ถอดบทเรียนการดำเนินงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ของครูวิทยาลัยชุมชนพังงา
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2018.9คำสำคัญ:
ถอดบทเรียน, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, วิทยาลัยชุมชนพังงาบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ถอดบทเรียนการดำเนินงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูวิทยาลัยชุมชนพังงาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูวิทยาลัยชุมชนพังงาหลังปฏิบัติการ และเพื่อหาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูวิทยาลัยชุมชนพังงา ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลแบ่งเป็นครู 16 คน (ข้าราชการครู และอาจารย์พิเศษอย่างละ 8 คน) ผู้บริหาร 4 คน (รองผู้อำนวยการ 1 คน กรรมการบริหารงานวิชาการ 2 คน และกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชนพังงา 1 คน) รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 20 คน โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และการสังเคราะห์ข้อมูล ประมวลผลได้ว่าการดำเนินงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูวิทยาลัยชุมชนพังงามีบทเรียน ดังนี้ บทเรียนแห่งความสำเร็จ ได้แก่ ภาวะผู้นำทางวิชาการ แบบอย่างที่ดี การสื่อสารออนไลน์ และความรู้สึกมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ บทเรียนจากความไม่สำเร็จ ได้แก่ ผู้บริหารไม่ได้มีส่วนร่วม สมาชิกชุมชนบางส่วนให้ความสำคัญกับการดำเนินงานน้อย สมาชิกขาดความกระตือรือร้นในการดำเนินงาน ความไว้วางใจระหว่างกันของสมาชิกระหว่างกลุ่มน้อย แหล่งเรียนรู้และเทคโนโลยีสนับสนุนยังไม่เพียงพอและไม่ทั่วถึง ค่าตอบแทนในการสอนและการเบิกจ่ายมีผลต่อขวัญและกำลังใจในการดำเนินงาน ขาดงบประมาณในการจัดทำสื่อการสอน สำหรับแนวทางพัฒนาการดำเนินงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูวิทยาลัยชุมชนพังงา ได้แก่ ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกที่มีภาวะความเป็นผู้นำทางวิชาการได้แสดงศักยภาพในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูวิทยาลัยชุมชนพังงาเพิ่มมากขึ้น กระตุ้นให้สมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูวิทยาลัยชุมชนพังงาทุกคนแบ่งปันตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนที่เป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันผ่านทางช่องทางติดต่อสื่อสารออนไลน์อย่างต่อเนื่อง และสร้างเว็บบอร์ดของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูวิทยาลัยชุมชนพังงาในเว็บไซต์ของวิทยาลัยชุมชนพังงา เชิญผู้บริหารให้เข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างจริงจัง จัดให้การดำเนินงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูวิทยาลัยชุมชนพังงาเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติงานของวิทยาลัยชุมชนพังงา จัดกิจกรรม หรือโครงการเพื่อพัฒนาครู และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องและสนับสนุนการดำเนินงานชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูวิทยาลัยชุมชนพังงา จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ และจัดให้มีเทคโนโลยีสนับสนุน ในจำนวนที่เพียงพอและทั่วถึง สร้างขวัญและกำลังใจให้สมาชิกด้วยการจัดกิจกรรมยกย่องเชิดชูหลากหลายด้านเพิ่มขึ้น และการเบิกจ่ายค่าตอบแทนก็ต้องดำเนินการให้รวดเร็วมากขึ้น รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการสะท้อนกลับผลการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วย
References
2. กาญจนา โตรุ่ง. (2549). การพัฒนาตัวบ่งชี้และการศึกษาคุณภาพการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (วิจัยการศึกษา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; กรุงเทพฯ.
3. เข็มทอง ศิริแสงเลิศ. (2556). หน่วยที่ 13 เครือข่ายการเรียนรู้. ใน ประมวลสาระชุดวิชา การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ 11-15. (หน้า 13-1 - 13-80). สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
4. ชมภู ไชยวงษ์ , วสันต์ บุญล้น และยุวารี คล่องดี. (2552). การศึกษาสภาพปัญหาการออกกลางคันของนักศึกษาระดับอนุปริญญา ปีการศึกษา 2551. วิทยาลัยชุมชนยโสธร.
5. ฐากูร ปาละนันทน์, จารุวรรณ สกุลคู และสุชาดา สุธรรมรักษ์. (2555). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสังกัดวิทยาลัยชุมชน. วารสารวิจัย มสด. 8(2). 13-20.
6. ธวัชชัย จิตวารินทร์. (2556). การศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูวิทยาลัยชุมชนในเขตภาคใต้. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; นนทบุรี.
