รูปแบบการถ่ายทอดความรู้สำคัญยิ่งยวดภายในและภายนอก ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ผ่านนิทรรศการ

ผู้แต่ง

  • วนิดา ธนากรกุล
  • ศลิษา ธาระสวัสดิ์
  • ธนะเมศฐ์ เชาว์จินดารัชต์
  • กัญญาภัค เงินอินต๊ะ
  • วรยา ร้ายศรี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2018.3

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การถ่ายทอดความรู้, ความรู้สำคัญยิ่งยวด, นิทรรศการ

บทคัดย่อ

           การถ่ายทอดความรู้ (Knowledge transfer) เป็นกระบวนการหนึ่งของการจัดการความรู้ ซึ่งมีการใช้เครื่องมือที่หลากหลาย แต่ที่นิยมคือผ่านการจัดนิทรรศการด้วยโปสเตอร์ ซึ่งมีข้อดีคือสามารถเผยแพร่ความรู้ในขอบข่ายที่กว้างขวางและต้นทุนต่ำ การถ่ายทอดจัดอยู่ในรูปแบบเข้ารหัส (Codified) เป็นการถ่ายทอดความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) เป็นหลัก แต่กุญแจสำคัญขององค์กรในการสกัดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืนคือ การถ่ายทอดความรู้ที่ฝังลึก (Tacit knowledge) เพื่อให้นำความรู้กลับไปใช้ใหม่และเกิดนวัตกรรมจึงน่าสนใจว่า การถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการในรูปแบบใด และมีปัจจัยร่วมอื่นๆ อะไรที่จะเอื้อต่อการถ่ายทอดความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

           วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษารูปแบบการถ่ายทอดความรู้ผ่านนิทรรศการทั้งภายในและภายนอกองค์กรที่มีประสิทธิภาพในด้านทัศนคติ พฤติกรรม และวิเคราะห์ต้นทุน

           วิธีการ: วิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามด้านทัศนคติ และความตั้งใจในการเปลี่ยนพฤติกรรม โดยนำมาวิเคราะห์แยกกลุ่มให้เป็นแบบแผน (Knowledge taxonomy) และวิเคราะห์ต้นทุนของการจัดงานผ่านการสำรวจความคิดเห็นของผู้เข้าชมนิทรรศการภายในของงานการศึกษา วิจัยและวิชาการ ในงานสัปดาห์คุณภาพ (Quality Week) ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก และผู้เข้าชมนิทรรศการภายนอก หัวข้อการจัดการความรู้ KM 4.0 ในงาน “KM Day ยศ.ทร.2017” จัดโดย กรมยุทธศึกษาทหารเรือ เพื่อนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา (Descriptive Research) และศึกษาข้อมูลทุติยภูมิให้เห็นความแตกต่างของการจัดงานสองนิทรรศการ

           ผลการศึกษา: จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 70 และ 20 คนในนิทรรศการภายในและภายนอกตามลำดับ สรุปได้ว่าความรู้ที่ตรงประเด็นกับความรู้สำคัญยิ่งยวดที่นำเสนอในกลุ่มภายในจะดีกว่ากลุ่มภายนอกเล็กน้อย แต่ทั้งสองมีความตรงประเด็นประมาณร้อยละ 50 และผลการวิเคราะห์ค่าต้นทุนการนำเสนอโปสเตอร์ในนิทรรศการประมาณ 7,421.32 บาทต่อครั้ง

           อภิปราย: การวิจัยสรุปว่า มีความแตกต่างของการถ่ายทอดในงานนิทรรศการทั้งสอง แม้จะเป็นความรู้สำคัญยิ่งยวดทั้งคู่ กล่าวคือหัวข้อ KM 4.0 เป็นการจัดการความรู้ที่มีผลกระทบต่อวิสัยทัศน์ขององค์กรและส่งมอบความรู้ที่มีคุณค่าสู่ผู้รับบริการสุดท้ายได้ ส่วนหัวข้อค่านิยม GJMC โดยเน้น M คือ Mastery จะทำให้บุคลากรรับรู้ค่านิยมองค์กร สามารถเข้าใจจุดประสงค์ขององค์กรหรือ Purpose  ได้ เป็นคำตอบของการทำงานแต่ละวันว่าทำเพื่ออะไร การนำเสนอหัวข้อทั้งสองเรื่องเป็นการถ่ายทอดความรู้ที่ฝังลึกและชัดแจ้ง (Tacit and Explicit Knowledge) แต่หัวข้อ KM 4.0 เป็นความรู้ระดับองค์กร หรือ Organizational knowledge ส่วนหัวข้อค่านิยม GJMC เป็นความรู้ระดับบุคคล หรือ Individual knowledge ที่สามารถพัฒนาขึ้นเป็น Group และ Organizational knowledge ได้ในเวลาต่อมา

           สรุป: รูปแบบการถ่ายทอดความรู้สำคัญยิ่งยวด (Critical Knowledge) ควรคำนึงถึงภาพรวมนอกเหนือจากเป็นกระบวนการหนึ่งในการจัดการความรู้แล้ว ยังต้องเชื่อมโยงกับโครงสร้างความรู้ (Knowledge foundation) อันได้แก่ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและระบบการถ่ายทอดความรู้ จึงควรทำควบคู่กับการจัดการการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งด้าน Cognitive, affective และ Behavior รูปแบบที่นำเสนอในงานวิจัยชิ้นนี้มีต้นทุนต่ำและสามารถเป็นรูปแบบหนึ่งที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้

References

1. เทิดศักดิ์ ผลจันทร์. (2560). การเรียนรู้แบบลงลึกและการคิดตรึกตรอง (Reflection). สืบค้นเมื่อ 21 กันยายน 2560, จาก http://www.med.nu.ac.th/dpMed/fileKnowledge/80_2016-12-06.pdf

2. วิจารณ์ พานิช. (2559). ขอบฟ้าใหม่ในการจัดการความรู้. มูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม. กรุงเทพ.

3. ศิริวรรณ ว่องวีรวุฒิ. (2553). ทัศนคติและพฤติกรรมในการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. BU Academic Review, 9 (2), 55-63.

4. Dalkir K. (2001). Knowledge Management in Theory and Practice. 2nd Ed. Cambridge, Massachusetts: Massachusetts Institute of Technology. P 59-95.

5. J Ajith Kumar and Ganesh LS. (2009). Research on knowledge transfer in organizations: a morphology.Journal of Knowledge Management. 13; 4:161-174.

6. James Brain Quinn. (2537). ชุดเครื่องมือการเรียนรู้ เรื่องการจัดการความรู้. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2533, จาก http//www.km.nida.ac.th/home/images/pdf/t3.pdf

7. Nonaka, I. (1994). A dynamic theory of organizational knowledge creation. Organization Science. 5(1): 14-37.

8. Nonaka และ Takeuchi. (1995). โมเดลการจัดการความรู้ (SECI Model). สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2560, จาก http://welcome2km.blogspot.com/p/seci-model-nonaka-takeuchi1995-tacit.html

9. Roger, E. M., &Storey, J. D. (1987). Communication campaign. In C. Berger and S. H. Chaffee (Eds.), Handbook ofcommunication science. Newbury Park, CA: n.p.

10. Wiig, K. (1993). Knowledge Management foundations. Texas: Schema Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย