การพัฒนารูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีน งานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลโซ่พิสัย อำเภอโซ่พิสัย จังหวัดบึงกาฬ
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, รูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดที่มารดาใช้สารเมทแอมเฟตามีนในห้องคลอด, ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสภาพการณ์ พัฒนารูปแบบและศึกษาผลการพัฒนารูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีน งานการพยาบาลผู้คลอด โรงพยาบาลโซ่พิสัย
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)
วัสดุและวิธีการวิจัย: กลุ่มเป้าหมายหลักเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 8 คน ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพงานการพยาบาลผู้คลอด จำนวน 5 คน พยาบาลวิชาชีพที่มาเวียนขึ้นปฏิบัติงานที่งานการพยาบาล ผู้คลอด จำนวน 3 คน และทารกแรกเกิดที่มารดาใช้สารเมทแอมเฟตามีนและปัสสาวะได้ผลบวก มาคลอดที่โรงพยาบาลโซ่พิสัย จำนวน 7 คน การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา 2) พัฒนารูปแบบการดูแล 3) ทดลองการใช้รูปแบบ 4) ประเมินผล ดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม 2567 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีน, แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการประเมินทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนและแบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เปรียบเทียบความแตกต่างความรู้เรื่องการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนก่อนและหลังการพัฒนาฯ โดยใช้สถิติ T-test dependent (p<.05)
ผลการวิจัย: 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์พบว่า ปัญหาการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนทั้งด้านการนโยบาย ระบบงาน บุคลากรพยาบาลและด้านความต้องการใช้รูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาใช้สารเมทแอมเฟตามีน 2) รูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ (1) ซักประวัติเกี่ยวกับยาและการใช้สารเสพติด (2) มีประวัติเสี่ยง (3) ตรวจปัสสาวะเพื่อหาสารเสพติดและคัดกรอง โดยใช้ Immunochomatography (IMC) (4) ส่งต่อคลินิกยาเสพติด (5) แพทย์ตรวจเฝ้าระวัง (6) ปรึกษากุมารแพทย์เพื่อเฝ้าระวัง 3) หลังใช้รูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนพบว่า ทารกแรกเกิดไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง ผู้ปฏิบัติงานมีการปฏิบัติตามรูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนได้ (95.0%) มีความรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก ดังนั้น รูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ประเมินภาวะแทรกซ้อนทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีนได้ถูกต้อง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับนำรูปแบบไปใช้ในหน่วยงานอื่นที่มีบริบท/สถานการณ์ปัญหาที่คล้ายกัน
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการศึกษาครั้งนี้จะใช้เป็นรูปแบบการพยาบาลทารกแรกเกิดในมารดาที่ใช้สารเมทแอมเฟตามีน เพื่อประเมิน เฝ้าระวังและลดความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนในทารกแรกเกิด ทำให้เกิดผลลัพธ์การพยาบาลที่มีคุณภาพ
References
อดิศักดิ์ ไวเขตการณ์. ผลลัพธ์การตั้งครรภ์ของมารดาและทารกในสตรีตั้งครรภ์ที่เสพสารเมทแอมเฟตามีนระหว่างตั้งครรภ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2564;18(2):105–12.
United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC). Synthetic Drugs in East and Southeast Asia Latest Developments and Challenges [Internet]. 2021 [cited 5 Jan 2024]. Available from: https://www.unodc.org/roseap/uploads/documents/Publications/2021/Synthetic_Drugs_in_East_and_Southeast_Asia_2021.pdf
ทิพย์อุษา จันทร์ทองศรี. ผลกระทบจากการเสพสารเมทแอมเฟตามีนของมารดาขณะตั้งครรภ์ต่อทารกในระยะแรกเกิด โรงพยาบาลเซกา จังหวัดบึงกาฬ. [อินเทอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2567]. เข้าถึงจาก: https://skko.moph.go.th/dward/document_file/oa/research_file_name/20230717133205_976338236.pdf
ระบบสารสนเทศ. สถิติผู้ป่วยงานห้องคลอด (รายงาน ก. 2) ปี 2564-2566. โรงพยาบาลโซ่พิสัย; 2566.
ฉฏาธร ปรานมนตรี, สิริกานต์ แรงกสิกร, วรรณภา ตั้งแต่ง, วรรณนี รังผึ้ง. การพัฒนารูปแบบการดูแลทารกโดยครอบครัวเป็นศูนย์กลางในมารดาวัยรุ่นที่คลอดบุตร ก่อนกำหนด หอผู้ป่วยวิกฤตทารกแรกเกิด โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2564;4(1):161-74.
ศิริกิจ เพิ่มพูน. การพัฒนารูปแบบการส่งต่อทารกแรกเกิดที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ เครือข่ายจังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2564;18(1):122-31.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-04-30 (3)
- 2024-04-30 (2)
- 2024-04-30 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง