ความพึงพอใจของบุคลากรคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่มีต่อโครงการวิจัยในงานประจำ

ผู้แต่ง

  • สุวิชชา เทพลาวัลย์
  • ธนารีย์ บัวเผื่อน
  • มุกดาลักษณ์ บุญทรง

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2017.25

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, โครงการวิจัยในงานประจำ, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

บทคัดย่อ

          โครงการวิจัยในงานประจำ (Routine to Research: R2R) ในคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลของรองคณบดีฝ่ายวิจัย ให้การสนับสนุนทุนโครงการวิจัยในงานประจำซึ่งบุคลากรให้ความสนใจพัฒนางานประจำ อย่างไรก็ตามจำนวนโครงการที่ขอรับทุนสนับสนุนโครงการวิจัยในงานประจำ (R2R  fund) ในแต่ละปีนั้นยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ จำเป็นต้องให้การสนับสนุนให้เกิดการพัฒนางานและให้บุคลากรเกิดแรงผลักดันที่ทำงานวิจัยมากขึ้น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานโครงการวิจัยในงานประจำ (R2R) และศึกษาปัญหาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงาน และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร โดยสำรวจความคิดเห็นและความพึงใจของบุคลากรที่มีต่อการโครงการวิจัยในงานประจำ (R2R) ประเมินผลร่วมกับการจำนวนโครงการที่ขอทุน R2R ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2553-2559 แบ่งตามประเภทโครงการวิจัย และจำนวนตำแหน่งของบุคลากร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ด้วยสถิติเชิงพรรณนา

          ผลการวิจัยพบว่า ปีงบประมาณ พ.ศ.2553-2559 มีโครงการมาขอทุน R2R เฉลี่ย 25.14 โครงการ/ปี โดยในปี 2557-2558 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการด้านการวิจัย (R2R)  ทำให้บุคลากรเกิดความสนใจที่จะพัฒนางานประจำมากขึ้น เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ คือ มีจำนวนโครงการ R2R เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยจำนวนโครงการ R2R ในปีงบประมาณ 2553-2556 (เฉลี่ย 24.00 โครงการ/ปี) จากการสำรวจความพึงพอใจของบุคลากรที่ขอทุน R2R จำนวน 66 คน พบว่า มีความพึงพอใจในกระบวนการและขั้นตอนการขอทุน R2R อยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.45±0.56) ความพึงพอใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่อยู่ในระดับมากที่สุด(ค่าเฉลี่ย 4.58±0.52) และสามารถนำผลงาน R2R ไปใช้ประโยชน์กับการทำงานอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.32±0.70) และจากการสำรวจความคิดเห็นและความพึงพอใจของบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการด้านการวิจัย (R2R) จำนวน  205 คน พบว่า ในภาพรวมบุคลากรได้รับประโยชน์การจัดโครงการอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.28±0.21) เกิดแรงจูงในในการทำวิจัย R2R มากขึ้น (ค่าเฉลี่ย 4.42±0.12) และสามารถนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ค่าเฉลี่ย 4.32±0.23) แต่อย่างไรก็ตามควรมีการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนางานประจำให้ต่อยอดเป็นผลงานวิจัยอย่างต่อเนื่องและพัฒนาไปสู่ความก้าวหน้าในทุกสายวิชาชีพ รวมทั้งใช้ในการทุนสนับสนุนวิจัยในคณะฯ เพื่อเป็นข้อมูลการวางแผนกลยุทธ์ด้านการส่งเสริมงานวิจัยของคณะฯ ได้อีกทางหนึ่งต่อไป

 

References

1. กองทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยมหิดล. (2559). ชื่อตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัยภาษาอังกฤษ. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 2559, จาก http://intranet.mahidol/op/orpr/Newhrsite/HrManagement/Eng_Employee.html

2. กวิยา เนาวประทีป. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจของนักศึกษาโครงการปริญญาโททางการบัญชี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. [การศึกษาด้วยตนเอง บัญชีมหาบัณฑิต] คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; กรุงเทพ.

3. โครงพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). เคล็ดไม่ลับ R2R บริบทคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. กรุงเทพ: บริษัท ยูเนี่ยน ครีเอชั่น จำกัด; หน้า 7-11.

4. ธนารีย์ บัวเผื่อน, สุวิชชา เทพลาวัลย์, สุรางค์พิมล แจ่มมินท์. (2558). การวิเคราะห์สิ่งสนับสนุนในการดำเนินงานวิจัยในงานประจำ (R2R) ของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. กรุงเทพ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี; หน้า 4.

5. นูรียะห์ ตาเยะ. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6. [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์], มหาวิทยาลัยสงขลา;สงขลา.

6. มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี. (2552). ประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการขอรับและจัดสรรเงินอุดหนุนการวิจัยโครงการวิจัยในงานประจำนำสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ.

7. ราชบัณฑิตสถาน. พจนานุกรม. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 1 ส.ค. 2560, จาก www.royin.go.th

8. วรภา ชัยเลิศวณิชกุล. (2548). วิทยากรกระบวนการ (Facilitator). [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน. สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 2559, จาก http://cddweb.cdd.go.th/tr _di/documentary/tr_dihrddoc011.html

9. วิจารณ์ พานิช. การจัดการความรู้ (Knowledge Management, KM). (2553). [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 2559. จาก, https://www.rsu.ac.th/science/file/article/04_KM230853.pdf

10. สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ และคณะ. (2557). Routine to Research. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 1 ส.ค. 2560, จาก http://slideplayer.in.th/slide/2092947/

11. สำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). คู่มือการทำแผนการจัดการความรู้: โครงการพัฒนาส่วนราชการ ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้ในส่วนราชการ. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 15 ก.พ. 2559, จาก http://www.afaps.ac.th/kmcorner/km58/km_web/KMplanmanual.pdf

12. สำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2550). คู่มือการสร้างกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้: การจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ของส่วนราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2550. [อินเตอร์เน็ต]. สืบค้นเมื่อ 1 ส.ค. 2560, จาก http://www.sc.psu.ac.th/units/sckm/document/3manual_activity.pdf

13. อรทัย บุญช่วย. (2554). ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิตรามคำแหง. [รายงานการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง; กรุงเทพ.

14. Best JW. (1977). Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hall Inc.

15. Chase CJ. (1987). Measurement for Educational Evaluation. 2nd ed. Massachusetts: Addison-Wesley Publishing Company; p. 7.

16. Good CV. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw- Hill Book Company;p. 220.

17. Mehrens WA, Lehman IJ. (1984). Measurement and Evaluation in Education and Psychology. 3rd ed. New York: HOLT, Rinehart andWinston; p. 5.

18. Owen JM. (1993). Program Evaluation: Forms and approaches. 1st ed. New South Wales, Australia: Allen & Unwin. Rossi PH, Freeman HE. (1982.) Evaluation: A Systematic Approach. CA: Sage Publications; Shertzer B, linden JD. (1979). Fundamentals of Individual Apprisal. Boston: Houghton Mifflin Company. p.13

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย