การพัฒนาศักยภาพชุมชนในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นในพื้นที่อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ปารณัท พรมศิริ โรงพยาบาลเสลภูมิ

คำสำคัญ:

การช่วยฟื้นคืนชีพ, การพัฒนาศักยภาพชุมชน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ :  เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นในพื้นที่อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การศึกษาแบบวิจัยและพัฒนา (Research and Development)

วัสดุและวิธีการวิจัย : การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะดำเนินการ และระยะประเมินผล กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 10 คน แกนนำ จิตอาสา จำนวน 60 คน และประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ 3 ตำบล จำนวน 276 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired sample t-test

ผลการวิจัย : ภายหลังการอบรมแกนนำจิตอาสา (ครู ก) มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และมีการปฏิบัติได้ตามมาตรฐาน เรื่อง ความเร็วในการกดหน้าอกและการกดหน้าอกต่อการปล่อย และการใช้เครื่อง AED ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 78.8 และ 75.7 ตามลำดับ และภายหลังการอบรม ครู ข มีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และมีการปฏิบัติได้ตามมาตรฐาน และการใช้เครื่อง AED ถูกต้อง คิดเป็นร้อยละ 63.8 และ 63.8 ตามลำดับ

สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรพัฒนาศักยภาพในระบบปฏิบัติการฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและแพร่หลายเพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจในระบบการแพทย์ฉุกเฉินและประชาชนมีอัตรารอดชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาล

References

American Heart Association. About Cardiac Arrest [Internet]. 2020 [cited 2023 Nov 20]. Available from https://bit.ly/2PqcFxK.

โรงพยาบาลเสลภูมิ. สถิติ HDC. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลเสลภูมิ; 2566.

บวร วิทยชำนาญกุล, มาริสา ทองนอก, ธนพรรณ วงษา, ประภา บุตรต๊ะ, หทัยกาญจน์ การกะสัง, ปริญญาลักษณ์ ไตรสัตยกุล, และคนอื่นๆ. โครงการสร้างพื้นฐานการช่วยฟื้นคืนชีพให้ฝังรากลึกในระดับ ประชาชน. เชียงใหม่: หน่วยบริหารจัดการและส่งมอบผลลัพธ์ (ODU) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2564.

ธีราภรณ์ ฉายาวุฒิพงศ์. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการฟื้นคืนชีพของผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นนอก โรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพ ณ ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 2565;30(1):58-67.

ปพิชญา พิเชษฐบุญเกียรติ. ปัจจัยที่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. เชียงรายเวชสาร. 2564;13(1):43-57.

พรพิไล นิยมถิ่น. การพัฒนารูปแบบการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงสำหรับทีมกู้ชีพโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จังหวัดเลย. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2562;22(3):22-30.

พรรณนารัฐ อร่ามเรือง, กรองกาญจน์ สุธรรม, บวร วิทยชำนาญกุล, วีรพล แก้วแปงจันทร์, วิพุธ เล้าสุขศรี, รัดเกล้า สายหร่าย. และคนอื่นๆ. การรอดชีวิตของผู้บาดเจ็บหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยเหลือดูแลรักษาโดยระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2563;14(1):43-50.

ประภา บุตรต๊ะ. โครงการขยายรูปแบบพัฒนาศักยภาพชุมชนในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นในพื้นที่ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: บริษัทสยามพิมพ์นานา จำกัด; 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-13