7. ประโยชน์ คุปต์กาญจนากุล และณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์. (2552). ปฏิรูปการผลิตและพัฒนาครูสู่ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2. สืบค้นเมื่อง 11 ตุลาคม 2552. จาก ,http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&file=readarticle&id=1154
8. ปานดี คงสมบัติ. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนระนอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี; สุราษฎร์ธานี.
9. มะลิวรรณ โคตรศรี. (2552). การศึกษาสภาพปัญหาการออกกลางคันของนักศึกษาระดับอนุปริญญา ปีการศึกษา 2551. วิทยาลัยชุมชนบุรีรัมย์.
10. รัชนีพร สายแวว. (2549). ความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่ปรากฏจริงและความคาดหวังในการจัดโปรแกรมการศึกษาปฐมวัยของวิทยาลัยชุมชน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาปฐมวัย) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; กรุงเทพฯ.
11. สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา. (2550). การวิจัย การทดลองตัวแบบการพัฒนาครูแบบอิงพื้นที่เป็นฐานและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาครู. สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
12. สุชาติ ใจภักดี. (2549). รูปแบบองค์การแห่งการเรียนรู้ของวิทยาลัยชุมชนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). มหาวิทยาลัยนเรศวร; พิษณุโลก.
13. สุพจน์ ตันติศิริวิทย์. (2545). การติดตามการดำเนินงานการจัดหลักสูตรวิทยาลัยชุมชนระดับอนุปริญญา พุทธศักราช 2545. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; กรุงเทพฯ.
14. สุพิชชา สอนสวัสดิ์. (2553). การเสริมสร้างพลังอำนาจโดยผ่านทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรวิทยาลัยชุมชน สังกัดสำนักบริหารงานวิทยาลัยชุมชนต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์). มหาวิทยาลัยทักษิณ; สงขลา.
15. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2551). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2551-2565). พิมพ์ครั้งที่ 3. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
16. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2554). ตัวบ่งชี้ 14 การพัฒนาคณาจารย์ (สมศ.). สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2556. จาก, http://mis.science.cmu.ac.th/public/thai/qa/qa2554/ong2/SCE-14.pdf
17. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ. (มปป.). บทสรุปผู้บริหาร สมศ. การศึกษาอุดมศึกษา รอบการประเมิน 2549-2553. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2556. จาก,http://www.onesqa.or.th/onesqa/th/Report/unversity.php?SystemModuleKey=product& inputSchoolName=&inputRound=2&groupid=1&inputGroup=0&inputAssess=0&inputMinistryID=10&inputProvinceID=&inputArrange=0
18. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). รายงานการสังเคราะห์ ผลการวิจัยในโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเครือข่ายการเรียนรู้ของครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
19. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). แนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
20. สำราญ หอมทรัพย์. (2549). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนและงานวิชาการ ในวิทยาลัยชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (อุตสาหกรรมศึกษา) มหาวิทยาลัยนเรศวร; พิษณุโลก
21. ศุภวัลย์ พลายน้อย. (2553). นานาวิธีวิทยาการถอดบทเรียนและการสังเคราะห์ความรู้. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.
22. อุทัยทิพย์ เจี่ยวิวรรธน์กุล. (2553). การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม: แนวคิด หลักการ และบทเรียน. กรุงเทพฯ:บริษัท พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด.
23. Birmingham, K. & Haunty, S.. (2013). Teaching Community College Mathematics: Unlocking the Variables. The Research Group - Policy and Practice Series. University of Florida Institute of Higher Education. August 1, 2013. From:http://futures.education.ufl.edu/Teaching%20 Community%20College%20Mathematics.pdf.
24. Galbraith, M.W. & Shedd, P.E.. (1990). Building skills and proficiencies of the community college instructor of adult learners. Community College Review, 18(2): 6-14.
25. Mesa, V.. (2012). Achievement Goal Orientations of Community College Mathematics Students and the Misalignment of Instructor Perceptions. Community College Review, 40(1): 46–74.
26. Saxon, P.D. & Slate, R.J.. (2013). Developmental Education Students in Texas Community Colleges: Changes Over Time. The Community College Enterprise. Spring 2013: 34-44.
27. Siemens, G. (2005). “Connectivism: A LearningTheory for the Digital Age”. Elearnspace: Everything Elearning. September 23, 2012. From: http://www.elearnspace.org/Articles/connectivism.htm
28. Southwest Educational Development Laboratory. (1997). Professional Learning Communities: What Are They and Why Are They Important?. Issues About Change. 6(1): 1-4.
29. Southwest Educational Development Laboratory. (1997). Professional Learning Communities: What Are They and Why Are They Important?. Issues About Change. 6(1): 1-4.