This is an outdated version published on 2024-08-19. Read the most recent version.

การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยนอกตามมาตรฐานการพยาบาล โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • อริญญา บุญอรัญ โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน
  • สุภารัตน์ ทัพโพธิ์ โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน
  • มนทกานติ์ ตั้งนพรัตน์กุล โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน

คำสำคัญ:

แนวทางปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วยนอก, มาตรฐานการพยาบาลการคัดกรองผู้ป่วยนอก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนา และประเมินผลแนวทางปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยนอกตามมาตรฐานการพยาบาล

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการการวิจัยและพัฒนา (Research and development approach)

วัสดุและวิธีการวิจัย :  กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยนอกและแผนกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช จำนวน 30 คน ดำเนินการวิจัยเดือนเมษายนถึงเดือนธันวาคม 2566 ระยะแรกเป็นการพัฒนาแนวทางปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยนอกตามมาตรฐานการพยาบาล และระยะสองเป็นการประเมินผลการใช้แนวทางปฏิบัติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย : พบว่าสาเหตุที่ทำให้การคัดแยกผู้ป่วยนอกผิดพลาด ได้แก่ การไม่ปฏิบัติตามแนวทางการคัดแยก ขาดความรู้และทักษะในการคัดแยกผู้ป่วยนอก การเวียนปฏิบัติงานจากจุดอื่น ส่วนการพัฒนาแนวทางปฏิบัติการปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยนอกตามมาตรฐานการพยาบาล ประกอบด้วย คู่มือขั้นตอนคัดแยกผู้ป่วยนอก โปสเตอร์ขั้นตอนการคัดแยกประเภทผู้ป่วย และแบบ Checklist สำหรับคัดแยกผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว หลังการนำไปใช้ พยาบาลผู้ปฏิบัติมีค่าคะแนนความรู้เฉลี่ยก่อนหลังการพัฒนาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (p<.001) ภาพรวมการปฏิบัติตามแนวทางการคัดแยกผู้ป่วยนอกตามแนวทางการคัดแยก อยู่ในระดับดีมาก พยาบาลมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แนวโน้มการเกิด Over และ Under triage ลดลง พบอุบัติการณ์เกิดภาวะฉุกเฉินขณะรอตรวจ จำนวน 1 ราย แต่อาการไม่รุนแรง

สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรมีการกำกับติดตามและส่งเสริมการนำไปใช้อย่างต่อเนื่องและพัฒนากระบวนการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความสะดวกและง่ายต่อผู้ปฏิบัติส่งผลดีต่อคุณภาพการบริการ

References

ปุณยนุช ปิจนำ. ผลการศึกษาการคัดแยกประเภทผู้ป่วยหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุุกเฉิน โรงพยาบาลวังชิ้น. Journal of the Phrae Hospital. 2563;28(1):152-62.

ฉวีวรรณ ตรีชมวารี. การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน สำหรับพยาบาลที่ปฏิบัติงานที่จุดคัดแยกด่านหน้าโรงพยาบาลธวัชบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2565;3(3):37-48.

กงทอง ไพศาล. การพัฒนาระบบการคัดกรองผู้ป่วย งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2562;12(1):93-100.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มือแนวทางการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เกณฑ์ และวิธีปฏิบัติการ คัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่ กพฉ. กำหนด : สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. สำนักการพยาบาล 2551 มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2); 2555.

นิตยา สุภามา. ประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2563;5(4):65-74.

เทพีรัตน์ เทศประสิทธิ์. การพัฒนาระบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วย งานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลโชคชัย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564;15(36):160-78.

สุภาพร พลพันธ์ และวัลลภา ช่างเจรจา. ผลการใช้แนวทางการคัดกรองผู้ป่วยโดยดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินต่ออุบัติการณ์การคัดกรองผู้ป่วยผิดประเภท งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบึงกาฬ. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2561;2(4):50-7.

Mulindwa F. Perceptions of Doctors and Nurses of International Hospital Kampala (IHK)–Out Patient Department and Emergency Unit (OPD&EU), regarding introduction and use of the South African Triage Scale (SATS) (Doctoral dissertation, Stellenbosch: Stellenbosch University); 2015.

สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. MOPH ED. Triage. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

Barman U. to measure knowledge level of trainers on andragogy. Agriculture Update. 2015;10(2):139-43.

Likert R. The method of constructing an attitude scale. In Scaling (pp. 233-242). Routledge; 2017.

สำเริง จันทรสุวรรณ, สุวรรณ บัวทวน. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-19

Versions