ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • ศุภมาส อรชร โรงพยาบาลหนองหญ้าปล้อง

คำสำคัญ:

ปัญหาสุขภาพจิต, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, แรงสนับสนุนทางสังคม, ทักษะการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานและปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพจิต และป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในอำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี           

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study)

วัสดุและวิธีการวิจัย : อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 175 คนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด วิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และสมการถดถอยพหุคูณ กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

ผลการวิจัย : (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 67.8 (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (p< .001) ได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคม (Beta=.509) และทักษะการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพด้านอารมณ์ (Beta=.358) โดยสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชนได้ คิดเป็นร้อยละ 64.5 (R2=.645)

สรุปและข้อเสนอแนะ : หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน โดยส่งเสริมให้ได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม เช่น ข้อมูลข่าวสาร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน และพัฒนาให้มีทักษะการสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพด้านอารมณ์แก่ประชาชนต่อไป

References

กรมสุขภาพจิต. ข่าวหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=31458

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. เปิดแนวโน้ม 5 อนาคตสุขภาพจิตคนไทย จุดพลิกผันแห่งความสุขที่ท้าทายในอีก 10 ปีข้างหน้า [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.mhesi.go.th/index.php/content_page/item/9381-660119interesting-2.html

กรมสุขภาพจิต. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2565. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2566.

กรมสุขภาพจิต. บทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชี่ยวชาญ สาขาสุขภาพจิตชุมชน สอดส่องมองหา ใส่ใจรับฟัง ส่งต่อเชื่อมโยง. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; ม.ป.ป.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. สรุปผลการดำเนินงานด้านสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2566. เอกสารอัดสำเนา; 2566.

กรมสุขภาพจิต. รายงานการวิจัยองค์ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพจิต. [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/faq/mentalhealth.asp#:~:text=%E0%

Herzberg F. The Motivation to Work (2nd ed). New York: John Wiley and Sons; 1959.

Krejcie R V, Morgan D W. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas 1970;30(3):607–610.

Bloom B S. Human characteristics and school learning. New York: Mc Graw-Hill; 1976.

อัจศรา ประเสริฐสิน. เครื่องมือการวิจัยทางการศึกษาและสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2563.

Best J W, Kahn J V. Research in education. 3rd ed. New Jersey: Prentice hall; 1986.

บุญชัช เมฆแก้ว. รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาชุดช่วยวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์หาค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ (KR-20). พังงา: วิทยาลัยชุมชนพังงา; 2562.

Cronbach Lee J. Educational Psychology. New York: Harcourt Brace Jevanovich; 1977.

ประคองจิตร ขุลีเทาว์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานสุขภาพจิตชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ [วิทยานิพนธ์]. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2557.

พัชรี รอดสวัสดิ์, เกษร สำเภาทอง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพจิตในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขเขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2559;30(3):92–108.

ศิริลักษณ์ ช่วยดี, โสภิณ แสงอ่อน, พัชรินทร์ นินทจันทร์. การศึกษาการปฏิบัติงานด้าน จิตเวชและสุขภาพจิตชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2560;31(1):41–59.

House R J. A path goal theory of leader effectiveness. Administrative Science Quarterly 1971;16(2):321–8.

Pender N J. Health Promotion in Nursing Practice. New York: Appleton Century-Crofts Norwalk; 1987.

นิชนันท์ สุวรรณกูฏ. ปัจจัยทำนายสมรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 2564;23(2):71–84.

พิมลกานต์ ติ๊บบุญศรี, วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2566;9(3):113–24.

นาตยา สุดจ้อย. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย. เอกสารรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์; 2566.

Rimal R N, Lapinski M K. Why health communication is important in public health [อินเทอร์เน็ต]. 2552 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.who.int/bulletin/volumes/87/4/08-056713/en/

กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย. การสื่อสารสุขภาพดิจิทัล (Digital Health Communication). [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://touchpoint.in.th/digital-health-communication/

สาหร่าย จันสา. อิทธิพลของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและการทำงานเป็นทีมต่อการจัดการด้านความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลทหารบก. 2560;18(ฉบับพิเศษ):299–307.

เปรมฤดี ศรีวิชัย, พินทอง ปินใจ. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลหัวหน้าเวร โรงพยาบาลทั่วไป จังหวัดพะเยา. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560;35(3):155–64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-02