การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยภาวะขาดสุรา (Alcohol Withdrowal) ที่เข้ารับการรักษา ในตึกผู้ป่วยในโรงพยาบาลนาเชือก
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบและประเมินผลการดูแลรักษาผู้ป่วยภาวะขาดสุรา (Alcohol Withdrawal) ที่เข้ารับการรักษาในตึกผู้ป่วยในโรงพยาบาลนาเชือก
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and development research)
วัสดุและวิธีการศึกษา : กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ป่วย Alcohol Withdrawal จำนวน 57 คน และทีมสหวิชาชีพ จำนวน 30 คน ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม 2566 แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะวิจัยและระยะพัฒนา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย : 1) ระยะการวิจัย จากข้อมูลเชิงประจักษ์พบปัญหา ทั้งระบบบริการ ด้านผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ การใช้แบบประเมิน ความรุนแรงของภาวะถอนฤทธิ์สุรา การจัดการความเสี่ยง การบำบัดตามนัดกลับมาดื่มสุราในช่วงระยะ 3 เดือน ส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาก็เพิ่มมากขึ้น และระบบการดูแลผู้ป่วยภาวะขาดสุรา (Alcohol Withdrawal) ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ (1) การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อม (2) การประเมินอาการขาดสุราและเฝ้าระวัง (3) การใช้ยาลดอาการขาดสุรา (Sedation) (4) การให้ Haloperidol ในการรักษาเสริม (5) การรักษาตามอาการ (Symptomatic relief) (6) การให้ยาเสริมอื่น ๆ และ (7) การเตรียมความพร้อมให้ผู้ป่วยได้ฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตสังคม และ 2) ผลการประเมินระบบพบว่า มีการประเมินระดับความรุนแรงของภาวะถอนฤทธิ์สุรา 36 คน (86.67%) ความเสี่ยงปานกลาง (Moderate risk) 22 คน (48.89%) ระดับความรุนแรงของภาวะถอนฤทธิ์สุรา 36 คน (86.67%) ระดับความรุนแรงของภาวะถอนฤทธิ์สุรา ระดับติดสุรา Severe alcohol withdrawal 27 คน (60.00%) การจัดการความเสี่ยงในผู้ที่ดื่มสุราในโรงพยาบาล โดยให้คำปรึกษาแบบสั้นและส่งต่อเพื่อรับการประเมิน 19 คน (42.22%) ผู้ป่วยมาตามนัด 12 คน (70.59%) แต่กลับมาดื่มสุราในช่วงระยะ 3 เดือนที่ได้รับการบำบัดฟื้นฟู 12 คน (70.58%)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าระบบการดูแลผู้ป่วย Alcohol Withdrawal ที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้มีผลลัพธ์ด้านผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
References
World Health Organization. Global status report on alcohol and health 2018. Switzerland; 2018.
Babor T F, Higgins-Biddke J C, Saunder J B, Monteiro M G. The alcohol use disorders identification test: guideline for use in primary care. 2nd ed. Geneva: World Health Organization; 2001.
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. แผนงานการพัฒนาดัชนีภาระทางสุขภาพเพื่อการพัฒนานโยบาย. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทยพ.ศ. 2557. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2560.
พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์, นพพร ตันติรังสี, วรวรรณ จุทา, อธิป ตันอารีย์, ปทานนท์ ขวัญสนิท, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. ความชุกของโรคจิตเวชและปัญหาสุขภาพจิตของคนไทย: การสำรวจระบาดวิทยาสุขภาพจิตระดับชาติ ปี พ.ศ. 2556. สุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2560;25(1):1-19.
สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. ข้อเท็จจริงและตัวเลขเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พ.ศ. 2559-2561. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์ (1992); 2562.
สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี. แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะขาดสุรา. นนทบุรี: โรงพิมพ์ บริษัท เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์ จำกัด; 2564.
โรงพยาบาลนาเชือก.รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สาธารณสุขปี 2565. มหาสารคาม. งานยุทธศาสตร์ โรงพยาบาลนาเชือก; 2565.
American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorder: DSM-IV-TR (4th ed, text-revised). Washington DC; 2000.
Ballenger J C, Post R M. Kindling as a model for alcohol withdrawal syndromes. British Journal of Psychiatry. 1978;133:1-14.
เดชา ลลิตอนันต์พงศ์. การถอนสุรา : กลุ่มอาการ และการรักษา. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 2553;54(1):67-79.
อมราภรณ์ ฝ่างแก้ว, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. ปัจจัยทำนายภาวะถอนพิษสุราในผู้เสพติดสุรา. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 2560;31(2):95-108.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือครูที่ปรึกษาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ: ยูเรนัสอิมเมจกรุ๊ป; 2554.
สุดาดวง พัฒนสาร, มะลิวรรณ อังคณิตย์, อภิญญา วงศ์พิริยโยธา. การพัฒนาแนวบฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่มีภาวะถอนพิษสุราหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2564;39(3):71-80.
นิภาภัคร์ คงเกียรติพันธุ์. การพัฒนารูปแบบแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย Alcohol (Withdrawal ตึกผู้ป่วยในชาย โรงพยาบาลโกสุมพิสัย. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 2563;5(2):80-9.
คณะอนุกรรมการพิจารณาด้านการบำบัดรักษาฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. แนวปฏิบัติการคัดกรองและบำบัดรักษาฟื้นฟูสภาพผู้มีปัญหาการดื่มสุรา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนต์ดีไชน์; 2561.
Clinical Guideline for Nursing and Midwifery Practice in NSW. 2008. "Management of Alcohol Withdrawal Delirium. An Evidence-Based Practice Guideline". Arch Intern Med. 2008;164(13):1405-12.
Mary G. McKinley. Alcohol Withdrawal Syndrome Overlooked and Mismanaged? American Association of Critical–Care Nurses. 2005;25:40-8.
Mayo-Smith et al, Management of Alcohol Withdrawal Delirium. An Evidence-Based Practice Guideline". Arch Intern Med Jul 12. 2004;164(13):1405-12.
กนกกาญจน์ วิโรน์อุไรเรือง, อัมพร สีลากุล, วิมาลา เจริญชัย. การพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยแอลกอฮอล์ในระยะถอนฤทธิ์สุราแบบผู้ป่วยในโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. 2564;15(1):29-48.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-07-22 (3)
- 2024-07-22 (2)
- 2024-07-20 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง