การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตและเสี่ยงก่อความรุนแรง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ปิยกัณญา แก่นวิชา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
  • สุณี อาวรณ์ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด
  • วิไลลักษณ์ ดวงบุปผา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

Care model for substance-induced, Psychosis on serious mental Illness risk to violence

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และประเมินผลรูปแบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตและเสี่ยงก่อความรุนแรง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 

รูปแบบการวิจัย : เป็นวิจัยแบบเชิงปฏิบัติการ (Action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็น 1) ผู้ใช้บริการ ได้แก่ ผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตและเสี่ยงก่อความรุนแรง และญาติผู้ดูแลในครอบครัวในระยะศึกษาสถานการณ์ 60 คน ระยะพัฒนารูปแบบ 20 คน  2) บุคลากรผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง 10 คน และ 3) ผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินงานและญาติผู้ดูแลในครอบครัว จำนวน 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล แบบประเมิน และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content analysis)

ผลการวิจัย : 1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีการรับรู้สถานการณ์ปัญหาตรงกัน มีความตระหนักและให้ความสำคัญกับการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตและมีภาวะเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชนหรือก่อความรุนแรงซ้ำ แต่ยังขาดแนวทางการดูแล การส่งต่อ และการฟื้นฟูที่ชัดเจนและเป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกัน 2) รูปแบบการดูแลผู้ป่วยยาเสพติดฯ ประกอบด้วย 3 ขั้นคือ ขั้นคัดกรองที่ศูนย์คัดกรอง รพ.สต./โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ขั้นส่งต่อดูแลรักษาโดยศูนย์คัดกรองยาเสพติด และขั้นบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ และ 3) การประเมินการหยุดเสพต่อเนื่อง 3 เดือนหลังการบำบัดฟื้นฟู พบว่า ผลการตรวจปัสสาวะเป็นบวก (Positive) 15 คน (50.00%) และผลเป็นลบ (Negative) 50 คน (50.00%) ผู้ป่วยยาเสพติดที่มีอาการทางจิตและเสี่ยงก่อความรุนแรงมีแนวโน้มลดลงจากปี พ.ศ.2564 –2566 เป็น 110%, 21% และ 3% รายตามลำดับ

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลลัพธ์จากการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยยาเสพติดได้รับการดูแลและติดตามอย่างต่อเนื่อง

References

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด แผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2565. กระทรวงยุติธรรม; 2565.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ.2563. กรุงเทพฯ: กองกฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด; 2563.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด. สรุปสถานการณ์ผู้ป่วยจิตเวช.ร้อยเอ็ด: กลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด; 2565.

สุกุมา แสงเตือนฉาย, สำเนา นิลบรรพ์, วัชรี มีศิลป์. คู่มือการบำบัดความคิดและพฤติกรรมในผู้ติดยาและสารเสพติดระยะฟื้นฟูสมรรถภาพ. กรุงเทพฯ: สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี; 2563.

อับดุลคอลิก อัรรอฮีมีย์, สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์, จิรัชยา เจียวกิ๊ก, ฐานิดาภัทฐ์ แสงทอง. รูปแบบการป้องกันตนเองในการใช้สารเสพติดซ้ำของผู้ติดสารเสพติดในพื้นที่จังหวัดปัตตานี : กรณีศึกษา ผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดในศูนย์บำบัดบ้านแสนสุข และสถาบันปอเนาะพัฒนาเยาวชน. ศูนย์ศึกษาปัญหายาเสพติด (ศศก.); 2564.

รัศมี ชุดพิมาย. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(3):851-67.

กฤตภาส ไทยวงษ์. การพัฒนาแนวทางการป้องกันกระทำผิดซ้ำในผู้ป่วยนิติจิตเวช [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2565.

นีรนุช โชติวรางกูล. การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรู้ร่วมกับการบำบัดระบบเมทริกซ์โปรแกรมในผู้ป่วยยาเสพติดเพื่อป้องกันการเสพซ้ำ.วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3. 2564;18(3):203-24.

สันติ อุทรังษ์, ไกรทอง ไชยมัชชิม, สายทิพย์ สงัดเงียบ, ธัญญลักษณ์ ไชยสุขมูลเรอรุพ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันผู้ป่วยจิตเวชอาการกำเริบรุนแรงช้ำในชุมชนตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2566;32(5):850-63.

วรินทร ทิพย์คำ. บทบาทของคณะกรรมการหมู่บ้านกับการมีส่วนร่วมในการบำบัดผู้ติดยาเสพติด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (CBTX): กรณีศึกษาอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2564.

กนกลักษณ์ ศิริรุ่งวัฒนากุล. ประสิทธิผลและปัจจัยที่มีผลต่อการบำบัดรักษาผู้ติดยาและสารเสพติดโดยใช้รูปแบบการบำบัดความคิดและพฤติกรรมแบบประยุกต์ของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2562;16(1):23-33.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-18