QR CODE ในประเทศไทยและการประยุกต์ใช้ภายในโรงพยาบาลในยุคไทยแลนด์ 4.0

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา กิจเดช
  • กิตติศักดิ์ แก้วบุตรดี

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2018.16

คำสำคัญ:

คิวอาร์โค้ด, เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด, การชำระเงิน

บทคัดย่อ

          ในปัจจุบันมีผู้ป่วยเข้ามารับบริการรักษาในโรงพยาบาลต่างๆ เป็นจำนวนมาก บางครั้งทำให้เกิดข้อผิดพลาด หรืออุปสรรคต่าง ๆ ในการให้บริการของหน่วยงานในโรงพยาบาล ซึ่งปัญหาหลักๆ มักเกิดขึ้นที่ขั้นตอนการรับชำระเงินค่ารักษาพยาบาล ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานที่ให้บริการผู้ป่วยจำนวนมาก ๆ และข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ดังนั้นโรงพยาบาลจึงต้องมีการพัฒนา และนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการต่าง ๆ เพื่อลดข้อผิดพลาดดังกล่าว ที่อาจจะส่งผลกระทบกับองค์กรและผู้ป่วย

          เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด (QR Code) ย่อมาจาก Quick Response Code คือ บาร์โค้ด 2 มิติ (2 Dimension Barcode) ชนิดหนึ่ง ที่ประกอบด้วยโมดูลสีดำเรียงตัวกัน มีสัณฐานสี่เหลี่ยม มีพื้นหลังสีขาว สามารถใช้สมาร์ทโฟนเพื่ออ่านข้อมูลต่าง ๆ ได้  โดยโรงพยาบาลต่าง ๆ สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในส่วนของหน่วยงานต่าง ๆ เช่น การรับชำระเงินค่ารักษาพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกสบายใจการชำระเงินค่ารักษาพยาบาลมากขึ้น และการเก็บข้อมูลยา รวมไปถึงการจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยของโรงพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความผิดพลาด และเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงานในขั้นตอนต่าง ๆ ซึ่งทำให้โรงพยาบาลลดความซับซ้อนในการจัดการต่าง ๆ และผู้ป่วยได้รับประโยชน์สูงสุดในการรับบริการ

References

1. ทีมงาน TechTalkThai. (2560). สมาคมธนาคารไทยประกาศมาตรฐานชำระเงินผ่าน QR Code พร้อมเริ่มใช้งานจริงไตรมาสที่ 4. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2561 จาก: https://www.techtalkthai.com/standardized-qr-code-for-electronic-payment/

2. ไทยรัฐฉบับพิมพ์. (2560). ธปท.จูงเอกชนพัฒนามาตรฐานคิวอาร์โค้ด หนุนจ่ายเงินผ่านมือถือ!. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2561 จาก: https://www.thairath.co.th/content/1055332

3. บุษรา ประกอบธรรม. (2554). สร้างสรรค์สื่อทางธุรกิจกับ QR Code. วารสารนักบริหาร. 30(4), 41- 47.

4. วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2560). รหัสคิวอาร์. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561 จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/รหัสคิวอาร์

5. ศุภศิลป์ กุลจิตต์เจือวงศ์. (2555). คิวอาร์ โค้ด: นวัตกรรมการสื่อสารการตลาดในยุคดิจิทัล. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 2(2), 85-96.

6. สมาคมธนาคารไทย. (2560). แถลงข่าวความร่วมมือการใช้มาตรฐานคิวอาร์โค้ด (QR Code) เพื่อการชำระเงิน. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2561 จาก: http://www.tba.or.th/qr-code-pay-thai/

7. Advertorial. (2560). “RDU รู้เรื่องยา” แอปพลิเคชัน “ข้อมูลยา” เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงง่าย ใช้ยาอย่างปลอดภัย. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561 จาก: https://www.thairath.co.th/content/1081252

8. BLT Bangkok. (2560).คิวอาร์โค้ด สังคมไร้เงินสด. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561 จาก: http://www.bltbangkok.com/article/info/8/394

9. Fayossy. (2560). QR Code มิติใหม่ของการชำระเงิน เริ่มใช้งานเต็มรูปแบบ Q4 ปีนี้. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2561 จาก: https://www.marketingoops.com/news/brand-move/qr-code-payment/

10. Mbamagazine. (2560).ทิศทาง e-Payment ไทย. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2561 จาก: http://news.mbamagazine.net/index.php/e-con/local/item/480-e-payment

11. Phaisarn Sutheebanjard, Wichian Premchaiswadi, "QR Code Generator", IEEE 2010 8th International Conference on ICT and Knowledge Engineering, pp. 89-92, 24-25 Nov. 2010.

12. Thitima. (2560). สวรส.หนุนข้อมูลวิจัย “รายการยา-รหัสยามาตรฐาน” พร้อมจับมือ 5 หน่วยงาน พัฒนาแอปพลิเคชัน “RDU รู้เรื่องยา” ของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน ใช้ยาปลอดภัย, ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2561, จาก: https://www.hsri.or.th/researcher/media/news/detail/8484

13. Wayne Harper. (2016). 2D barcodes vs 1D: the data equation. Retrieved from https://insideretail.asia/2016/08/02/2d-barcodes-vs-1d-the-data-equation/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26

ฉบับ

บท

บทความทางวิชาการ