ผลของโปรแกรมการวางแผนการพยาบาลจัดการรายกรณีต่อการรับรู้การจัดการอาการปวด และคุณภาพการดูแลของผู้ป่วยระยะท้าย

ผู้แต่ง

  • นพรัตน์ ศรีสุวรรณ์ โรงพยาบาลธวัชบุรี

คำสำคัญ:

การวางแผนพยาบาลจัดการรายกรณี, การจัดการอาการปวด, คุณภาพการดูแล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้จากความทุกข์ทรมานจากอาการปวดและการรับรู้คุณภาพการพยาบาลจากการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาลการจัดการรายกรณีสำหรับผู้ป่วยระยะท้าย

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวประเมินก่อนและหลังการทดลอง

วัสดุและวิธีการวิจัย : การวิจัยครั้งนี้ศึกษาในโรงพยาบาลธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน 2566 การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยระยะท้ายและมีการสั่งกลุ่มยา Opioids โดยมีคุณสมบัติ ดังนี้ 1) อายุมากกว่า 20 ปี 2) ได้รับการวินิจฉัยว่าอยู่ในระยะท้ายของโรคและแพทย์ส่งปรึกษาศูนย์การดูแลแบบประคับประคอง 3) มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ จำนวน 30 คน ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอน ดังนี้
1) ค้นหาและเลือกผู้ป่วย 2) ประเมินและวินิจฉัยปัญหา 3) วางแผนการดูแลที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย 4) ดำเนินการตามแผน และ 5) ประเมินผลลัพธ์ของการจัดการรายกรณี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความทุกข์ทรมานจากอาการ (Edmonton Symptom Assessment System) และแบบประเมินผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคอง หาค่าความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.76 และ 0.73 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างความทุกข์ทรมานจากอาการและผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองด้วยการวิเคราะห์สถิติทีคู่ (Paired t-test)

ผลการวิจัย : ผู้ป่วยระยะท้ายมีคะแนนเฉลี่ยความทุกข์ทรมานจากอาการปวด ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพยาบาลจัดการรายกรณี ต่ำกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้คุณภาพการดูแล สูงกว่า (p<.001) ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  

สรุปและข้อเสนอแนะ : ศูนย์การดูแลแบบประคับประคองควรมีการนำรูปแบบการจัดการรายกรณีสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายมาใช้ในหน่วยงาน เพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมานจากอาการและเพิ่มคุณภาพการดูแลแบบประคับประคองให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

จินตนา ตั้งวรพงศ์ชัย. วัฒนธรรมการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวระยะสุดท้ายที่โรงพยาบาล [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.

สถาพร ลีลานันทกิจ. คู่มือการดูแลรักษาสุขภาพผู้ป่วยระยะสุดท้าย. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2547.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะท้าย (สำหรับบุคลากรทางการแพทย์). พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563.

WHO. WHO definition of palliative care [Internet]. 2005 [cited 2014 January 31]. Available from: http://www.who.int/cancer/palliative/definition/en/

สาวิตรี มณีพงศ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หอผู้ป่วยเวชบำบัดวิกฤต อายุรกรรมแผนกการพยาบาลอายุรกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

ทัศนีย์ ทองประทีป. เสียงสะท้อนจากพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. วารสารเกื้อการุณย์. 2547;11(2):36-46.

Ferrell B R, Temel J S, Temin S, Alesi E R, Balboni T A, Basch E M, et al. Integration of Palliative Care Into Standard Oncology Care: American Society of Clinical Oncology Clinical Practice Guideline Update. J Clin Oncol. 2017;35(1):96-112.

ศูนย์การุณรักษ์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. Handbook for palliative guidelinds NHK, U.K. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2560.

พิกุล นันทชัยพันธ์. การจัดการกรณีในการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย. วารสารพยาบาลสาร. 2558;42(1):153-58.

Ozcelik H, Fadiloglu C, Karabulut B, Uyar M. Examining the effect of the case management model on patient results in the palliative care of patients With cancer. Am J Hosp Palliat Med. 2014;31(6):655-64.

Plas A G M, Onwuteaka-Philipsen B D, Watering M, Jansen W J, Vissers K C, Deliens L. What is case management in palliative care? An expert panel study. BMC Health Serv Res. 2012;12:163.

กิตติกร นิลมานัต, กัลยา แซ่ชิต. ผลของโปรแกรมการพยาบาลจัดการรายกรณีสำหรับผู้ป่วยระยะท้ายต่อความทุกข์ทรมานจากอาการและการรับรู้คุณภาพการดูแลของผู้ป่วยระยะท้าย. วารสารสภาการพยาบาล. 2561;33(3):51-66.

Chewaskulyong B, Sapinun L, Downing GM, Intaratat P, Lesperance M, Leautrakul S, et al. Reliability and validity of the Thai translation (Thai PPS Adult Suandok) of the Palliative Performance Scale (PPSv2). Palliat Med. 2012;26(8):1034-41.

Watanabe S M, Nekolaichuk C, Beaumont C, Johnson L, Myers J, Strasser F. A multi-centre comparison of two numerical versions of the Edmonton Symptom Assessment System in palliative care patients. J Pain Symptom Manage. 2011;41(2):456-68.

Collins E S, Witt J, Bausewein C, Daveson B A, Higginson I J, Murtagh F E M. A systematic review of the use of the Palliative Care Outcome Scale and the support team assessment schedule in palliative care. J Pain Symptom Manage. 2015;50(6):842-53.e19.

Sapinan L. Manual for Palliative care outcome scale: POS. Chiang Mai: Klang Veing Publisher; 2013.

ลดารัตน์ สาภินันท์. คู่มือการใช้แบบประเมินผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง (Palliative care Outcome Scale: POS). ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556.

Chotetanaprasit N. Common symptoms in cancer patients referred to palliative care department. Bulletin of the Department of Medical Services. 2014;39(1):1-6.

Chaithanasarn A. Manual of end of life care and family. Bangkok: Beyond enterprice company; 2016.

Lo C, Hales S, Rydall A, Panday T, Chiu A, Malfitano C, et al. Managing cancer and living meaningfully: Study protocol for a randomized controlled trial. Trials. 2015;16:391.

Aiken L S, Butner J, Lockhart C A, Volk-Crafy B E, Hamilton G, Williams F G. Outcome evaluation of a randomized trial of the PhoenixCare Intervention: program of case management and coordinated care for the seriously chronically ill. J Palliat Med. 2006;9(1):111-25.

Head B A, LaJoie S, Augustine-Smith L, Cantrell M, Hofmann D, Keeney C, et al. Palliative care case management increasing access to community-based palliative care for medicaid recipients. Prof Case Manage. 2010;15(4): 206–17

Sumruayphol P, Ratchukul S. Effects of case management in patients with breast cancer on patient’s satisfaction in services and perceived professional value of staff nurses. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University. 2015;27(1):95-109.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29