การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ในชุมชน: กรณีศึกษา เปรียบเทียบ 2 ราย

ผู้แต่ง

  • อัญธิชา ถามาโยค โรงพยาบาลโคกโพธิ์ไชย

คำสำคัญ:

กระบวนการพยาบาล, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเป็นกรณีศึกษาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ในชุมชน

รูปแบบการวิจัย : กรณีศึกษา (Cases study) ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ในชุมชน เปรียบเทียบ 2 ราย

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้มาจากการคัดเลือกแบบจำเพาะเจาะจง 2 ราย ที่มารับบริการที่กลุ่มงานปฐมภูมิและองค์รวม ระหว่างเดือนมกราคม 2566 ถึงเดือนธันวาคม 2566 เก็บรวบข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การสังเกต และการเก็บรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ ข้อมูลเปรียบเทียบตามแบบแผนทางด้านสุขภาพ 11 แบบแผนของของกอร์ดอน เพื่อประเมินปัญหาผู้ป่วย กำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล กิจกรรมการพยาบาล ประเมินผลลัพธ์การพยาบาลสรุปผลและวิเคราะห์เพื่อให้ได้แนวปฏิบัติสำหรับพยาบาลในการพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลได้ในชุมชน

ผลการวิจัย : กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มานานมากกว่า 10 ปี ทั้ง 2 รายมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มีอาการปวดเข่า และเริ่มมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนโรคไตเสื่อมเรื้อรังระยะสุดท้าย สิ่งที่แตกต่างกันคือ กรณีศึกษาที่ 1 เริ่มมีภาวะแทรกซ้อนทางไตแล้วคือ มีภาวะไตเสื่อมในระยะที่ 3 (โรคไตเรื้อรังระยะปานกลาง) เป็นระยะที่จะต้องเพิ่มการดูแลภาวะแทรกซ้อนของไต และต้องระวังในเรื่องของโรคหัวใจที่จะเป็นภาวะแทรกซ้อนและทำให้ผู้ป่วยโรคไตเสียชีวิตได้มากผู้ป่วยรายนี้ต้องปรับพฤติกรรมและจำกัดอาหารประเภทโปรตีน แต่กรณีศึกษาที่ 2  มีภาวะโรคไตเสื่อมระยะที่ 2 เป็นระยะที่เราจะเริ่มประเมินและชะลอการเสื่อมของโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยต้องปรับพฤติกรรมและลดอาหารเค็ม ซึ่งเป้าหมายในการรักษาผู้ป่วยทั้ง 2 รายจำต้องปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและปรับการบริโภคอาหาร เพื่อชะลอความเสื่อมของไตและลดโอกาสการดำเนินโรคเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งภายหลังที่กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ได้รับการพยาบาล พบว่ามีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมมากขึ้น จากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยโดยการใช้กระบวนการพยาบาล ทำให้เกิดผลลัพธ์การพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ สามารถป้องกันหรือชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้จะใช้เป็นแนวทางให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ในชุมชน

References

คลังข้อมูลการแพทย์ และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. Health Data Center: HDC. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

สกาวเดือน สำรวย. การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ในคลินิก โรคเรื้อรัง โรงพยาบาลพระยืน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2567;8(1):61-72.

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยฯ สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560: Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017. กรุงเทพฯ: บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560.

เฉลาศรี เสงี่ยม. การพยาบาลผู้จัดการรายกรณีผู้ป่วยเบาหวาน. ใน: ศิริอร สินธุ, พิเชต วงรอต, บรรณาธิการ. การจัดการรายกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สมาคมผู้จัดการรายกรณีประเทศไทย; 2558. หน้า 9–46.

สุรัสวดี พนมแก่น, ปราณี แสดคง, สมใจ เจียระพงษ์, จรรยา คนใหญ่. บทบาทพยาบาลในการป้องกันโรคไตเรื้อรังในผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2559;34(4):14-8.

พรทิพย์ สมตัว, ปาหนัน พิชยภิญโญ, วีณา เที่ยงธรรม, ดุสิต สุจิรารัตน์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2559;30(1):3-12.

นิภา ทองทับ. กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2558;30(3):191–202.

สุรีรัตน์ ปิงสุทธิวงศ์. การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ในชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2562;2(3):59-74.

กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาระบบบริการพยาบาล: Service Plan. ปทุมธานี: บริษัท สำนักพิมพ์ สื่อตะวัน จำกัด; 2561.

กรมควบคุมโรค. รูปแบบการบริการป้องกันควบคุมโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง. กรุงเทพฯ: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

มุทิตา ชมพูศรี, วิจิตร ศรีสุพรรณ, ดิลกา ไตรไพบูลย์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เป็นเบาหวานที่หน่วยบริการปฐมภูมิในเขตอำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง. พยาบาลสาร. 2551;35(4):120-31.

วิทยา ศรีดามา. การดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2543.

วิทยา ศรีดามา, วชิรา ธนาปทุม, ประศาสน์ ลักษณะพกกุ์. อาการแทรกซ้อนในโรคเบาหวาน. ใน: วิทยา ศรีดามา, บรรณาธิการ, การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: ยูนติี้พับลิเคชั่น; 2541.

วีระศักดิ์ ศรินนภากร. ภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันจากโรคเบาหวาน. ใน: วีระศักดิ์ ศรินนภากร, ชัญชาญ ดีโรจนวงศ์, ทองคำ สุนทรเทพวรากุล, สถิต นิรมิตมหาปัญญา, บรรณาธิการ. โรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: กรุงเทพเวชสาร. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. นนทบุรี: บริษัทศรี เมืองการพิมพ์จำกัด; 2553. หน้า 89-99.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: บริษัท ศรีเมืองการพิมพ์ จำกัด; 2557.

อนุสรณ์ พยัคฆาคม, อัจฉรา ภักดีพินิจ. การเสริมสร้างแรงจูงใจ. ใน: ธิดารัตน์ อภิญญา, บรรณาธิการ. หลักสูตรการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสำหรับพยาบาลผู้จัดการรายกรณีโรคเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์กรสงเคราะห์ทหารผ่านศึกษา ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-26 — Updated on 2024-03-28

Versions