ผลของโปรแกรมการเตรียมตัวเพื่อการคลอดต่อการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของมารดา ที่คลอดบุตรคนแรกในโรงพยาบาลโพนทอง

ผู้แต่ง

  • ประนมพร สนั่นเอื้อ โรงพยาบาลโพนทอง

คำสำคัญ:

การเตรียมตัวเพื่อการคลอด, การรับรู้ประสบการณ์การคลอด, มารดาคลอดบุตรคนแรก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของมารดาที่คลอดบุตรคนแรกในโรงพยาบาลโพนทอง  

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบศึกษาสองกลุ่มไม่เท่าเทียมกัน วัดหลังการทดลอง (Two groups posttest design with non-equivalent)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 50 คน เป็นมารดาที่มาฝากครรภ์และวางแผนคลอดที่โรงพยาบาลโพนทองที่มาฝากครรภ์ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม 2566 และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึก และแบบประเมินการรับรู้ประสบการณ์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.94 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Student's t-test

ผลการวิจัย : พบว่า หลังการทดลองมารดาที่คลอดบุตรคนแรกมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ประสบการณ์โดยรวมการคลอดมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 1.22 คะแนน (95%CI: 0.92, 1.51)

สรุปและข้อเสนอแนะ : พยาบาลห้องคลอดควรจัดให้มีปฏิบัติกิจกรรมการสนับสนุนในระยะคลอด ทั้งด้านอารมณ์และจิตใจ ข้อมูลข่าวสาร และความสุขสบายและปลอดภัยเพื่อช่วยลดความกลัวและส่งเสริมการรับรู้ประสบการณ์การคลอดที่ดีแก่ผู้คลอด

References

สุกัญญา บังเมฆ, ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, วรรณา พาหุวัฒนกร. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมตัวเพื่อการคลอด ต่อการรับรู้สมรรถนะในการเผชิญความเจ็บปวด ระดับความเจ็บปวด และพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะที่หนึ่งของการคลอดในมารดาที่คลอดบุตรคนแรก. วารสารพยาบาลทหารบก. 2566;24(1):201-10.

ธีระ ทองสง, ชเนนท์ วนาภิรักษ์. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: พี่บี.ฟลอเรน บุ๊สเซนเตอร์; 2541.

สุรีย์พร กฤษเจริญ, ปราณี พงศ์ไพบูลย์, กัญจนี พลอินทร์, วรางคณา ชัชเวช, ปรียา แก้วพิมล, สุภาพ มากสุวรรณ. ประสิทธิผลของการสนับสนุนการคลอดอย่างต่อเนื่องของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อความเจ็บปวดและระยะเวลาการคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2562;39(4):16-25.

ณิชากร ชื่นอารมณ์, ศิรินาฎ โตยัง. ผลของโปรแกรมการเตรียมตัวคลอดต่อความรู้และการปฏิบัติในการเตรียมตัวคลอดของหญิงตั้งครรภ์แรกไตรมาสที่ 3 ที่มาฝากครรภ์ในโรงพยาบาลชลบุรี. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. 2562;4(3):11-26.

ปิยาณี นักบุญ, ไฝทอง สวนงาม, ศุภธาภรณ์ มะหุวรรณ์, นิตยา กุลตังวัฒนา. การศึกษาเปรียบเทียบความรู้และทัศนคติด้านการบรรเทาความเจ็บปวดด้วยการหายใจในหญิงตั้งครรภ์ระหว่างการสอนโดยใช้สื่อมัลติมีเดียกับการสอนตามปกติ. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2565;26(1):78-88.

อาลี แซ่เจียว, พยุงศรี อุทัยรัตน์. การพัฒนาการดูแลแบบผสมผสานด้วยศาสตร์มณีเวชในหญิงครรภ์แรกโรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11. 2559;31(2):325-37.

