การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ที่รับบริการในห้องฉุกเฉิน : โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน

ผู้แต่ง

  • มนทกานติ์ ตั้งนพรัตน์กุล โรงพยาบาลจตุรพัตรพิมาน
  • พัชชรี เกษแก้ว โรงพยาบาลจตุรพัตรพิมาน
  • อริญญา บุญอรัญ โรงพยาบาลจตุรพัตรพิมาน

คำสำคัญ:

แนวทางปฏิบัติการพยาบาล, ผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว, ห้องฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ แนวทางปฏิบัติ และศึกษาประสิทธิผลการใช้แนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวที่มารับบริการในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and development)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มเป้าหมายเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน จำนวน 20 ราย และเวชระเบียนผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ที่เข้ารับบริการระหว่างเดือน มกราคม–เดือนพฤศจิกายน 2566 จำนวน 30 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าความถี่ ร้อยละ และสถิติเชิงอนุมาน (Paired t- test)

ผลการวิจัย : หลังการใช้แนวปฏิบัติ พบว่าปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชก้าวร้าวที่มารับบริการที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดโดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.5 คะแนน  และพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจคิดเป็น ร้อยละ 94.60 และไม่พบอุบัติการณ์ความเสี่ยงขณะที่พยาบาลให้การดูแลผู้ป่วย

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวที่รับบริการในห้องฉุกเฉิน ดังนั้นหน่วยงานควรเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับอุปกรณ์และเตรียมพื้นที่สำหรับการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง

References

กรมสุขภาพจิต.คู่มือการดูแลผู้ป่วยโรคจิตเภทสำหรับโรงพยาบาลในเขตสุขภาพ(ฉบับพยาบาล/นักวิชาการสาธารณสุข). พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: วิคทอเรีย; 2560.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: บริษัท พรอสเพอรัสพลัสจำกัด; 2563.

กรมสุขภาพจิต. รายงานผู้ป่วยมารับบริการด้านจิตเวชข้อมูลจากคลังข้อมูลการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (HDC) ประจำปีงบประมาณ 2565. [เข้าถึงเมื่อ 30 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://dmh.go.th/report/datacenter/hdc

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กรมสุขภาพจิต. สรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2561-2565) ของกรมสุขภาพจิตในวาระแรกระยะ 3 ปี พ.ศ.2563-2565 ประจำปีงบประมาณ 2563; 2563.

ก่อกาล ศิริวัฒโณ, วินีกาญจน์ คงสุวรรณ, ถนอม ศรีอินทนนท์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว ในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2560;9(3):25-36.

อรัญญา ฤทธิเดช, อุบล วรรณกิจ, อสุนี สาแลมะ, อาอีเสาะ สาแล๊ะมะ. การพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าว อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2566;8(2):175-84.

อัครเดช กลิ่นพิบูลย์, ชมพูนุท โมราชาติ, กชพงศ์ สารการ. กลยุทธ์การพัฒนาพยาบาลวิชาชีพในการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ของผู้ป่วยจิตเวชในโรงพยาบาล เขตสุขภาพ ที่ 10. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2560;31(1):29-40.

ผกามาศ สุฐิติวนิช, สันติภาพ คงนาวัง. การพัฒนาสมรรถนะทีมบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงโรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2565;2(2),46-58.

พยุงศักดิ์ ฝางแก้ว, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. ผลของการจัดการความโกรธที่เน้นการปรับความคิดต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยจิตเภท. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2562;33(1):53-69.

ศิริยุพา นันสุนานนท์. บทบาทพยาบาลจิตเวชในการส่งเสริมการเข้าถึงการดูแลจิตเวชฉุกเฉิน. วชิรสารการพยาบาล. 2563;22(2):118-26.

วรรณี ศิรินทรางกูร, นพรัตน์ ไชยชำนิ, เสาวลักษณ์ ยิ้มเยื้อน. การพัฒนาโปรแกรมจัดการ ความโกรธด้วยสติบำบัดสำหรับผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2562;33(3):68-85.

อรพรรณ สุนทวง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชนจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2566;16(3):198-210.

Skeem J L, Polaschek D L, Manchak S. Appropriate treatment works, but how?: Rehabilitating general, psychopathic, and high-risk offenders; 2009.

วุฒิชัย ชวนชนก, ภัทราภรณ์ภทร สกุล, สมบัติ สกุลพรรณ์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมก้าวร้าวของผู้ป่วยโรคจิตเภทในแผนกจิตเวชฉุกเฉิน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2565;36(3):81-97.

American Psychiatric Association. The American Psychiatric Association practice guideline for the treatment of patients with schizophrenia. Am J Psychiatry. 2020;177(9):868-72.

Nelstrop L, Chandler‐Oatts J, Bingley W, Bleetman T, Corr F, Cronin‐Davis Ja, et al. A systematic review of the safety and effectiveness of restraint and seclusion as interventions for the short‐term management of violence in adult psychiatric inpatient settings and emergency departments. Worldviews on Evidence‐Based Nursing. 2006;3(1): 8-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-07