การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาล, โรคหลอดเลือดสมอง, ชุมชมบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลและเปรียบเทียบความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในชุมชน 4 ด้าน กรณีศึกษา 2 ราย
รูปแบบการวิจัย: การเปรียบเทียบกรณีศึกษา 2 ราย
วัสดุ และวิธีการวิจัย: การศึกษารายกรณีนี้เป็นการเปรียบเทียบในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 2 ราย โดยผู้ป่วยกรณีศึกษาที่ 1 เข้ามารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเมืองสรวง ระหว่างวันที่ 28-30 เมษายน 2566 และผู้ป่วยกรณีศึกษาที่ 2 เข้ามารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเมืองสรวง ระหว่างวันที่ 9-11 เมษายน 2566 การเก็บข้อมูล โดยใช้แนวคิดทฤษฎีทางการพยาบาล การดูแลสุขภาพผู้ป่วยแบบองค์รวม ร่วมกับการประยุกต์ใช้ ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตน (Self-Efficacy Theory) แบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน แบบประเมิน INHOMESSS และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (Bethel ADL Index)
ผลการวิจัย: พบว่า ผู้ป่วยรายที่ 1 เมื่อจำหน่ายกลับบ้านผู้ป่วยมีผู้ดูแลบุตรสาวช่วยทำกายภาพบำบัด และได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน 6 ครั้ง ให้การดูแลสุขภาพผู้ป่วยแบบองค์รวม ร่วมกับการประยุกต์ใช้ ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตน (Self-Efficacy Theory) และติดตามความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ด้วยแบบประเมิน Bethel ADL Index คะแนน 14/20 และผู้ป่วยรายที่ 2 เมื่อจำหน่ายกลับบ้านผู้ป่วยมีผู้ดูแลเป็นบุตรสาวให้กำลังใจ และได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน 6 ครั้ง ให้การพยาบาลแบบองค์รวม ร่วมกับประยุกต์ใช้ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตน (Self-Efficacy Theory) และติดตามความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ด้วยแบบประเมิน Bethel ADL Index คะแนน 13/20
สรุป และข้อเสนอแนะ : การศึกษาครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า การที่ผู้ป่วยได้รับการพยาบาลแบบองค์รวม มิติทางกาย มิติทางจิต มิติทางสังคม มิติทางปัญญา ร่วมกับประยุกต์ใช้ทฤษฎีสมรรถนะแห่งตน (Self-Efficacy Theory) ในระยะ 6 เดือน ทำให้ผู้ป่วยมีทักษะที่จะปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม และมีกำลังใจ มีความคาดหวังในความสามารถที่จะตัดสินว่าบุคคลจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และปฏิบัติตัวตามคำแนะนำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นควรมีการพัฒนาโปรแกรมสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแล ต่อความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพื่อผลลัพธ์การรักษาอยู่ในเกณฑ์ดี
References
สมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย. สถานการณโรคหลอดเลือดสมอง [อินเทอร์เน็ต].2566 [เข้าถึงเมื่อ 15 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://thaistrokesociety.org/purpose/สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง
กระทรวงสาธารณสุข. HDC-report [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 1 ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/ncd.php&cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=3092c3c3250ae67155f7e134680c4152
โรงพยาบาลเมืองสรวง. ข้อมูลเวชระเบียน สถิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ปี 2564-2566. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาล; 2566.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke): ความรู้สำหรับผู้ปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข; 2564.
bพรทิพย์รตา สุขรื่นบุลภรณ์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน. วารสารวิชาการและการพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีจักรีรัช. 2564;1(2):113-29.
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัท ธนาเพรส จำกัด; 2559.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. คู่มือการการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง สำหรับญาติที่ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: THE SON GROUP; 2554.
Bandura A. Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman; 1997.
ชื่นชม ชื่อลือชา. การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2555;12(1):99-111.
วัฒนีย์ ปานจินดา. ศึกษางานวิจัยเชิงคุณภาพการดูแลแบบองค์รวมในการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2559;5(2):70-8
Kitisomprayoonkul W, Sungkapo P, Taveemanoon S, Chaiwanichsiri D. Medical complications during inpatient stroke rehabilitation in Thailand: a prospective study. Journal of the Medicine Association Thailand. 2011;93(5):594-600.
มินตรา ธรรมกุล. การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบในชุมชน: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารเพื่อการวิจัย เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ และคุณภาพชีวิต. 2563;1(2):75-87
รัชฏา ไสวาร. การพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองในชุมชน: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2566;3(1):31-43.
เกษราภรณ์ บรรณวงศิลป์, การพยาบาลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองตีบอย่างต่อเนื่องที่บ้าน:กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2566;16(2):74-88.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-09-26 (2)
- 2024-09-26 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง