การพัฒนาแบบประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน ในโรงพยาบาลชุมชนสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • วิภาพร เสมอภาค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

แบบประเมิน, พยาบาลวิชาชีพ, โรงพยาบาลชุมชน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อสร้างและพัฒนาแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน สำหรับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน  

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารทางการพยาบาล (หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล และหัวหน้างาน) 115 คน และพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงาน 184 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified random sampling) ดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แนวคำถามสำหรับ (Guide line) สำหรับการสนทนากลุ่ม (Focus group) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ (Pearson Product Moment Correlation Coefficient

ผลการวิจัย : แบบประเมินผลการปฏิบัติงานสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ประกอบด้วย 9 ด้าน จำนวน 54 ข้อ มีค่าความสอดคล้องระหว่างผู้ประเมิน (Inter-Rater Reliability) ตั้งแต่ .570-.885 และ .331-.744 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) ค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (Item - total correlation) รายข้อตั้งแต่ .412-.919 และ .293 -.750 และค่าความเที่ยงของแบบประเมินทั้งฉบับตั้งแต่ .989-.971 และ .927-.847 ตามลำดับ

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปประเมินผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติในโรงพยาบาลชุมชนได้

References

ทศพร ศิริสัมพันธ์. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารราชการแนวใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ; 2549.

Dessler G. Human Resource Management. New Jersey : Pearson Prentice Hall; 2008.

Monday O. Critical Review and Compares between Maslow, Herzberg and MeClelland's Theory of Needs. Funai journal of accounting, business and finance (fujabf). 2017;1(1):161-73.

ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: แซท โฟร์ พริ้นติ้งจำกัด; 2557.

อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์. กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Strategic Human Resource Development). กรุงเทพฯ: บริษัท เอช อาร์ เซ็น เตอร์ จำกัด; 2551.

จินดาลักษณ์ วัฒนสินธุ์. รวมบทความการจัดการภาครัฐ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่พีเอ็น เพรส; 2553.

นิภาภัทร อยู่พุ่ม และคณะ. เอกสารประกอบการสอนรายวิชา SN1103 จิตวิทยาและพัฒนาการของมนุษย์.คณะพยาบาลศาสตร์บุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น. ขอนแก่น: เอ็มมี่ ก็อปปิ้ เซนเตอร์; 2556.

พรศิริ พันธสี. กระบวนการพยาบาล & แบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร; 2554.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2540.

Brumback G B, Mcfee T S. FROM MBO TO MBR. Public Administration Review. 1982;43(4):363-71.

วิเชียร เกตุสิงห์. สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.

Wood G, Haber J. Nursing Research. 3thed. The United States of America: Mosby - Year Book; 1994.

ศิริรัตน์ คงสุวรรณ. การพัฒนาแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน สำหรับพยาบาลประจำการโรงพยาบาลสังกัดกองทัพบก [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.

ฐิติพร ถนอมบุญ. การพัฒนาแบบประเมินสมรรถะพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561.

วิไลลักษณ์ เนตรประเสริฐกุล. การพัฒนาแบบประเมินสมรรถณะพยาบาลพี่เลี้ยง โรงพยาบาลวชิรพยาบาล. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช; 2564.

ผดุงศิลป์ เพ็งชอุ่ม, บุญเรียง ขจรศิลป์, ธนีนาฏ ณ สุนทร. การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะประจำสายงานของพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 2564;13(1):132-46.

เสาวนีย์ เนาวพาณิช, บุญทิพย์ สิริธรังศรี, สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล, พิชชุดา วิรัชพินทุ, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลศิริราช. การจัดประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครั้งที่ 4; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-02