การพัฒนาระบบและกลไกการดำเนินงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนน โดย ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • สันติ ธรณี สำนักงานสาธารณสุขอำเภอทุ่งเขาหลวง

คำสำคัญ:

ระบบและกลไก, การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาระบบและกลไก และประเมินผลการดำเนินงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนน โดยศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นกลุ่มเป้าหมาย ภาคียุทธศาสตร์ และภาคีปฏิบัติการ จำนวน 1,685 คน การวิจัยแบ่งเป็นระยะเตรียมการวิจัย ดำเนินการวิจัย และประเมินผลการวิจัย ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – เดือนกันยายน 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบบันทึกผลการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Percentage differences

ผลการวิจัย : 1) การศึกษาสถานการณ์การอุบัติเหตุทางถนนพบปัญหาทั้งด้านบุคคล ด้านสภาพแวดล้อม และด้านระบบบริหารจัดการที่เกี่ยวข้อง 2) ระบบและกลไกการดำเนินงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนประกอบด้วย “กิจกรรม 3D” คือ การพัฒนาระบบและกลไกศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนระดับอำเภอการพัฒนาศักยภาพของคณะอนุกรรมการ และการพัฒนากลไกในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3) หลังการพัฒนา พบว่า ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนโดยรวมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 15.75 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการประเมินผลและสารสนเทศเพิ่มขึ้นมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 16.10 รองลงมา คือ ด้านการให้ความรู้และประชาสัมพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 16.09 และ ด้านบริการการแพทย์ฉุกเฉิน คิดเป็นร้อยละ 15.94 ตามลำดับ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญมีส่วนร่วมในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนระดับมากเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 64.57 และอุบัติเหตุมีแนวโน้มลดลง

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้การป้องกันอุบัติเหตุทางถนนมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้นอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางถนนโดยรวมลดลง

References

วิทยา ชาติบัญชาชัย. สถานการณ์อบัติเหตุทางถนนและการจัดการกับปัญหาของประเทศไทย. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย. 2565;2(2):187-98.

กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http:/dip.ddc.moph.go.th/new/3base_status.new

ศูนย์ข้อมูลกลางด้านการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถิติข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บ (Injury Surveillance : IS) [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https//dip.ddc.moph.go.th/new/บ5ก15/is-real-time

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2564. สำนักแผนความปลอดภัย; 2565.

รังสรรค์ ศรีคราม. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมอุบัติเหตุทางถนนโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยและพัฒนาสุขภาพศรีสะเกษ. 2566;2(3):52-66.

ฐิติพร สุแก้ว. การศึกษาเผยอุบัติเหตุทางถนน [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 28 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.chorsaard.or.th/content/61636/

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสลภูมิ. อุบัติเหตุทางถนน. ร้อยเอ็ด: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเสลภูมิ; 2564.

Kemmis S, Mc Taggart R, Nixon R. The action research planner: Doing critical participatory action research. New York: Springer; 2014.

ภูวนาท ณรงค์รัตน์. การศึกษาสถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุทางถนนและผลกระทบของอุบัติเหตุ : กรณีผู้ประสบเหตุเสียชีวิต อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง. วารสารการศึกษาและวิจัยการสาธารณสุข. 2567;2(1):17-34.

Goyal S. Study of epidemiology of road traffic accidents. IAIM. 2018;5(4):23-28.

Prasannakumar V, Vijith H, Charutha R, Geetha N. Spatio-temporal clustering of road accidents: GIS-based analysis and assessment. Proc Soc Behav Sci. 2011;21:317-325.

Le KG, Liu P, Lin L-T. Determining the road traffic accident hotspots using GIS-based temporal-spatial statistical analytic techniques in Hanoi, Vietnam. Geo-spat Inform Sci. 2020;23(2):153-64.

เกศนี อาจสด, สมบูรณ์ หมั่นนันท์, สุนิสา ยุคะลัง. รูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด.ร้อยเอ็ด. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพนทอง; 2566.

จิราพร หนูปลอด, จักรินทร์ ปริมานนท์, วีระศักดิ์ ประดาศักดิ์, อนันต์ รอดสั้น. การพัฒนากระบวนการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนกรณีศึกษา : พื้นที่ตำบลแก้วแสน อำเภอนาบอน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ และสาธารณสุข.B2566;1(2):55-69.

พิชิต แสนเสนา, ธวัชชัย คำป้อง, วิลาวัลย์ บุญมี. รูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอบัติเหตุทางถนน อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี. 2566;2(1):47-62.

เกษมสุข กันชัยภูมิ. การพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนแบบมีส่วนร่วมโดยเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 2565;7(2):82-92.

กาญจนา เลิศวุฒิ, วันเพ็ญ โพธิยอด, ชัยธรณ์ อุ่นบ้าน.การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจราจรทางถนนโดยการมีส่วนร่วมของพหุภาคีเครือข่าย จังหวัดลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2559;14(1):46-59.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-04