การพัฒนาระบบการดูแลเด็กสมาธิสั้นแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน ของโรงพยาบาลอาจสามารถ

ผู้แต่ง

  • จิดาภา แสงกล้า โรงพยาบาลอาจสามารถ
  • รัชนีกร ไข่หิน โรงพยาบาลอาจสามารถ
  • มานิตย์ ชาชิโย โรงเรียนอนุบาลเมืองอาจสามารถ
  • ชาญณรงค์ ชัยอุดมสม สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • กรรณิการ์ โชคชาตรี องค์การบริหารส่วนตำบลดู่
  • ประนอม นนทฤทธิ์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านลิ้นฟ้า

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนาระบบและประเมินระบบการดูแลเด็กสมาธิสั้นแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนของโรงพยาบาลอาจสามารถ

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบลงมือปฏิบัติร่วมกัน (Mutual collaborative action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วยผู้ใช้บริการ ผู้ให้บริการ และผู้รับผิดชอบระบบดูแลผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้นในเครือข่ายบริการ ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2566ระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์สถานการณ์  พัฒนาระบบ และประเมินผลระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรม SNAP-IV (Short Form) แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลและส่งต่อผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้น และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย : 1) พบปัญหาทั้ง Pre-hospital  In-Hospital และ Referral system 2) ระบบการดูแลเด็กสมาธิสั้นแบบมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชน ประกอบด้วย (1) วิเคราะห์และศึกษาสภาพปัญหา (2) พัฒนาศักยภาพเครื่องข่ายด้านความรู้และปรับทัศนคติของผู้เกี่ยวข้อง (3) คัดกรองและค้นหาในชุมขน และโรงเรียน (4) ส่งต่อโรงพยาบาลชุมชนในรายที่ไม่ซับซ้อนส่งพบแพทย์ Coaching โดยจิตแพทย์เด็กและให้รักษา แต่ในรายที่ซับซ้อนส่งต่อโรงพยาบาลร้อยเอ็ด (5) คืนข้อมูล เพื่อติดตาม และดูแลร่วมกัน และ (6) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดย After action review หลังดำเนินการแต่ละวงรอบ และ 3) ผลการประเมินระบบฯ พบว่า ความชุกของโรคสมาธิสั้น ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2564-2566 พบว่า คิดเป็น 9.11% (282/3,094), 9.66% (302/3,125), 11.43% (306/2,678) และพบอุบัติการณ์การก่อเหตุความรุนแรงลดลง คิดเป็น 70.0%, 50.0% และ 40.0% ตามลำดับ                                                 

สรุปและข้อเสนอแนะ : จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าระบบการดูแลเด็กสมาธิสั้นสามารถลดปัญหาพฤติกรรมในเด็กสมาธิสั้นได้ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทต่อไป

References

Martin A, Volkmar F R, Lewis M. Lewis's Child and Adolescent Psychiatry: A Comprehensive Textbook. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins; 2007.

Wiener J M. Textbook of Child and Adolescent Psychiatry. 2nd.ed. Washington, DC: American Psychiatric Pres; 2007.

ภาสกร คุ้มศิริ. ความสัมพันธ์ระหว่างการตีตราบาปทางสังคม เจตคติ และการสนับสนุนทางสังคมในเด็กสมาธิสั้น [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุพาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์. สถิติผู้รับบริการผู้ป่วยนอกเปรียบเทียบปีงบประมาณ 2556-2559 [Internet]. 2017 [cited 2023 Mar 2]. Available from: http://www.smartteen.net/main/admin/download/-745-1476695416.pdf

โรงพยาบาลอาจสามารถ. ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์. กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลอาสามารถ; 2566.

จิดาภา แสงกล้า. รายงานการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการตีตราบาปทางสังคมกับเจตคติ และการสนับสนุนทางสังคมในเด็กสมาธิสั้นในเครือข่ายสุขภาพอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลอาจสามารถ; 2564.

Danforth J S, Anderson L P, Barkley R A, Stokes T F. Observations of interactions between Parents and their hyperactive children: Research and clinical implications. Clinical Psychology Review. 1991;11(6):703-27.

กนกวรรณ โคตรพัฒน์. ผลของโปรแกรมศิลปะบำบัดตามกระบวนการสร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดทางการพยาบาลต่อภาวะสมาธิสั้นของเด็กโรคสมาธิสั้น [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2562.

ติชิลา แสงแก้ว, อรวรรณ หนูแก้ว, วันดี สุทธรังสี. ผลของโปรแกรมการจัดการพฤติกรรมตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กชายสมาธิสั้น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2560;ฉบับพิเศษ(4):214-29.

สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นภาคใต้. คู่มือแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยเด็กสมาธิสั้น [อินเทอร์เน็ต] 2562. [เข้าถึงเมื่อ 29 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sicam.go.th.

สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.

วาริศา สังข์ทอง. การพยาบาลเด็กสมาธิสั้นที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวในช่วงก่อนวัยเรียน: กรณีศึกษา 2 ราย. กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี; 2566.

Theule J, Wiener J, Tannock R, Jenkins J M. Parenting stress in families of children with ADHD: A mela-analysis. Journal of Emotional and Behavioral Disorders. 2013;21(1):3-17.

Narkunam N, Hashim A H, Sachdev M K, Pillai S K, Ng C G. Stress among parents of children with attention deficit hyperactivity disorder, a Malaysian experience. Asia-Pacific Psychiatry. 2014;6(2):207-16.

Cussen A, Sciberras E, Ukoumunne O C, Efron D. Relationship between symptoms of attention-defcit/hyperactivity disorder and family functioning: a community-based study. Eur J Paediatr. 2012;171:271-80.

Sethi S, Gandhi R, Anand V. Study of Level of Stress in the Parents of Children with Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder. Journal of Indian Association for Child and Adolescent Mental Health. 2012;8(2):25-37.

กานต์ตริน ศรีสุวรรณ, สมจิตต์ ลุประสงค์, สงวน ธานี, เกษร สายธนู, ก้องกฤษฎากรณ์ ชนแดง. ผลของโปรแกรมอบรมผู้ดูแลร่วมกับการสะท้อนคิดต่อทักษะการจัดการกับความเครียดของผู้ดูแลเด็กสมาธิสั้น.วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2565;36(2):49-61.

ชัยวัฒน์ ดาราสิชฌน์. การพัฒนาระบบการดูแลเด็กสมาธิสั้นแบบบูรณาการโดยผู้ปกครอง บุคลากรทางการแพทย์ และครูอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2562;7(1):78-83.

กัลยา สุวรรณสิงห์, อรวรรณ หนูแก้ว, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, กัลยา โหดทีม. ผลของโปรแกรมปรับพฤติกรรมเด็กสมาธิสั้นสำหรับผู้ปกครองต่อปัญหาพฤติกรรมในเด็กสมาธิสั้น. 2563;34(3):37-51.

Boudreau A, Mah J W T. Predicting Use of Medications for Children with ADHD: The Contribution of Parent Social Cognitions. Journal of the Canadian Academy of Child And Adolescent Psychiatry. 2020;29(1):26-32.

สุพร อภินันทเวช. การรักษาโรคสมาธิสั้นด้วยยา และจิตสังคมบำบัดในประเทศไทย. เวชบันทึกศิริราช. 2559;9(3):175-81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-24 — Updated on 2024-06-27

Versions