาชีพบิดาและมารดา  รายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว  หลักสูตรและสาขาวิชาที่กำลังศึกษา  และเกรดเฉลี่ยสะสมของนักศึกษา

          ดังนั้น จากปัจจัยดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในการจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาอาจารย์ซึ่งต้องพัฒนาและรักษาไว้ซึ่งคุณภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้สมัครเลือกเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลต่อไป

 

References

1. มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสาธารณสุขศาสตร์. (2556). รายงานประจำปีงบประมาณ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท อีโมชั่น อาร์ท จำกัด.

2. มหาวิทยาลัยมหิดล คณะสาธารณสุขศาสตร์. (2558).หลักสูตร. [Online] สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2559 เข้าถึงได้จากhttp://intranet.grad.mahidol/syllabus/step/.

3. จิราภา เต็งรัตน์ และคณะ. (2547). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

4. ธนกฤต ยืนยงเดชา. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. แบบฝึกหัดการวิจัยปัญหาเศรษฐกิจปัจจุบัน.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่

5. ภารดี อนันต์นาวี. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการ ตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อสาขาวิชาการ บริหารการศึกษา ศูนย์นวัตกรรมการบริหารและผู้นำทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, งานวิจัยมหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี

6. ประคอง กรรณสูตร. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

7. วิไลวรรณ ศรีสงคราม และคณะ. (2549). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

8. สุภัททา ปิณฑะแพทย์. (2532). จิตวิทยาทั่วไปแนวคิดทฤษฏีขั้นมูลฐาน. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณการพิมพ์.

9. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2542). พระราชบัณญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ม.ป.ท. กรุงเทพมหานคร.

10. Kenya Projects Organization [KENPRO]. (2015). Providing Project Management, Research, IT and Publishing projects Solutions. [Online] วันสืบค้นข้อมูล 16 มิถุนายน 2559 เข้าถึงได้จาก http://www.kenpro.org/sample-size- determination-using-krejcie-and-morgan-table/. August 21, 2014.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย