การสร้างแรงบันดาลใจเพื่อการพัฒนางานประจำของบุคลากรสายสนับสนุน ในสถาบันอุดมศึกษา
DOI:
https://doi.org/10.14456/jmu.2019.1คำสำคัญ:
ผู้นำ, งานวิจัยจากงานประจำ, การทำงานเป็นทีม, แรงบันดาลใจบทคัดย่อ
บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย โดยให้การสนับสนุนการดำเนินงานของผู้บริหารและบุคลากรสายวิชาการ จากบทบาทการเป็นผู้ช่วยเหลือเสมือนหนึ่งเป็นผู้ตามนี้ ส่งผลให้ผู้บริหารและบุคลากรสายวิชาการมีอิทธิพลต่อความคิดและการกระทำของบุคลากรสายสนับสนุน อีกทั้งบรรยากาศวัฒนธรรมขององค์กรและกฎระเบียบของงานประจำ ทำให้บุคลากรสายสนับสนุนถูกจำกัดความสามารถในด้านการเป็นผู้นำในการแก้ไข/ปรับปรุง/พัฒนางานประจำ หรือการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานประจำ ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับแรงบันดาลใจเพื่อการพัฒนางานประจำของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา คือ การให้บุคลากรสายสนับสนุนรู้จักบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการช่วยวิเคราะห์หรือการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยจากงานประจำเพื่อหาทางเลือก ข้อดี ข้อเสีย พร้อมเสนอแนะการตัดสินใจให้แก่ฝ่ายบริหาร โดยบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา ต้องมีความชำนาญในหน้าที่ของตน สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองจากผู้เสพความรู้เป็นผู้สร้างความรู้ได้ จากบรรยากาศความเชื่อและวัฒนธรรมองค์กร ที่มักจะไม่เห็นด้วยหรือไม่เอื้ออำนวยให้บุคลากรสายสนับสนุนพัฒนาตนเองแต่บุคลากรสายสนับสนุนสามารถเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้โดยการชักชวนเพื่อนร่วมงานจัดตั้งเป็นทีมพัฒนางาน ทั้งการช่วยกันตั้งคำถามและช่วยกันหาคำตอบ โดยการพัฒนางานนั้นให้เริ่มจากงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนงานที่รับผิดชอบก่อน และหาสิ่งที่เป็นประโยชน์ในตัวเราที่สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่หน่วยงานหรือองค์กรได้ จากการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรนั้นจะส่งผลให้เกิดคุณค่าทางจิตใจ เกิดความสุขทางใจที่ทำให้ผู้รับบริการได้รับแต่สิ่งดี ๆ เป็นความสุขที่เกิดจากการให้และการทำเพื่อคนอื่น ต่อจากนั้นต้องหมั่นฝึกฝนเพิ่มขึ้น จนสามารถทำงานที่ตนเองรับผิดชอบได้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ส่งผลให้เกิดความรักในงานที่เราทำมากยิ่งขึ้นตามมาและนอกจากนี้ยังมีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยสิ่งที่สำคัญของการพัฒนางานประการหนึ่งที่ต้องคำนึงควบคู่กันไป คือ ความรัก ความเชื่อมั่น และความศรัทธาในตนเอง ซึ่งบุคคลใดก็ตามที่ไม่รักและศรัทธาในตนเองนั้น จะประสบความสำเร็จได้ยากมาก
References
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ก. พลพิมพ์ (1996) จำกัด.88 หน้า.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). การคิดเชิงวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 6 (ฉบับปรับปรุง)). กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย. 167 หน้า
บุญชัย โกศลธนากุล. (2555). คิดได้ แต่ทำไม ทำไม่ได้.รายการ CEO VISION ช่วง New Dimensions ที่ออกอากาศทาง FM 96.5 ในวันที่ 6 สิงหาคม 2555.
ประกาศ ก.พ.อ. (2553). เรื่องมาตรฐานการกำหนดระดับตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ. 2553 (เอกสารแนบ 5). ลงวันที่ 22 ธันวาคม 2553.
ประสิทธิ์ วัฒนาภา. (2559). การวิจัยจากงานประจำในระบบการศึกษา. การบรรยายพิเศษ ในการประชุมวิชาการการวิจัยระบบการศึกษาไทย ครั้งที่ 1. วันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 ณ โรงแรม นงนุช การ์เด้น รีสอร์ท จังหวัดชลบุรี.
เรืองชัย จรุงศิรวัฒน์.(2554). เทคนิคการเขียนคู่มือปฏิบัติงาน. ขอนแก่น: ศูนย์ผลิตเอกสาร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 80 หน้า.
วัลลภ สันติประชา. (2561). บทบาทและหน้าที่บุคลากรสายสนับสนุนในการพัฒนาการศึกษาไทย. วารสารวิชาการ ปขมท., 7(1), 1-2.
สุพจน์ เอี้ยงกุญชร. 2560. บทบาทหน้าที่สำคัญของฝ่ายสนับสนุนต่อภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการ ปขมท., 6(3), 1-4.
อรพิมพ์ รักษาผล.2560. ทำอย่างไร...ในวันที่ขาดแรงบันดาลใจในการทำงาน. Talk To Touch By Best Orapim.เผยแพร่เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2560. [เว็บบล็อก]. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2561. จาก https://www.youtube.com/watch?v=Q4cjQvn_VMc.
อัครินทร์ นิมมานนิตย์ เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ กุลธร เทพมงคล สรินยา งามทิพย์วัฒนา ลดาทิพย์ สุวรรณ และรวีวรรณ กิติพูลวงษ์วนิช. (2554). ลักษณะสำคัญของการวิจัย R2R และ 10 “ไม่”R2R. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 5(2), 271-274.