รูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลขี้เหล็ก อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
การเพิ่มประสิทธิภาพ, การบริหารจัดการ, กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และประเมินผลลัพธ์รูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลขี้เหล็ก อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบลงมือปฏิบัติร่วมกัน (Mutual collaborative action research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นเครือข่ายภาคท้องถิ่น จำนวน 48 คน เครือข่ายภาควิชาการ จำนวน 2 คน และผู้ร่วมร่วมวิจัยจากเครือข่ายภาคประชาชน จำนวน 33 คน การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะการวิเคราะห์สถานการณ์ ระยะการพัฒนา และระยะการประเมินผล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบบันทึก และแบบสังเกต ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2565 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย : 1) การศึกษาสถานการณ์ปัญหา พบว่า พบปัญหาทั้งด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุ และด้านการจัดการ ตามลำดับ 2) รูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพฯ ประกอบด้วยขั้นตอนการศึกษาบริบทของพื้นที่ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดเวทีประชุมประชาคม การอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ การศึกษาดูงาน การประเมินตนเอง การนิเทศ ติดตาม สนับสนุน การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานก่อนและหลังการพัฒนา และ 3) คณะกรรมการ อนุกรรมการกองทุนและตัวแทนกลุ่มต่างๆ ของกองทุนหลักประกันสุขภาพมีระดับความรู้เกี่ยวกับกองทุนและการบริหารจัดการกองทุน โดยรวมอยู่ในระดับดี การมีส่วนร่วมและคะแนนเฉลี่ยการดำเนินงาน โดยรวม เพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนา
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ การมีส่วนร่วม และการดำเนินงานโดยรวมเพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนา
References
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดแสงจันทร์การพิมพ์; 2562.
พงษ์พิพัฒน์ ชุ่มสีดา. ประสิทธิผลของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ของสาธารณสุขอำเภอในจังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559.
อรจิตต์ บำรุงสกุลสวัสดิ์ และคณะ. คู่มือระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มี ภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ (long Term Care) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2559 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.); 2564 [เข้าถึงเมื่อ 28 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dop.go.th/download/knowtedge/th1552463947-147O.pdf.
สุรชัย เทียมพูล. ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพการบริหารกองทุนตำบลหนองม่วง อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว [วิทยานิพนธ์]. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์; 2560.
ณิชนันท์ งามน้อย, พีระพล รัตนะ. ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2559:10:96-105.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์.เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับวิจัย.กรุงเทพฯ: จามจุรี; 2549.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์; 2546.
นิกร พรมท้าว, สุวรัฐ แลสันกลาง. การประเมินการบริหารและจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเวียง อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์.2562;2(2):1-14.
ปวรรณรัตน์ หอมหวน, เรือน สมณะ, อัจฉรา จินวงษ์. การพัฒนาการจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น โดยใช้หลักการบริหารอย่างมีธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบลตาลเลียน อำเภอกุดจับ จังหวัด อุดรธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 2559;6(2):114-22.
สามารถ พันธ์สระคู, วรพจน์ พรหมสัตยพรต, กฤษณ์ ขุนลึก. รูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลน้ำโมงอำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 2560;36(2):223-34.
รัชนี อนุตรวิชา. การประเมินผลการจัดสรรเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดนครราชสีมา. 2564;7:176-93.
ธนศักดิ์ ธงศรี, ภัทรภร เจริญบุตร, เผ่าไทย วงษ์เหลา. รูปแบบการพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลโคกก่อง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 2561;7(2):46-57.
พระมหาฉัตร กตสาโร (มาสวัสดิ์). ประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลโคกพระเจดีย์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. [สารนิพนธ์]. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย; 2561.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง