การพัฒนาแนวปฏิบัติการทางพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤต โรงพยาบาลจังหาร
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติการพยาบาล, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, สัญญาณเตือนภาวะวิกฤตบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินแนวปฏิบัติการพยาบาล สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤต
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและการพัฒนา (Research and Development)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็น พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานที่หน่วยงานผู้ป่วยนอก หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน และหน่วยงานผู้ป่วยใน 25 คน และผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแรกรับจากแพทย์ว่ามีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด 30 คน ดำเนินการตั้งแต่เดือนกันยายน 2566 - เดือนมกราคม 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึก และแบบประเมินวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ % Differences
ผลการวิจัย : แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤต ประกอบด้วย 1) รับผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดเข้าสู่หอผู้ป่วยใน 2) พยาบาลวิชาชีพประเมินผู้ป่วยโดยใช้ MEWS 3) ให้คะแนนตามบันทึกและปฏิบัติการพยาบาลตามระดับคะแนน และ 4) ติดตามประเมินผลการใช้แบบบันทึก MEWS และผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่า ผู้ป่วย Sepsis ทั้ง 30 คน ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติ Sepsis Protocol เพิ่มขึ้น 80.00% ผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดทางคลินิกพบว่า ไม่พบผู้ป่วย Sepsis และ Septic shock เสียชีวิต อัตราการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อก่อนให้ยาปฏิชีวนะเพิ่มขึ้น (80.00%) การให้ยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมง หลังการวินิจฉัยเพิ่มขึ้น (10.00%) ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ 30ml/kg/hr.เพิ่มขึ้น (10.00%) อุบัติการณ์การวินิจฉัยโรคผิดพลาด (0.00%) และอัตราการเข้าถึงบริการ EMS เพิ่มขึ้น (25.00%) และพยาบาลมีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติทางการพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Mean = 2.50, SD.= 0.36)
สรุปและข้อเสนอแนะ : แนวปฏิบัติการพยาบาลที่ได้การศึกษาครั้งนี้มีประโยชน์ต่อผู้ให้บริการและต่อการดูแลผู้ป่วย ดังนั้นควรประยุกต์ใช้กับการพยาบาลผู้ป่วยโรคอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยที่ดีและมีคุณภาพเพิ่มขึ้น
References
Chanu R H. Objective sepsis surveillance using electronic clinical data.infection control& hospital epidemiology. 2016ว37(2):163-71.
กนก พิพัฒน์เวช. ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มี ภาวะ sepsis ในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์. วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและเวชบำบัดวิกฤต. 2551;29(1):135-44.
กระทรวงสาธารณสุข. รายงานทางสถิติ อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้งจาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/
ฑิตยา วาระนัง. ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตโรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงรายเวชสาร. 2562;11(1):1-8.
เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, อุไร พานิชยนุสรณ์, ลัดดาวัลย์ ทัดศรี, รุ่งนภา ป้องเกียรติชัย. Quality in Nursing and Learning Organization. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทย์การพิมพ์; 2555.
Kumar A, Safdar N, Kethireddy S, Chateau D. A survival benefit of combination antibiotic therapy for serious infections associated with sepsis and septic shock is contingent only on the risk of death: A meta-analytic/meta-regression study. Critical Care Medicine. 2010;38(8):1651-64.
กลุ่มกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในกรณีเกิดข้อพิพาทในการให้บริการสาธารณสุข. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2553.
โรงพยาบาลจังหาร. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2565. ร้อยเอ็ด; 2565.
Titler M G, Kleiber C, Steelman V J, Rakel B A, Budreau G, Evett L Q, et al. Christi The lowa model of evidence-based practice to promote quality care. Critical Care Nursing Clinics of North America. 2001;13:497-509.
ศากุล ช่างไม้. การประเมินแนวปฏิบัติเพื่อใช้ในการวิจัยและประเมินผล. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2549;12(1):15-9.
Polit M, Beck C. Nursing research: Generating assessing evidence for nursing practice (9th Edition). United States of America: Lippincott Williams & Wilkins; 2012.
ธนพร หนองพล. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพในโรงพยาบาลเกษตรวิสัย. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2567;5(1):576-85.
นนทรัตน์ จำเริญวงศ์, สุพรรณิการ์ ปิยะรักษ์, ชยธิดา ไชยวงษ์. การประเมินและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสารารณสุขภาคใต้. 2563;7(1):319-30.
วิไลวรรณ เนื่อง ณ สุวรรณ, จิราพร น้อมกุศล, รัตนา ทองแจ่ม, ธนชัย พนาพุฒิ. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2557;32(2):25-35.
ศุภา เพ็งเลา, กนกวรรณ สินลักษณทิพย์. การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตโรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2563:39(4):698-712.
จันทร์ตรี อรชร, ประทุม สร้อยวงค์, วราวรรณ อุดมความสุข. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการจัดการอาการท้องผูกในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2565;28(1):94-108.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-09-07 (4)
- 2024-09-07 (3)
- 2024-07-23 (2)
- 2024-07-23 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง