This is an outdated version published on 2024-07-09. Read the most recent version.

ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมพฤติกรรมและการจัดการตนเองต่อความรู้ พฤติกรรมการควบคุมน้ำตาลในเลือด และ HbA1C ในกลุ่มผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ไม่มีโรคร่วม อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ทินเทวัญ พุทธลา โรงพยาบาลเชียงขวัญ

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมพฤติกรรม, การจัดการตนเอง, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรม และ HbA1C ของผู้สูงอายุที่ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวานและไม่มีโรคร่วม อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : กึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research)

วัสดุและวิธีวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและไม่มีโรคร่วม จำนวน 40 คน ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 ถึงเดือนเมษายน 2567ระยะเวลา 25 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ (KR20) เท่ากับ 0.69 ค่าความยากง่ายรายข้อตั้งแต่ 0.68 ถึง 0.85 และค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.80 แบบสอบถามพฤติกรรมมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.75 และแบบบันทึก HbA1C การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมด้วย Paired t-test

ผลการวิจัย : หลังการเข้าร่วมโปรแกรมฯ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้น 2.27 คะแนน (95%CI; 1.78,2.63); กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น 10.55 คะแนน (95%CI; 9.31,11.78) และกลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ย HbA1C น้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีค่าเฉลี่ย HbA1C ลดลง 0.67% (95%CI; 0.42, 0.92)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยมีค่า HbA1C อยู่ในเกณฑ์ปกติเพิ่มขึ้น ดังนั้นแพทย์ควรศึกษาและรับฟังข้อมูลผู้ป่วยถึงเหตุผลที่ผู้ป่วยมีค่าน้ำตาลในเลือดสูงไม่ได้ และควรเสริมพลังทุกๆ ครั้งที่ผู้ป่วยมาพบแพทย์

References

สมเกียรติ โพธิสัตย์ และคณะ. การทบทวนวรรณกรรม สถานการณ์ปัจจุบันและรูปแบบการบริการ ด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: อาร์ตควอลิไฟท์; 2557.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, วราภรณ์ เสถียรนพเก้า. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2563.

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. โรคเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: [เข้าถึงเมื่อ 1 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181256/

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี สมาคมต่อมไร้ท่อ แห่งประเทศไทย กรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. ปทุมธานี: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560.

Kanfer, Gaelick. Goals and self-regulation: Applications of theory to work settings. In M. L. Maehr & P. R. Pintrich (Eds.), Advances in Motivation and Achievement Greenwich, CT: JAI Press. 1991;7:1287-326

กรรณิการ์ แสนสุภา, นเรศ กันธะวงค์. การจัดการตนเอง: ทักษะในการพัฒนาตนเองอย่างยั่งยืน. วารสารศิลปศาสตร์ (วังนางเลิ้ง) มทร. พระนคร. 2564;1:25-37.

กนกวรรณ ด้วงกลัด, ปัญรัตน์ ลาภวงศ์วัฒนาผ, ณัฐกมล ชาญสาธิตพร. โปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2563;36(1):66-83.

กฤตกร หมั่นสระเกษ, ทัศนีย์ รวิวรกุล, สุนีย์ ละกำปั่น. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 2562;25(2):87-103.

อุดมโชค อินทรโชติ. ผลของการสนับสนุนการจัดการตนเองแบบมีส่วนร่วมในผู้ป่วยเบาหวาน ตำบลนาฝาย อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ. ชัยภูมิเวชสาร. 2563;40(1):137-47.

Lee S W H, Chan C K Y, Chua S S, Chaiyakunapruk N. Comparative effectiveness of telemedicine strategies on type 2 diabetes management: A systematic review and network meta-analysis. Meta-Analysis. 2017;7(1):12680.

Zhai Y K, Zhu W, Cai Y, Sun D, Zhao J. Clinical- and Cost-effectiveness of Telemedicine in Type 2 Diabetes Mellitus: A Systematic Review and Meta-analysis. Medicine (Baltimore). 2014;93(28):e312.

ละมัย หงษา, ธิดารัตน์ อุทก. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการจัดการตนเองผ่านบริการพยาบาลทางไกล ในผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านที่เป็นโรคเบาหวาน. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2566;4(3):256-67.

เนตรนภา บุญธนาพิศาน. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองโดยใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลสะสมในเลือด ของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้. [ปริญญานิพนธ์]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

วิมลรัตน์ บุญเสถียร. การจัดการตนเองในผู้ที่เป็นเบาหวาน: กระบวนการของแต่ละบุคคล. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล. 2563;36(1):66-83.

สุจิตรา บุญประสิทธิ์, สิริลักษณ์ โสมานุสรณ์, ชมนาด สุ่มเงิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. 2559;32(1):44-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-09

Versions