This is an outdated version published on 2024-08-12. Read the most recent version.

การศึกษาความเชื่อมั่นของผู้มารับบริการต่อร้านขายยาแผนปัจจุบันที่ไม่ใช่ยาอันตรายและยาควบคุมพิเศษ (ข.ย.2) ที่ผ่านมาตรฐานวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (GPP) จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ดารณี ชิตทรงสวัสดิ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
  • มานิตย์ ทวีหันต์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
  • ระพิตราภรณ์ พิพัฒนมงคล สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
  • พงศกร โคสุโน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

ความเชื่อมั่น, มาตรฐานวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน, ร้านขายยาแผนปัจจุบันบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ :  เพื่อศึกษาความเชื่อมั่นของผู้มารับบริการที่ร้านขายยาแผนปัจจุบันที่ไม่ใช่ยาอันตราย และยาควบคุมพิเศษ (ข.ย.2) ที่ผ่านมาตรฐานวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (GPP) จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : วิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มารับบริการที่ร้านขายยา ข.ย. 2 ในจังหวัดร้อยเอ็ด ทั้ง 9 แห่ง จำนวน 205 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ได้แก่ ส่วนที่ 1 แบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป  ประกอบด้วย อายุ เพศ การศึกษา รายได้เฉลี่ย โรคประจำตัว ประวัติการมารับบริการ ส่วนที่ 2 แบบวัดความเชื่อมั่นตามเกณฑ์มาตรฐานวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน GPP ส่วนที่ 3 ความพึงพอใจ ความเชื่อมั่น การรับบริการร้านยา แบบสอบถามที่ใช้ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านและการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (Content validity) ทดสอบความเชื่อมั่น (Reliability) จากนั้นทำการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าเท่ากับ .96 เก็บรวบรวมเป็นรายบุคคลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive statistic) ใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ

ผลการวิจัย : ระดับความเชื่อมั่นในมาตรฐานวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (GPP) ภาพรวมการให้บริการอยู่ในระดับมากทุกหมวด ดังนี้ หมวดสถานที่ หมวดอุปกรณ์ หมวดบุคลากร หมวดการควบคุมคุณภาพยา และหมวดการให้บริการเภสัชกรรมในร้านยา 57.3%, 51.3%, 58.0%, 49.3% และ 48.0% ตามลำดับ และความพึงพอใจและความเชื่อมั่นต่อการให้บริการของร้านขายยา ข.ย.2 ที่ใช้บริการอยู่ที่ 58.0% และ53.3% ตามลำดับ

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้มาใช้บริการเป็นกลุ่มลูกค้าประจำและเป็นกลุ่มสูงอายุเพื่อความอยู่รอดในธุรกิจร้านขายยา ร้านขายยา ข.ย.2 จึงควรมีการยกระดับพัฒนาร้านให้เป็นร้านขายยาประเภท ข.ย.1 และควรมีการรวมกลุ่มกันเพื่อหาจุดเด่นทางการตลาดของร้านขายยา ข.ย.2 ร่วมกัน และควรมีการพัฒนาศักยภาพของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการประจำร้านขายยา ข.ย. 2

References

ดารณี ชิตทรงสวัสดิ์. รูปแบบการพัฒนายาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ (ข.ย.2) สู่มาตรฐานวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (GPP) จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2566;8(2):222-7.

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกำหนดเกี่ยวกับสถานที่ อุปกรณ์ และวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน ในสถานที่ขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จที่ไม่ใช่ยาอันตรายหรือยาควบคุมพิเศษ ตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2564. 2564. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 281 ง.

กลุ่มงานคุ้มครองและเภสัชสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. สรุปผลงานประจำปีงบประมาณ 2567. จังหวัดร้อยเอ็ด; 2567.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว [อิทเทอร์เน็ต] [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2567]. 2567 เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/ 2024/05/30519.

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เกณฑ์การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 5 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https://agecon-extens.agri.cmu.ac.th.

สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.). คู่มือการตรวจประเมินวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน สำหรับร้านขายยาแผนปัจจุบัน (ข.ย.1). พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.); 2558.

เจาะลึกระบบสุขภาพ. นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 7 มิถุนายน 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2024/01/29443

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-12 — Updated on 2024-08-12

Versions