ผลการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะวิกฤตต่ออุบัติการณ์การทรุดลงและความปลอดภัย (MEWS Score 0-2 คะแนน) ของผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง โรงพยาบาลปทุมรัตต์

ผู้แต่ง

  • เอมอร จ่าภา โรงพยาบาลปทุมรัตต์

คำสำคัญ:

สัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะวิกฤต, อุบัติการณ์การทรุดลง, ความปลอดภัย, ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบผลการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะวิกฤตต่ออุบัติการณ์การทรุดลงและความปลอดภัย (MEWS Score 0-2 คะแนน) ของผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง

รูปแบบการวิจัย : กึ่งทดลอง (Quasi-experimental)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลปทุมรัตต์ที่มีความเสี่ยงสูงโดยมีเกณฑ์คัดเข้า ได้แก่ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยในที่มีโรคประจำตัว DM, HT, CKD และ เกณฑ์คัดออกคือ เป็นผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นผู้ป่วยระยะสุดท้ายเป็นกลุ่มตัวอย่าง ตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 จำนวน 90 ราย ได้มาจากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) แบบบันทึกการเฝ้าระวังสัญญาณชีพเตือนภาวะวิกฤติและอาการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 2) แบบเก็บข้อมูลและบันทึกค่าคะแนนของระบบสัญญาณเตือน 3) แบบบันทึกอุบัติการณ์อาการทรุดลงผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยในโรงพยาบาลปทุมรัตต์ที่มีความเสี่ยงสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาแจกแจงความถี่แสดงจำนวนร้อยละ และค่าเฉลี่ย การเปรียบเทียบอุบัติการณ์การทรุดลงก่อนและหลังการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะวิกฤตและเปรียบเทียบความปลอดภัย (MEWS Score 0-2 คะแนน) ก่อนและหลังการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะวิกฤตโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย : ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1) ผู้ป่วยเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 64.34 ปีการวินิจฉัยโรคขณะเจ็บป่วยปัจจุบันใน 5 อันดับแรกพบว่าผู้ป่วยมีภาวะ Pneumonia และ Hyper glycemia มากที่สุด ร้อยละ 16.67 และพบระบบที่มีปัญหาโรคร่วมมากที่สุดคือ DM ร้อยละ 32.22 และ 2) ระดับค่าคะแนน 0-2 คะแนน มีจำนวนมากที่สุด ร้อยละ 74.44 และระดับค่าคะแนนมากกว่า 6 คะแนนร้อยละ 4.44 มีจำนวนน้อยที่สุด

สรุปและข้อเสนอแนะ : ควรทำการศึกษาโดยการขยายใช้แบบประเมินกับผู้ป่วย 2 ช่วงอายุ คือ มากกว่า 15 ปี และ 1 เดือน – 15 ปี โดยแบ่งเครื่องมือการประเมินคนละกลุ่มสามารถขยายผลการใช้ เครื่องมือดังกล่าวไปใช้ในการศึกษาวิจัยผลลัพธ์การใช้แบบประเมิน

References

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับ ที่ 5 Hospital and healthcare standards 5th edition. กรุงเทพฯ: ก.การพิมพ์เทียนกวง จำกัด; 2564.

คณะกรรมการสถาบันการแพทย์. ความปลอดภัยของผู้ป่วยกับวิกฤติความแออัดในหน่วยอุบัติเหตุ–ฉุกเฉิน. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข. 2561;4(2):237-49.

Vincent C, Amalberti R. Safer Health Care: Strategies for the Real World. Springer Cham [Internet]. [cited 2023 Jan 21]. Available from: https://doi.org/10.1007/978-3-319-25559-0

Smith M E, et al. National Early Warning Score (NEWS): Standardizing the Assessment of Acute-Illness Severity in the NHS. London Journal of Primary Care. 2019;11(1):2-8.

Paterson R, et al. National early warning score (NEWS): A novel scoring system for identifying clinical deterioration in the hospital setting. Postgraduate Medical Journal. 2013;89(1057):87-91.

Kessombon P, Panarunothai S, Wongkanaratanakul P. Thai Health 2009. Amarin Printing and Publishing Ltd [Internet]. 2009 [cited 2023 Jan 21]. Available from: https://issuu.com/health-hiso/docs/thaihealth2009e

จิราพร มณีพราย. สถานการณ์ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ในหอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม โรงพยาบาลกำแพงเพชร. วารสารโรงพยาบาลกำแพงเพชร. 2564;25(2):20-31.

กลุ่มงานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลปทุมรัตต์. รายงานผู้ป่วยในปี พ.ศ. 2564 - 2566. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลปทุมรัตต์; 2566.

รัชนีย์ พิมพ์ใจชน. ผลของการใช้รูปแบบเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงและสัญญาณเตือนของผู้ป่วยต่อการย้ายเข้าหอผู้ป่วยวิกฤตโดยไม่ได้วางแผน. ชลบุรี: กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลศูนย์ชลบุรี; 2560.

วัชระ ก้อนแก้ว, วรรณา สัตย์วินิจ, อภินันท์ ชูวงค์, กนกวรรณ สินลักษณะทิพย์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี พ.ศ. 2552. ราชบุรี: โรงพยาบาลโพธาราม; 2552.

กรรณิกา ศิริแสน. ประสิทธิผลของการใช้ระบบสัญญาณเตือนในการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2558.

ลดาวัลย์ ฤทธิ์กล้า. ผลของการใช้แนวทางการประเมินผู้ป่วยโดยใช้สัญญาณเตือนภาวะวิกฤตต่อการย้ายเข้าหอผู้ป่วยวิกฤตโดยไม่ได้วางแผนและอัตราการเสียชีวิตในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. ปทุมธานี: โครงการวิจัยเพื่อพัฒนางานของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, สนับสนุนทุนวิจัยโดยโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ปีงบประมาณ 2558; 2559.

แสงโสม ช่วยช่วง. ผลของการใช้แนวทางการประเมินสัญญานเตือนการเข้าสู่ภาวะวิกฤติ (MEWS) ในการประเมินและเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยในห้องตรวจสวนหัวใจ โรงพยาบาลตรัง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2561; 29(1):72-83.

Cochran W G. Sampling Techniques. 3rd ed. New York, United States of America: John Wiley & Sons, Inc.; 1997.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-15