การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลหนองพอก ปี 2566
คำสำคัญ:
นิเทศทางคลินิก, ติดเชื้อในกระแสโลหิตบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ และพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลหนองพอก
รูปแบบการวิจัย : วิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) แบบทำงานร่วมกัน (Mutual collaborative approach)
วัสดุและวิธีการวิจัย : ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลหนองพอก คัดเลือกตามคุณสมบัติคัดเข้าและคัดออก แบ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพผู้นิเทศ 5 คน พยาบาลวิชาชีพผู้รับนิเทศ 26 คน ดำเนินการ 3 ระยะ ดังนี้ 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ ศึกษารูปแบบการนิเทศทางคลินิก ศึกษาสถานการณ์การพยาบาลผู้ป่วยกลุ่มติดเชื้อในกระแสโลหิต และศึกษาความต้องการการพัฒนาการนิเทศทางคลินิก 2) ระยะดำเนินการพัฒนา นำสถานการณ์ที่ผ่านการวิเคราะห์นำเสนอในที่ประชุม พัฒนาโดยใช้วงรอบการวิจัยเชิงปฏิบัติการดำเนินการวางแผน ลงมือปฏิบัติ สังเกตและสะท้อนการปฏิบัติร่วมกัน 3) ระยะประเมินผลระหว่างดำเนินการ และประเมินผลโดยรวมเมื่อสิ้นสุดการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปและแนวคำถามหลักที่ใช้ในการสัมภาษณ์ แบบสังเกตการณ์การปฏิบัติของพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คิดเปอร์เซ็นต์ส่วนต่าง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย : 1) สถานการณ์การนิเทศทางคลินิกกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลหนองพอก พบว่า ด้านรูปแบบการนิเทศแนวทางการนิเทศแตกต่างกันในแต่ละแผนกตามประสบการณ์และความเข้าใจของผู้นิเทศ ด้านการปฏิบัติการพยาบาลพบการประเมินและการดูแลที่ไม่เหมาะสมกับผู้ป่วยเฉพาะรายในแต่ละระยะของการดำเนินโรค พยาบาลขาดความมั่นใจในการปฏิบัติการพยาบาล และด้านความต้องการการพัฒนาพบว่า ต้องการให้มีการกำหนดรูปแบบการนิเทศทางคลินิกที่ชัดเจนเป็นไปในแนวทางเดียวกัน 2) รูปแบบการนิเทศทางคลินิกกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ (1) กำหนดหัวข้อการนิเทศและนัดหมายการนิเทศ (2) เลือกแนวทางการนิเทศทางคลินิกร่วมกันระหว่างผู้นิเทศและผู้รับนิเทศ (3) ทำการนิเทศทางคลินิกตามวัน เวลาและแนวทางที่ตกลงร่วมกัน (4) ผู้นิเทศบันทึกผลการนิเทศทางคลินิกและนำเสนอผู้บังคับบัญชา และหลังการใช้รูปแบบการนิเทศทางคลิกที่พัฒนาขึ้นเปอร์เซ็นต์ส่วนต่างการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยกลุ่มติดเชื้อในกระแสโลหิตในแต่ละระยะการดำเนินโรค พบว่า ระยะ SIRS เท่ากับ 1.79, ระยะ Sepsis เท่ากับ 3.24 และระย Severe sepsis/Septic shock เท่ากับ 1.28 แสดงให้เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติการพยาบาลในทางที่ดีขึ้น
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ลดช่องว่างระหว่างผู้นิเทศและผู้รับนิเทศ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้รูปแบบใหม่มีแนวทางการนิเทศที่ชัดเจน และนำรูปแบบนี้ไปขยายผลในการนิเทศทางคลินิกกลุ่มโรคสำคัญอื่นต่อไป
References
Dellinger R P, Levy M M, Rhodes A, Annane D, Gerlach H, Opal S M, et al. Surviving Sepsis Campaign: International guidelines for management of severe sepsis and septic shock. Crit Care Med. 2013;41(2):580–637.
สมาคมเวชบําบัดวิกฤต. การดูแลรักษาผู้ป่วย Severe Sepsis และ Septic Shock (ฉบับร่าง) แนวทางเวชปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สมาคมเวชบําบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย; 2558.
วิตมอร์, จอห์น. โค้ชชิ่งกลยุทธ์การโค้ชเพื่อพิชิตเป้าหมายอย่างมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: ภาพพิมพ์; 2010.
สมพร รอดจินดา. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด หอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลน่าน [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2562.
ภาพิมล โกมล. คุณภาพการจัดการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลสิงห์บุรี. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 2560;6(2):32-43.
ศิริวรรณ เมืองประเสริฐ, อุษณีย์ คงคากุล, นริสรา สะมาแอ, ทัศณียา ไข้บวช, จุฑามาศ เอี่ยมวุฒิวัฒนา, สรวงสุดา เจริญวงศ์. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2561;10(2):13-24.
รัชนีวรรณ คูตระกูล, พิชญพันธุ์ จันทระ, พัชรี ยิ้มแย้ม, สุรีย์พร ภุมภาคา, รัชนี นามจันทรา. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก. 2562;30(2):193–209.
อนิรุทธ์ วังไชย. ผลการนิเทศทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในโรงพยาบาลสังคม. งานการพยาบาลผู้ป่วยใน กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลสังคม; 2565.
สุวรรณา นาที. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกสาขาการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉินแบบมีส่วนร่วมกลุ่มงานการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2565;30(2);292-304.
อรอุมา สารีพร. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาลของพยาบาลผ่าตัดฉุกเฉินนอกเวลาราชการ แผนกกการผ่าตัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2565;25(3);58–69.
อรอนงค์ ธาราไพศาลสุข. ผลของการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นที่โรงพยาบาลเอกชน [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2561.
รุ่งอรุณ บุตรศรี. ผลของการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ของผู้บริการการพยาบาลระดับต้นต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 2563;26(2):84-96.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง