การพัฒนารูปแบบการสร้างความรอบรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนเพื่อพัฒนาเด็กอัจฉริยะ โดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ความรอบรู้, ขาดสารไอโอดีน, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ความรอบรู้ ศึกษากระบวนการพัฒนาและประเมินรูปแบบการสร้างความรอบรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนเพื่อพัฒนาเด็กอัจฉริยะโดยใช้กลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบลงมือปฏิบัติร่วมกัน (Mutual collaborative action research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นหญิงวัยเจริญพันธุ์ในระยะศึกษาสถานการณ์ จำนวน 21 คน และระยะพัฒนาระบบบริการ 21 คน ผู้ให้บริการ 3 คน และผู้รับผิดชอบหลัก 26 คน ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบทดสอบความรู้ แบบสอบถาม และแบบประเมินผลการดำเนินงาน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย : 1) พบปัญหาที่สำคัญ คือ การขาดระบบการเฝ้าระวัง การกำกับและติดตาม การนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจ (Data driven decision making) การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมความรอบรู้เกี่ยวกับการป้องกันการขาดสารไปโอดีน 2) กระบวนการสร้างความรอบรู้ประกอบด้วยการสร้างกระแส จัดบริการฝากครรภ์คุณภาพ จัดเมนูอาหารกลางวัน สนับสนุนให้เด็กนักเรียนกินไข่ โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับโรคขาดสารไอโอดีนและโภชนาการ กิจกรรมทูตไอโอดีนน้อย จ่ายยาเม็ดไอโอดีน เหล็ก และโฟลิกแก่หญิงหลังคลอดทุกคน และสนับสนุนให้มีการบริโภคเกลือเสริมไอโอดีนที่มีคุณภาพ และมีการเฝ้าระวังและติดตามอย่างต่อเนื่อง และ 3) ผลลัพธ์การดำเนินงานพบว่า ส่วนใหญ่ผ่านตัวชี้วัดที่กำหนด
สรุปและข้อเสนอแนะ: ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงว่า Intervention ที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้มีความรอบรู้เกี่ยวกับการป้องกันการขาดสารไอโอดีนเพิ่มขึ้น
References
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. แผนปฏิบัติการด้านการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ พ.ศ. 2565 – 2570. กรุงเทพฯ: บริษัท คิว แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด; 2565.
lodine Global Network Global Scorecard: 30 years of iodine status monitoring [Internet]. 2020 [cited 2023 May 1]. Available from: https/wwign.org/newsletter/idd_may19_ 30 years of iodine status _monitoring of
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. รายงานการดำเนินงานโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน (พฤษภาคม 2561 - มิถุนายน 2563). กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2563.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการศึกษาผลของการให้ยาเม็ดเสริมไอโอดีนต่อภาวะโภชนาการไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์. กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2562.
สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต. คู่มือการดูแลเด็กวันเรียนที่มีปัญหาพฤติกรรมอารมณ์สำหรับบุคลากรสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2559.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวาปีปทุม. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ 2565. มหาสารคาม: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอวาปีปทุม; 2565.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการดำเนินงานโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน (ตุลาคม 2559-เมษายน 2561). กรุงเทพฯ: บริษัทสามเจริญพานิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด; 2561.
อารีย์ ภูมิภูเขียว, พูนสุข บุญมา, เจริญศรี พงษ์สิมา. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้เกลือไอโอดีนในหญิงวัยเจริญพันธุ์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนกรณีศึกษา ชุมชนใหม่สามัคคี อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. โรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น; 2563.
วัทธิกร นาถประนิล, สุมัทนา กลางคาร, กษมา วงษ์ประชุม. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสุขภาพเพื่อป้องกันการขาดสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์ ตำบลรอบเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. 2565;4(2):177-93.
คงฤทธิ์ วันจรูญ, สุภัทรา สามัง, วิมลรัตน์ ภูผาสุก. การประเมินโครงการแก้ไขปัญหาโรคขาดสารไอโอดีนของจังหวัดกาฬสินธุ์ด้วยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีระบบ CIPPI Model. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2561;27(4):616-27.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-03-01 (2)
- 2024-03-01 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง