การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 3 อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วม, การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ, โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 3บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : ศึกษารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ โรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 3 อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวางแผนพัฒนา ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 3 ผู้นำชุมชน ครูผู้รับผิดชอบงานอนามัยโรงเรียน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตัวแทนจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน มูลนิธิกู้ภัย จำนวน 30 คน และกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มผู้ใช้แผน คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1- 3 ของโรงเรียนนิคมสร้างตนเอง 3 จำนวน 83 คน สุ่มเลือกอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรู้การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ ที่มีค่าอำนาจจำแนก 0.44 - 0.79 ค่าความยากง่าย 0.52 - 0.73 ค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ (KR-20) เท่ากับ 0.73 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Cronbach's alpha) เท้ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired Simple t-test
ผลการวิจัย : พบว่า กระบวนการพัฒนาประกอบด้วย 3 ระยะ คือ 1) ระยะเตรียมการ 2) ระยะดำเนินการวิจัยจากการประยุกต์ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 3) ระยะสรุปผล ซึ่งทำให้เกิดแผนการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ คือ การกู้ชีพขั้นพื้นฐาน การปฐมพยาบาลภาวะทางเดินหายใจถูกอุดกั้น การปฐมพยาบาลฉุกเฉินกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และการปฐมพยาบาลฉุกเฉินภาวะชัก จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างผู้ใช้แผน มีระดับความรู้ ทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ เพิ่มขึ้นสูงกว่าก่อนดำเนินกิจกรรมพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนการมีส่วนร่วมของกลุ่มตัวอย่างวางแผนพัฒนาตั้งแต่เริ่มจนถึงสิ้นสุดการพัฒนาอยู่ในระดับมาก
สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรมีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ และดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อวัดประสิทธิภาพของแผนพัฒนาเพื่อจะได้แนวทาง เทคนิค วิธีการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
References
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. สถานการณ์และแนวโน้มสุขภาพและการแพทย์ฉุกเฉิน(ระดับโลกและประเทศไทย) [เอกสารประกอบการสอน]. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2565.
รัตติกาล เรืองฤทธิ์, ปรียา แก้วพิมล, กิตติพงศ์ เซ่งลอยเลื่อน. ความรู้ ทักษะ และความมั่นใจในสมรรถนะ ของตนในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (เออีดี : AED) ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2564;13(2):125-39.
จินตนา พัฒนพงศ์ธร, วันวิสาห์ แก้วแข็งขัน. รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560. นนทบุรี: กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
Kemmis S. McTaggart R. The Action Research Planner. (Victoria, Ed.) (3rd ed.). Australia: Deaken University Press; 1988.
แพงศรี ประภากรพิไล, ปิยวรรณ หาญเวช, วัทธิกร นาถประนิล. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยฟื้นคืนชีพ (Basic Life Support) วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 2567;11(1):1-15.
นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์, ปัทมา สุริต, วาสนา รวยสูงเนิน, ดลวิวัฒน แสนโสม, บุษบา สมใจวงษ์, มะลิวรรณ ศิลารัตน์, และคณะ. ผลของการอบรมเชิงปฏิบัติการต่อความรู้ ทัศนคติ และทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นของประชากรวัยแรงงาน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 2564;44(3).58-70.
เพ็ญพักตร์ ไชยสงเมือง, อรทัย บุญชูวงศ์, ณัฐนันท์ คำพิริยะพงศ์, ฉันทวรรณ วิชัยพล. ผลของโปรแกรมสอนการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานต่อการคงอยู่ของความรู้และทักษะในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน:กรณีศึกษาตำบลหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2566);33(1):1-13.
ปาจรีย์ ตรีนนท์, สำเร็จ เทียนทอง, ธีราภรณ์ บุญล้อม, ชิณท์ณภัทร วันชัย, ชลธิชา บุญบรรจง, ญาสุมินทร์ พลเทพ, และคนอื่นๆ. ผลของการใช้สื่อการเรียนรู้แอพพลิเคชั่นเพื่อพัฒนาความรู้ และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2562;37(3):98-105.
นิษฐกานต์ แก่นจำปา, วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา, สนใจ ไชยบุญเรือง. การพัฒนาโปรแกรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลโสกนกเต็น อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563;13(2):414-20.
วัทธิกร นาถประนิล, สุมัทนา กลางคาร, กษมา วงษ์ประชุม. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพเพื่อป้องกันการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ ตำบลรอบเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2565;4(2):177-92.
จารุวรรณ ชีโพธิ์, ชัยวุฒิ บัวเนี่ยว, ธีรยุทธ อุดมพร. การพัฒนารูปแบบการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการดำเนินงานกองทุนหลักประกัน สุขภาพในระดับท้องถิ่นเทศบาลตำบลโนนแดง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา. 2560;18(1):80-91.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง