การพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานและผลลัพธ์การให้บริบาลทางเภสัชกรรม สำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ณัฐวุฒิ แหล่งสนาม โรงพยาบาลเมืองสรวง

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยเบาหวาน, การพัฒนา, การบริบาลเภสัชกรรม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานในการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยเบาหวานและประเมินผลลัพธ์การให้บริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ การวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาและความจำเป็นในการพัฒนา การพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานในการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยเบาหวาน และการติดตามประเมินผลลัพธ์ในการพัฒนาการให้บริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบเก็บข้อมูลที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนและหลังพัฒนาด้วย Percentage Differences และวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย : สถานการณ์และความจำเป็นในการพัฒนา พบว่า ขาดแนวทางปฏิบัติในการให้บริบาลเภสัชกรรมที่เป็นแนวทางเดียวกัน มีการใช้เครื่องมือประเมินปัญหาด้านยาและอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่หลากหลาย การขาดการประเมินความรู้และความร่วมมือในการใช้ยา และยังไม่มีการเชื่อมโยงและบูรณาการระบบงานไปถึงระดับชุมชนและครัวเรือน โดยได้ทำการพัฒนาแนวทางการบริบาลเภสัชกรรมขึ้น คือ การติดตามปัญหาและการจัดการปัญหาด้านยา การติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การส่งเสริมความรู้ด้านโรคเบาหวานและความร่วมมือในการใช้ยา และติดตามผลลัพธ์การดำเนินงาน ซึ่งหลังพัฒนางานมีการเปลี่ยนแปลงลดลงของระดับน้ำตาลในเลือด (FBS) ระดับน้ำตาลในเลือดสะสม (HbA1c) ระดับ LDL และดัชนีมวลกาย (22.80%, 15.78%, 21.76% และ 2.11% ตามลำดับ)

สรุปและข้อเสนอแนะ : การพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานและผลลัพธ์การให้บริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นการพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยการประเมิน ติดตามปัญหาด้านยาและจัดการปัญหาด้านยาที่เหมาะสม เพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยาโดยการติดตามอาการไม่พึงประสงค์ และเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาล โดยการส่งเสริมความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความร่วมมือในการใช้ยา เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนแนวทางที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปพัฒนาเป็นแนวทางในการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในโรคอื่น ๆ ต่อไป

References

ศูนย์ศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์. การอบรมระยะสั้น หลักสูตรประกาศนียบัตรการบริบาลทางเภสัชกรรม [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 15 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=seminar_detail&subpage=seminar_detail&id=1216

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2564 ตระหนักถึงการดูแลรักษาโรคเบาหวาน ให้ได้รับการรักษาอย่างทั่วถึง [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc

อัญชนา พีดขุนทด. การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการรักษาด้วยยาฉีดอินซูลินโรงพยาบาลบ้านด่าน. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2566;38(1):237-46.

นิตยาวรรณ กุลณาวรรณ, ณิณ ประพงศ์เสนา, นิตย์ธิดา ภัทรธีรกุล, ธีรวุฒิ พงศ์เศรษฐไพศาล. การพัฒนากระบวนการปฏิบัติงานและประเมินผลลัพธ์การบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ณ คลินิกเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบางบ่อ [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://has.hcu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/1098/1/Nittayawan-Kulnawan.pdf

Ichiki Y, Kobayashi D, Kubota T, Ozono S, Murakami A, Yamakawa Y, et al. Effect of patient education for diabetic outpatients by a hospital pharmacist: a retrospective study. YAKUGAKU ZASSHI. 2016;136:1667-74.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ef. Victoria : Deakin University press; 1988.

Hepler C D, Strand L M. Opportunities and Responsibilities in PharmaceuticalCare. Am J Hosp Pharm. 1990.47(3):533-43.

Naranjo C A, Busto U, Sellers E M, Sandor P, Ruiz I, Roberts E A, et al. A method forestimating the probability of adverse drug reactions. Clin Pharmacol Ther. 1981;30(2):239-45.

พรรณทิพา ศักดิ์ทอง. การพัฒนาเครื่องมือการบริบาลด้านยา คุณภาพชีวิตด้านการใช้ยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

พรพิมล รัศมีวงษ์จันทร์. การพัฒนาระบบการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยวัณโรค อำเภอค่ายบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสหการเพื่อสุขภาพ. 2566;5(1):38-54.

บุญรักษ์ ฉัครรัตนกุลชัย. การพัฒนาแนวปฏิบัติการให้บริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยเภสัชกรครอบครัว โรงพยาบาลเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3. 2564;18(3):167-78.

พจมาลย์ บุญกลาง. ผลการดูแลผู้ป่วยเบาหวานสูงอายุที่มีการใช้อินซูลินฉีดผ่านกิจกรรมเยี่ยมบ้าน. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2563;1(3):149-55.

ณัชชา เตียวอิศเรศ, สรวิศ ตั้งตระกูลพาณิช, กานต์ธิดา พุทธกาล. การสำรวจปัญหาที่เกี่ยวกับยาของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ณ คลินิกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลแหลมฉบัง [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://opac1.lib.buu.ac.th/medias3/b00332027/59210023.pdf.

ปนัดดา แสงทอง, นิตยา เพ็ญศิรินภา, พาณี สีตกะลิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมียาเหลือใช้ของผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2562;5(3):1-13.

สิรวิชญ์ พันธนา, ประภาเพ็ญ สุวรรณ, สุรีย์ จันทรโมลี, สุธรรม นันทมงคลชัย. การพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอเมือง บึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2562:6(3):1-13.

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน ปี 2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/file/d/1OAIDiCyGsJYA1-wTAxoOu6yL_YL9c7IG/view.

Lobas N H, Lepinski P W, Abramowitz P W. Effects of pharmaceutical care on medication cost and quality of patient care in an ambulatory-care clinic. Am J Hosp Pharm. 1992;49:1681-8.

ศศิธร ศิริวราศัย. การบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. 2545 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://digital_collect.lib.buu.ac.th/research/2566_111.pdf.

สุภาพร สนองเดช. ผลของการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ในสถานบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่ายโรงพยาบาลเลย. วารสารเภสัชกรรมคลินิก. 2565;28(3):85-97.

นีลนาถ เจ๊ะยอ. ความชุกและปัจจัยทำนายความล้มเหลวในการใช้ยาฉีดอินซูลินของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2559;10(3):333-9.

ปิยะฉัตร ธรรมแก้ว. การพัฒนาความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลเพ็ญ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://backoffice.udpho.org/openaccess/control/download.php?id=MjY=.

วิกานดา เวชอุบล, พลอยกาญจน์ เกียรติวัฒน์, ทัดตา ศรีบุญเรือง. ผลของการให้บริบาลเภสัชกรรมต่อปัญหาจากการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2564:13(1):127-42.

อนัญญา สองเมือง, ธนัฏชา สองเมือง, นันทิกร จำปาสา. ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยเบาหวานด้วยการบริบาลทางเภสัชกรรมแบบเชิงรุก. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2560;32(3):236-43.

สุนิดา สดากร. ผลของการให้คำแนะนำโดยเภสัชกรร่วมกับการติดตามการรักษาทางโทรศัพท์ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/10404/1/391363.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-28