ผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มต่อการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังผลดีจากการปฏิบัติ และพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม ในโรงพยาบาลเมยวดี
คำสำคัญ:
การป้องกันการหกล้ม, การรับรู้ความสามารถตนเอง, ความคาดหวังผลดี, พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเอง ความคาดหวังผลดีจากการปฏิบัติ และพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ
รูปแบบการวิจัย : วิจัยกึ่งทดลอง (Qua-si experimental design)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้ง 64 คน เป็นผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้มและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 32 คน ดำเนินระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน 2565 ระยะเวลาดำเนินการ 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% Confidence interval
ผลการวิจัย : หลังการทดลอง พบว่า ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเองมากกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุม 0.50 คะแนน (95%CI: 0.38, 0.61); ผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มมากกว่ากลุ่มกลุ่มควบคุม (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าเท่ากับ 0.91 คะแนน (95%CI: 0.70, 1.11) และผู้สูงอายุในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังผลดีจากการปฏิบัติมากกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่ากลุ่มควบคุม 0.89 คะแนน (95%CI: 0.64, 1.13)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า Intervention ช่วยให้ผู้สูงอายุมีผลลัพธ์ทางสุขภาพดีขึ้น ดังนั้น ผู้เกี่ยวข้องควรส่สงเสริมให้นำ Intervention นี้ไปใช้ในหน่วยงาน
References
Moradi Z, Far Ajallah Nouri M, Mohammadi M, Esfandnia F, Taovsi P, Esfandnia A. Evaluation of stress factors among the elderly in the nursing homes for the elderly (Eram and Mother) in Kermanshah, in 2015. Journal of Medicine and Life. 2015;8(3):146-50.
ดมิสา เพชรทอง, ดาราวดี รักวงค์, นูไรดา แสสาเหตุ, อาริสา พันธุสะ, สมเกียรติยศ วรเดช, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2563;6(1):1-11.
Jitmontree N. Fall in older persons in Thongcharoen W(Ed.). Nursing Science and Arts. 2nd ed. Bangkok: NP. Place Co., Ltd; 2015.
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถิติจำนวนและอัตราผู้ป่วยนอก (OPD) สาเหตุจากการพลัดตกหกล้ม (W00 - V19) ในผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป .ข้อมูลคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) กระทรวงสาธารณสุข; 2564.
โรงพยาบาลเมยวดี. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ปีงบผระมาณ พ.ศ.2564. ร้อยเอ็ด: กลุ่มงานยุทธศาสตร์; 2564.
พรรณวรดา สุวัน, ณภัทรธร กานต์ธนาภัทร, จุฑารัตน์ เสาวพันธ์, สุปรีดา อินทรสงเคราะห์, อัญชลี อ้วนแก้ว, สุภาพักตร์ หาญกล้า. การพัฒนาแนวปฏิบัติการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยตาม หลัก 10 ป. ของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารแพทย์นาวี. 2563;47(2):414-31.
World Health Organization. Violence and injury prevention: falls [Internet]. [cited 2022 October 20]. Available from: http://www.who.int/violenceinjuryprevention/otherinjury/falls/en/.
Orem D E, Taylor S G, Ren penning K M. Nursing: Concepts of practice (6th ed.). St.Louis: Mosby; 2001.
ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์, กรรณิการ์ เทพกิจ. ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มต่ออัตราการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2560;35(3):186-95.
สุทธิชัย จิตตะพันธุ์กุล. คุณค่าและการวิเคราะห์ปัจจัยของเจริแอทริคซ์ ดีเปรสชั่นสเกลในผู้สูงอายุไทย. จุฬาลงกรณ์เวชสาร. 2537;38(7):383-89.
Gompertz P, Pound P, Ebrahim S. The reliability of stroke outcome measure. Clinical Rehabilitation. 1993;7(4):290- 96.
Rawiworrskul T, Sirapo – ngam Y, Davis A H I, Malathum P, Kulthanun I, Vorapongathorn T. A Community - based Exercise Program promotes Self- Efficacy for Exercise among Thai Women with Osteoarthritis of the Knee. Thai Journal Nursing Research. 2007;11(2):132-50.
Prasertphol P. Sleep quality of hospitalized elderly undergoing surgery. M.N.S. Thesis in Adult Nursing, Faculty of Graduate Studies, Mahidol University; 2001.
ลัดดา เถียมวงศ์. แนวทางการป้องกันการหกลัมของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. 2547;5(2):42-7.
Centers for Disease Control and Prevention. Preventing Falls : What Works. A CDC Compendium of Effective Community-based Interventions from Around the World [Internet]. 2008 [cited July 20, 2023]. Available from: http://www.cdc.gov/injury
วิราพร สืบสุนทร, นงพิมล นิมิตอานันท์, กรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะของตนต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มและสมรรถนะทางกายของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี. 2562;44(2):120-28.
รัฏภัทร์ บุญมาทอง. ผลลัพธ์ของโปรแกรมการดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2558.
พัชรินทร์ สมบูรณ์, รัมภา เต็มนอง, ขวัญธิรา หวังจิตต์. การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมสำหรับการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุโดยบูรณาการความร่วมมือของภาคีเครือข่าย. ราชบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 5; 2565.
สายฝน สุภาศรี, จักรกฤษณ์ วังราษฎร์, วราภรณ์ บุญเชียง. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพต่อการรับรู้ความสามารถตนเองและความคาดหวังผลลัพธ์ต่อการดูแลตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2564;51(1):53-63.
Bandura A. Social learning theory. Englewood Cliffs NJ: Prentice - Hall; 1977.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-03-06 (4)
- 2024-03-06 (3)
- 2024-03-06 (2)
- 2024-03-06 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง