การศึกษานำร่องผลของโปรแกรมการดูแลตนเองด้วยมณีเวชต่อปัญหาสุขภาพและสมดุลโครงสร้างร่างกายของสมาชิกชมรมออกกำลังกาย ตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ศรศิรี ประพฤติธรรม
  • นพวรรณ ขำโอด
  • สมพร บุญธนพร
  • ณัฐสุดา แก้วเงิน
  • สายรุ้ง ลาดเพ็ง

DOI:

https://doi.org/10.14456/jmu.2019.6

คำสำคัญ:

มณีเวช, ปัญหาสุขภาพ, สมดุลโครงสร้างร่างกาย

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลตนเองด้วยมณีเวชต่อปัญหาสุขภาพ และสมดุลโครงสร้างร่างกายของสมาชิกชมรมออกกำลังกาย ตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อน-หลัง กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกชมรมออกกำลังกายตำบลหอกลอง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 15 คน คัดเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง โปรแกรมการดูแลตนเองด้วยมณีเวช ประกอบด้วย การรู้จักโครงสร้างร่างกายตนเอง การรักษาสมดุลของอิริยาบถในชีวิตประจำวัน การบริหารร่างกายด้วยมณีเวช เก็บรวบรวมข้อมูลโดยประเมินปัญหาสุขภาพ ได้แก่ อาการปวดเมื่อย  เวียนศีรษะ  นอนไม่หลับ  ท้องผูก ด้วยแบบสอบถามข้อมูลสุขภาพและประเมินสมดุลโครงสร้างร่างกายด้วยวิธีวิเคราะห์การทรงท่า (Postural analysis) โดยใช้ Postural analysis grid chart ได้แก่ การวัดระยะห่างจากแนวโครงสร้างปกติ (Posture Translations) และมุมเบี่ยงเบนจากแนวโครงสร้างปกติ (Posture Angulations) วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบก่อนหลังด้วย ร้อยละ ค่ามัธยฐาน และ Wilcoxon Singed Ranks tests ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง 15 คน เป็นชาย 7 คนและหญิง 8 คน อายุเฉลี่ย 66 ปี หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมการดูแลตนเองด้วยมณีเวชเป็นระยะเวลา 4 เดือน พบว่าปัญหาสุขภาพ ได้แก่ อาการปวดเมื่อย  เวียนศีรษะ  นอนไม่หลับ  ท้องผูก ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)  และผลการวิเคราะห์การทรงท่า  (Posture analysis) พบว่าสามารถลดมุมเบี่ยงเบนจากแนวโครงสร้างปกติ (Posture Angulations) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)  แต่ผลต่อระยะห่างจากแนวโครงสร้างปกติ (Posture Translations)  ลดลงอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

References

1. กลุ่มวิจัยและพัฒนา สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2556). การยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบ Dynamic Stretching สำหรับนักกีฬา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

2. กานดา ใจภักดี. (2542). วิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว (kinesiology). พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร : ดวงกมล (2520).

3.กรีฑา ม่วงทอง, ประสิทธิ์ มหากิจ, ปริยนันทน์ จารุจินดา,ภานุวิชญ์ พุ่มหิรัญ. (2548). ตำราโรคหูคอ จมูก. กรุงเทพฯ : นำอักษรการพิมพ์.

4.จีระนันท์ ระพิพงษ์. (2017). การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษา (Therapeutic Exercise). สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2562 จาก http://www.med.cmu.ac.th/dept/rehab/2017/images/Study_guide/08_1MSKExercise_JR.pdf

5.ฉวีวรรณ บุนนาค, อภิชัย วิธวาศิริ. (2537). ตำราโรคหู คอ จมูก. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.

6.ณัฏฐิยา ตันติศิริวัฒน์. (2552). การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษา (Therapeutic exercise). ใน ดุจใจ ชัยวานิชศิริม, วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล. ตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู. กรุงเทพ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

7.นภดล นิงสานนท์. (2554). มณีเวชเพื่อชีวิตง่ายๆสบาย ๆ . วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 3(5), 1-13.

8.นภดล นิงสานนท์, และเกณิกา หัสพฤกษ์. (2560). ตำรามณีเวช Maneevej:New paradigm in healthcare เปลี่ยนกระบวนทัศน์ ปรับกระบวนคิด สร้างสมดุลชีวิต. สงขลา : นีโอพ้อยท์ (1995) จำกัด.

9.นภดล นิงสานนท์, และอรวรรณ จิรชาญชัย. (2560). พลิกตำราวิชาแพทย์ด้วยมณีเวช ศาสตร์แห่งความท้าทาย. เพชรบูรณ์ : ดีดีการพิมพ์.

10.ปารยะ อาศนะเสน. (2552). เวียนศีรษะ. กรุงเทพฯ. ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศ

11.ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์. (2557). ระบบการเคลื่อนไหว (Locomotive System). ม.ป.ท

12. เพชรธยา แป้นวงษา. (2559). ผลของการปรับสมดุลร่างกายด้วยมณีเวชต่อการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพชรบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

13. พนิดา จันทรังสิกุล. มณีเวชเพื่อความสมดุลของโครงสร้างร่างกายและพัฒนาจริยธรรมในเด็กไทย. ม.ป.ท., ม.ป.พ., ม.ป.ป.

14. มานพ ประภาษานนท์. (2550). การปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย. ใน วินัย แก้วมุณีวงศ์และพันทิพา พงศ์กาสอ (บ.ก.), การสัมมนาวิชาการแพทย์ทางเลือก ครั้งที่ 2 เรื่อง "การดูแลผู้ป่วยปวดหลัง ปวดเอวด้วยการแพทย์ผสมผสาน" (น. 85-89). นนทบุรี: กองการแพทย์ทางเลือกกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

15. มาโนช หล่อตระกูล. (2544). คู่มือการดูแลผู้มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชสําหรับแพทย์. กรมสุขภาพจิต สืบค้นเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2562 จาก https://med.mahidol.ac.th/ramamental/sites/default/files/public/pdf/Insomnia.PDF

16. วิทวัส สิทธิวัชรพงศ์และ วิจิตร บุณยะโหตระ.(2556),ประสิทธิผลของการบริหารร่างกายแบบมณีเวชเพื่อลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อจากการทำงานในกลุ่มพนักงานออฟฟิศ. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม2560,จากhttp://anti-aging.mfu.ac.th/File_PDF/research56/Proceeding56_39.pdf

17. วิภาวรรณ ลีลาสำราญ, วุฒิชัย เพิ่มศิริวาณิชย์. (2547). การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพในโรคต่าง ๆ (Exercise for health and disease). สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์.

18. วีระยุทธ แก้วโมกข์. (2560). ผลการทำกายบริหารแบบมณีเวชต่อการทรงตัวความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของผู้สูงอายุ. บูรพาเวชสาร, 4(1), 31-39

19. วีระศักดิ์ เมืองไพศาล. เวียนศีรษะ. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2561, จาก http://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/knowledge_article/knowledge_healthy_7_007.html

20. สมคิด เริงวิจิตรา. (2557). การนวดสัมผัสปรับสมดุลโครงสร้างร่างกาย(ปรับจัดกระดูกไทย). สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2560, จาก http://www.thaicam.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=579:2014-04-03-03-52-09&catid=116:2016-01-05-03-45-57&Itemid=181

21. สุเทพ กลชาญวิทย์. (2562). การรักษาท้องผูก. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2562 จาก http://www.thaimotility.or.th/files/10. การรักษาท้องผูก.pdf

22. สุวรรณา กิตติเนาวรัตน์. (2552). ภาวะท้องผูก. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, ปีที่ 2 (ฉบับที่ 1-3), 14-22

23. สุวัจนา อธิภาส. เวียนศีรษะ เสียการทรงตัวในผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2561, จากhttps://www.rcot.org/datafile/_file/_doctor/9c246c8db0cbab39beafd71f7b87cbef.pdf

24. อารี ตนาวลี, สีหธัช งามอุโฆษ, ยงศักดิ์ หวังรุ่งทรัพย์.(2557). ตำราแก่นความรู้ทางออร์โธปิดิกส์ สำหรับแพทยศาสตรบัณฑิต. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

25. อำนาจ จิตต์แจ้ง, กัญชลิกา สิริมิรินทร. (2552). ผลของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อและการทำมณีเวชต่อการลดปวดในพนักงานการเงินและพนักงานขับรถโรงพยาบาลศรีธัญญา. สืบค้นเมื่อ 11 พฤษภาคม 2560, จากhttp://www.jvkk.go.th/research/qrresearch.asp?code=0103275

26. American chiropractic association. (2018). Maintaining Good Posture. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2560, จาก https://acatoday.org/content/posture-power-how-to-correct-your-body-alignment

27. Deepika Singla, Zubia Veqar. (2014). Methods of Postural Assessment Used for Sports Persons. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2560, จาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4064851/

28. Harvard health publishing. (2018). 3 surprising risks of poor posture. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2560, จาก https://www.health.harvard.edu/staying-healthy/3-surprising-risks-of-poor-posture

29. National center for complementary and integrative health.(2018). Chiropractic: In Depth. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2560, จาก https://nccih.nih.gov/health/chiropractic/introduction.htm

30. Timothy L. Kauffman, Michelle A. Bolton. (2014). A Comprehensive Guide to Geriatric Rehabilitation 3rd ed. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2560, จากhttps://www.sciencedirect.com/topics/medicine-and-dentistry/posture

31. Thomas F Bergmann, David H Peterson. (2011). Chiropractic Technique : Principles and Procedures. 3rd ed. United State of America : Linda Duncan

32. William D. Bandy, Barbara Sanders. (2012). Therapeutic Exercise for Physical Therapist Assistants. 3rd ed. Lippincott, Williams & Wilkins : Philadelphia.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-08

ฉบับ

บท

บทความวิจัย