This is an outdated version published on 2024-08-12. Read the most recent version.

การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • กันหา ไกรแก้ว โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • อุไรพรณ์ ทิดจันทึก โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • ปิยวรรณ หาญเวช โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, พัฒนาการเด็กปฐมวัย, จังหวัดร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ภายใต้บริบทชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบการลงมือปฏิบัติร่วมกัน (Mutual collaboration approach)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มวิเคราะห์สถานการณ์ ประกอบด้วย หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง พยาบาลวิชาชีพ นักวิชาการสาธารณสุข เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน และผู้ช่วยเหลือคนไข้ จำนวน 20 คน และกลุ่มระยะดำเนินการพัฒนาและประเมินผลการพัฒนา ประกอบด้วย พ่อแม่หรือผู้ปกครองเด็กและเด็กกลุ่มอายุ 9, 18, 30, 42 และ 60 เดือน จำนวน 113 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจในการดำเนินกิจกรรม ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (Cronbach's alpha) 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย : การเข้าถึงบริการครอบคลุมการตรวจพัฒนาการทุกคนในชุมชน (100%) พบว่ามีเด็กสงสัยล่าทั้ง 5 ช่วงอายุ (13.26%) และจำเป็นต้องส่งต่อรักษาเพื่อกระตุ้นพัฒนาการในระดับตติยภูมิ (6.67%) โดยมีกิจกรรมการดำเนินงานประกอบด้วย 5 กิจกรรม คือ 1) ประสานกลุ่มเป้าหมายจากหมอครอบครัว สู่ อสม.ในชุมชน 2) นัดกลุ่มเป้าหมายตามช่วงอายุรวมตัวกันในพื้นที่ชุมชน 3) ตรวจพัฒนาการตามช่วงอายุในชุมชนโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 4) ใช้เทคโนโลยีสื่อสังคมออนไลน์ในการดำเนินงาน 5) ประเมินความพึงพอใจในการดำเนินงานในชุมชน ระดับความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของผู้ปกครอง พบว่าส่วนใหญ่มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (98.23%)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรมีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานเป็นระยะๆ แม้จะสิ้นสุดการวิจัย เพื่อหาแนวทาง เทคนิค วิธีการ ดำเนินงานแก้ไขปัญหาการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย อย่างยั่งยืน

References

จินตนา พัฒนพงศ์ธร, วันวิสาห์ แก้วแข็งขัน. รายงานการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัยไทย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2560. นนทบุรี: กลุ่มสนับสนุนวิชาการและการวิจัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

Kemmis S R, McTaggart. The Action Research Planner. (Victoria, Ed.) (3rd ed.). Australia: Deaken University Press; 1988.

วัทธิกร นาถประนิล, สุมัทนา กลางคาร, กษมา วงษ์ประชุม. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพเพื่อป้องกันการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์

ตำบลรอบเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 2565;4(2):177-93.

วิมลพรรณ สังขสกุล, ปัทมา ผ่องศิริ, จรูญศรี มีหนองหว้า, วิภาวี พลแก้ว. สถานการณ์และแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่มุ่งเน้นผลลัพธ์. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2564;27(1):193-205.

ณิชกานต์ นาควิโรจน์, ศิริวรรณ ใบตระกูล, จิตตวีร์ เกียรติสุวรรณ, จุฑาทิพย์ เดชเดชะ. การพัฒนารูปแบบการดูแลเพื่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตและพัฒนาการเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 2564;8(2):237-52.

สุนันต์ทา พิลุน, วิศรุดา ตีเมืองซ้าย. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้า หน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 2565:19(3):207-19.

พัชรา พุ่มพชาติ. ผลการใช้ชุดกิจกรรมการสร้างวินัยเชิงบวกตามแนวคิดการเรียนรู้โปรแอคทีฟ (Pro-Active learning) ที่มีต่อพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์. 2563;15(3):1-16.

อัมพร สัจจวีรวรรณ, ประภาเพ็ญ สุวรรณ, สุรีย์ จันทโมลี. การพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านพัฒนาการเด็กแก่ผู้ปกครอง ในการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการ ด้านการใช้ภาษาสงสัยล่าช้า จังหวัดสุพรรณบุรี.วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม. 2566;7(5):274-93.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-12

Versions