Pan P H, Booth J L. The pain of childbirth and effect on the mother and the fetus. In: Chestnut DH, Wong CA, Tsen LC, Kee WDN, Beilin Y, Mhyre J, et al, editors. Chestnut's Obstetric anesthesia e-book. 7thed. Chicago: Elsevier Health Sciences; 2022;17(2):422-40.

สุกัญญา บังเมฆ, ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, วรรณา พาหุวัฒนกร. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมตัวเพื่อการคลอด ต่อการรับรู้สมรรถนะในการเผชิญความเจ็บปวด ระดับความเจ็บปวด และพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะที่หนึ่งของการคลอดในมารดาที่คลอดบุตรคนแรก. วารสารพยาบาลทหารบก. 2564;24(1):201-10.

Balaskas J. New active birth: A concise guide to natural childbirth. London: Thorsons; 1991.

Bryanton J, Gagnon A J, Johnston, Hatem M. Predictors of woman's Perceptions of the childbirth experience. Journal of Obstetric, Gynecologic, & Neonatal Nursing. 2008;37(2):24-34.

Waldenstrom U, Hildingsson I, Rubertsson C, Radestad I. A negative birth experience: Prevalence and risk factors in a national sample. Birth. 2004;37(2):17-27.

โรงพยาบาลโพนทอง. ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2565. ร้อยเอ็ด. งานยุทธศาสตร์; 2565.

Mercer R, Hackley K, Bostrom A. Relationship of psychosocial and perinatal variables to perception of childbirth. Nursing Research. 1983;32(2):202-07.

Mercer R T. First-time motherhood: Experience from teens to forties. New York: Springer; 1986.

Baker S R, Choi P Y L, Hinshaw C A, Tree J. Women's experiences of maternity care during labour, delivery and the immediate postpartum. Feminism & Psychology. 2005;15(1):315-42.

Bryanton J, Gagnon A J, Johnston C, Hatem M. Predictors of woman's Perceptions of the childbirth experience. Journal of Obstetric, Gynecologic, & Neonatal Nursing. 2008;37(2):24-34.

พรรณทิพา บัวคล้าย, ประทุมา ฤทธิโพธิ์, ทยุตา อินทร์แก้ว. ผลของโปรแกรมเสริมพลังอำนาจต่อความรู้ การรับรู้พลังอำนาจในตนเองและพฤติกรรมสุขภาพขณะตั้งครรภ์และหลังคลอดของผู้ต้องขังหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอดที่มีเด็กติดผู้ต้องขังในทัณฑสถานหญิง. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา.2562;20(1)28-39.

Dempsey P A, Dempsey A D. Nursing research with basic statistic application. (3rd ed.). Boston : Johes and Bartiett; 1992.

ยุวดี ทรัพย์ประเสริฐ. ผลการพยาบาลโดยใช้เทคนิคการบรรเทาความเจ็บปวด โดยไม่ใช้ยาต่อพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด ระยะเวลาคลอด และการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2541;23(2):25-37.

เยาวลักษณ์ เสรีเสถียร. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ของการเป็นมารดาในระยะตั้งครรภ์ของหญิงวัยรุ่น [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2543.

ปิยะนุช ขวัญเมือง, โสเพ็ญ ชูนวล, เบญญาภา ธิติมาพงษ์. ผลของโปรแกรมการเตรียมตัวเพื่อการคลอดร่วมกับการสนับสนุนในระยะคลอดอย่างต่อเนื่องต่อความปวดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นครรภ์แรก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2562;30(3):116-27.

Ahmadi L, Bagheri F. The effectiveness of educating mindfulness on anxiety, fear of delivery, pain catastrophizing and selecting caesarian section as the delivery method among nulliparous pregnant women. Nurs Pract Today. 2017;4(1):52-63.

Sinlatamkij C, Sinlatamkij S, Supaksri P. Effects of labor support program on pain-coping behavior and childbirth experience among primiparous women who received oxytocin. Journal of The Royal Thai Army Nurses. 2019;20(1):216-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01