การศึกษาตัวแปรด้านการวางแผนงบประมาณที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผล การจัดการระบบจัดซื้อจัดจ้างของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • พิชามญชุ์ กาหลง
  • อนงค์ ตังสุหน

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2018.1

คำสำคัญ:

การวางแผนงบประมาณ, การจัดการระบบจัดซื้อจัดจ้าง

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเรื่อง การศึกษาตัวแปรด้านการวางแผนงบประมาณที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการระบบจัดซื้อจัดจ้างของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการวางแผนงบประมาณของของหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยมหิดล 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการจัดการระบบจัดซื้อจัดจ้างหน่วยของหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยมหิดล 3) เพื่อเปรียบเทียบขนาดของบุคลากรสายสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณของแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกัน กับประสิทธิผลการจัดการระบบจัดซื้อจัดจ้างที่แตกต่างกัน
4) เพื่อศึกษาตัวแปรด้านการวางแผนงบประมาณของบุคลากรสายสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณ ที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดการระบบจัดซื้อจัดจ้างของมหาวิทยาลัยมหิดลกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 196 คน ที่ระดับความคาดเคลื่อน 0.05

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลการวางแผนงบประมาณของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก 2) ประสิทธิผลการจัดระบบจัดซื้อจัดจ้างของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยภาพรวม อยู่ที่ระดับมาก 3) ขนาดของบุคลากรสายสนับสนุนผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณของแต่ละหน่วยงานซึ่งมีขนาดแตกต่างกันนั้น ไม่ได้ทำให้ประสิทธิผลการจัดการระบบจัดซื้อจัดจ้างของมหาวิทยาลัยมหิดลแตกต่างกัน 4) ตัวแปรด้านการวางแผนงบประมาณที่มีอิทธิผลต่อประสิทธิผลการจัดการระบบจัดซื้อจัดจ้างของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยภาพรวม คือ การจัดทำแผนงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้า, การจัดสรรงบประมาณโดยลำดับความสำคัญของรายจ่ายที่สอดคล้อง, การจัดทำเอกสารตัวบ่งชี้ความสำเร็จ และการจัดทำแผนปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์

References

1. กรมบัญชีกลาง. (2545). การวางแผนงบประมาณ (Strategic planning). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

2. จารุณี วงศ์คำแน่น. (2545). การวางแผนงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน จากแนวคิดสู่แนวปฏิบัติระดับสถานศึกษา. เอกสารลำดับที่ 9. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

3. ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. (2550). มาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 Hurdles กับการจัดทำงบประมาณระบบใหม่. กรุงเทพฯ.สำนักพิมพ์ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

4. ฐิติรัตน์ ชูไกรพินิจ และคณะ. (2555). ความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานต่อการใช้ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิคส์ (GFMIS) ระบบจัดซื้อ/จัดจ้างในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพ: วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 หน้า 67-75.

5. ประคอง กรรณสูตร. (2538). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

6. พวงรัตน์ ทวีรัตน์.(2540). วิธีวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7.กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒประสานมิตร.

7. พัฒน์นรี อัฐวงศ์ และ ฐิตารีย์ วงศ์สูง. (2559). ประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตภาคเหนือ. กรุงเทพ:วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 หน้า 73-89.

8. พิทยา บวรวัฒนา. (2541). ทฤษฎีองค์การสาธารณะ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

9. วิรัช สงวนวงค์วาน.(2531). ประสิทธิภาพของการบริหารงานในองค์กร. พิมพ์ครั้งที่ 6 .กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

10. สำนักงบประมาณ.(2544). การปรับปรุงระบบการจัดการงบประมาณของประเทศไทยในสำนักงบประมาณ 25 ปี. กรุงเทพ: สัมพันธ์พาณิชย์, 11-13.

11. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2560). พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐพ.ศ. 2560, เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2560, จาก http://web.krisdika.go.th/data/law/law2/%a1164/%a1164-20-2560-a0001.pdf.

12. สินธุชัย แก้วกิติชัย.(2542). การปฏิรูประบบการบัญชี การงบประมาณ: แนวคิดและหลักการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัทเอกพิมพ์ไท จำกัด.

13. อรุณ รักธรรม. (2525). ทฤษฏีองค์การสมัยใหม่: การบริหารองค์การ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย