การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ประดิษฐ ศรีแสน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพนสวรรค์
  • รัชนี ศรีแสน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพนสวรรค์
  • แสงเดือน ศรีวรสาร โรงพยาบาลโพนสวรรค์
  • ธัชวิทย์ วงศ์เข็มมา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโพนสวรรค์

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช, ผู้ป่วยจิตเวช, การพัฒนาคุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : 1) เพื่อพัฒนารูปแบบ และประเมินผลรูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

รูปแบบการวิจัย : วิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย :  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ 1) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอโพนสวรรค์ 21 คน 2) คณะอนุกรรมการดูแลผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 35 คน 3) ผู้ป่วยจิตเวช ผู้ดูแลและญาติ จำนวน  621 คน ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ 2) พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช โดยกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 3) ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ดำเนินการในพื้นที่อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบประเมินผลการดำเนินงานตามกระบวนการ UCCARE วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาโดย สถิติ t - test (One sample) และ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่าย

ผลการวิจัย : มีระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช มีเกณฑ์การคัดกรองผู้ป่วยจิตเวชและยาเสพติดที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง มีแนวทางปฏิบัติต่อผู้ที่มีอาการทางจิต และกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน มีระบบการเชื่อมข้อมูล มีการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวช หลังการพัฒนาระบบ พบว่า คะแนนค่าเฉลี่ยบทบาทคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ รายด้านและโดยรวม สูงกว่าค่าเกณฑ์ที่คาดหวังทุกด้าน (p<.05) คะแนนค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ป่วย ผู้ดูแลและญาติ รายด้านและโดยรวม สูงกว่าค่าเกณฑ์ที่คาดหวังทุกด้าน (p<.05) บทบาทคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตรายด้านและโดยรวม มีความสัมพันธ์กับผลการดำเนินงานตามกระบวนการ UCCARE (p<.01)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรส่งเสริมให้มีการใช้แนวทางในการดูแลการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่อง

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี กรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2565. กรุงเทพฯ; 2565.

พรทิพย์ วชิรดิลก. ระบบการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินจิตคลุ้มคลั่งแบบไร้รอยต่อและบูรณาการในประเทศไทย: การนำไปใช้และการติดตามประเมินผล ในพื้นที่นำร่อง. รายงานวิจัย. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ; 2564.

ศิริลักษณ์ ใจช่วง. ถอดบทเรียนการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิต (พชอ.) จังหวัดนครพนม. เอกสารประกอบการประชุม. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม; 2562.

เขตสุขภาพที่ 8. เอกสารประกอบการประชุมพัฒนาศักยภาพบุคลากรดำเนินงานพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอในเขตสุขภาพที่ 8; 2560.

รัศมี ชุดพิมาย. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชน ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 256;16(3):851-67.

อนุพงศ์ ชาวคอนไชย, กัลยามาศ แจ่มกลาง. การบริหารจัดการเชิงระบบสู่การพัฒนาบริการสุขภาพจิตแบบ “ใกล้บ้าน ใกล้ใจในชุมชน” อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2565;16(3):784-98.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-29