หมวกคลุมเครื่องกำหนดตำแหน่งในสมอง

ผู้แต่ง

  • สุคนธ์ทิพย์ พ่วงสุวรรณ

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2018.4

คำสำคัญ:

เครื่องกำหนดตำแหน่งในสมอง, หมวกคลุมเครื่องกำหนดตำแหน่งในสมอง

บทคัดย่อ

           การผ่าตัดโรคทางระบบประสาท  เป็นการผ่าตัดที่มีความยุ่งยาก และซับซ้อน โดยเฉพาะการผ่าตัดสมอง ซึ่งต้องมีการผ่าตัดผ่านเนื้อสมองเข้าไปให้ถึงตำแหน่งที่มีพยาธิสภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการกำหนดตำแหน่งของพยาธิสภาพที่เนื้อสมองอย่างละเอียด เพื่อให้การผ่าตัดตรงตำแหน่งที่ถูกต้อง และป้องกันการบาดเจ็บที่เนื้อสมองส่วนอื่นๆ ลดภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด ดังนั้นจึงต้องมีการใช้เครื่องกำหนดตำแหน่งในสมองแบบ Stereotactic system เพื่อช่วยในการหาตำแหน่งของพยาธิสภาพของเนื้อสมองที่แน่นอน และแม่นยำ ในการวินิจฉัยและการผ่าตัด โดยหลีกเลี่ยงการเกิดอันตรายต่อเนื้อสมองบริเวณรอบๆ ที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนในการกำหนดพิกัดได้เป็นอย่างดี ทำให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด1 

           การผ่าตัดที่ต้องใช้เครื่องกำหนดตำแหน่งในสมอง ผู้ป่วยต้องมีการติดตั้ง Stereotactic frame ที่ห้องผ่าตัด เพื่อหาพิกัดกำหนดตำแหน่งของพยาธิสภาพที่เนื้อสมอง โดยมีการยึด frame ให้ติดกับศีรษะของผู้ป่วยด้วยการปักหมุดเข้าไปในหนังศีรษะของผู้ป่วยจำนวน 4 จุด โดยวิธีฉีดยาชาเฉพาะที่  ภายหลังการใส่ Stereotactic  frame จะมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากห้องผ่าตัดไปยังห้องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่อยู่นอกตึกผ่าตัด ซึ่งอาจทำให้มีการปนเปื้อนจากฝุ่นละอองเข้าไปในบาดแผลที่มีการใส่หมุดติดตั้ง Stereotactic  frame ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ นอกจากนี้จากการสังเกตขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยออกจากตึกผ่าตัด พบว่ามีบุคคลภายนอกมองผู้ป่วยด้วยความสงสัยตลอดทาง และเมื่อสอบถามผู้ป่วยและญาติ พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่รู้สึกวิตกกังวล กลัว และอาย เมื่อมี Stereotactic  frame ติดที่ศีรษะ สูญเสียภาพลักษณ์จากการมองเห็นของผู้อื่น

           ดังนั้นจึงประดิษฐ์หมวกคลุมเครื่องกำหนดตำแหน่งในสมองขึ้น เพื่อคลุม frame และตำแหน่งหมุดยึดบริเวณศีรษะทั้ง 4 จุดได้อย่างมิดชิด  เพื่อป้องกันการปนเปื้อนจากฝุ่นละอองในขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปกลับการเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ป่วยและญาติลดความวิตกกังวลในภาพลักษณ์ที่ผู้อื่นมองเห็นศีรษะผู้ป่วยใส่ Stereotactic frame

 

References

Bethel S. Neurological dysfunction manual of critical care nursing St.Louis Mosby; 2005

Bull R. Gerald MF. Nursing care in the operating room Int J Nurs Pract 2006,12:3-7

Kroll DA, Caplan RA, Posner K, Ward RJ, Cheney FW. Nerve injury associated with anesthesia. Anesthesiol 1990; 73(2): 202–7.

Goodman T. Spry C. editions Essentials of Perioperative Nursing 5th Ed USA . Jones & Bartlett Learning 2014.

O’Conner D. Radcliffe J. Patients positioning in anesthesia Anaesth Intens Care Med 2015.16.543-7

Paul N. Kongkham, Eva Knifed, Mandeep S. Tamber, Mark Bernstein. (2008) Complications in 622 Cases of Frame-Based Stereotactic Biopsy, a Decreasing Procedure. The Canadian Journal of Neurological Sciences 35, 79-84. . Online publication date: 1-Mar-2008.

Recommended practices for sterile technique. In: Perioperative Standards and Recommended Practices. Denver, CO: AORN; Inpress. [IVB]

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