การพัฒนาระบบการคัดกรองประเภทผู้ป่วยร่วมกับสัญลักษณ์สี สำหรับจุดคัดกรองด่านหน้า งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีสมเด็จ

ผู้แต่ง

  • บุษบา กวีมูล โรงพยาบาลศรีสมเด็จ

คำสำคัญ:

การคัดกรองประเภทผู้ป่วย, สัญลักษณ์สี, จุดคัดกรองด่านหน้า

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบและศึกษาประสิทธิผลพัฒนาระบบการคัดกรองประเภทผู้ป่วยร่วมกับสัญลักษณ์สี สำหรับจุดคัดกรองด่านหน้า งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and development)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 18 คน การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนคือ กระบวนการวิจัย  การวิจัยเชิงประเมินผล และการรายงานผลลัพธ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม แบบประเมินการคัดแยกประเภทผู้ป่วย แบบบันทึก Over/Under triage แบบบันทึกอุบัติการณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย : ระบบการคัดกรองประกอบด้วย 1)พัฒนาระบบ Hospital Triage ตาม MOPH จัดทำคู่มือและอบรมเชิงวิชาการ (2) จัดให้มีการคัดกรองผู้ป่วยหน้า ER โดยพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์มากกว่า 3 ปี และผ่านการอบรมเชิงวิชาการคัดแยกประเภทผู้ป่วย (3) จัดทำแผ่นป้าย และ Flow chart ตามระดับความเร่งด่วน (4) การประเมินซ้ำการคัดกรอง โดยหัวหน้าเวรทุกราย (5) ปรับปรุงระบบระบบมอบหมายงานพยาบาล และ (6) นิเทศติดตามโดยหัวหน้างานและเวรตรวจการ และประสิทธิผลการคัดกรองแยกประเภทผู้ป่วยร่วมกับสัญลักษณ์สีพบว่า การคัดแยกถูกต้อง 372 คน (93.00%) ไม่ถูกต้อง (7.00%) จำแนกเป็นต่ำกว่าเกณฑ์ (Under triage) จำนวน 5 คน (1.25%) และสูงกว่าเกณฑ์ (Over Triage) จำนวน 23 คน (5.25%)  

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการประเมินภาวะสุขภาพเพื่อคัดแยกผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว ลดความคลาดเคลื่อนจากการปฏิบัติงานได้ทำให้ระยะเวลารอพบแพทย์และระยะเวลาลดลง และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้มารับบริการและเจ้าหน้าที่

References

Chan TC, Killeen J P, Kelly D, Guss D A. Impact of rapid entry and accelerated care at triage on reducing emergency department patient wait times, lengths of stay, and rate of left without being seen. Ann Emerg Med. 2005;46:491-7.

กองการพยาบาล. คู่มือการวัดและประเมินคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2544.

ณฤดี เย็นเสนาะ. Khon kaen Emergency Severity Index. ขอนแก่น: กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลขอนแก่น; 2552.

สุภารัตน์ ทัพโพธิ์. การพัฒนาการใช้มาตรฐานการพยาบาลการกัดกรองผู้ป่วย อุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

รัฐพงษ์ บุรีวงษ. MOPH ED. Triage. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, สินีนุช ชัยสิทธิ์, อนุชา เศรษฐเสถียร. การคัดแยกผู้ป่วยของแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล. 2559;31:96-108.

เอื้อมพร พิมดี, สุภาพิมพ์ พรหมพินิจ, ฐปนวงศ์ มิตรสูงเนิน, ปริวัฒน์ ภู่เงิน. ความสอดคล้องในการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างพยาบาลแผนก ผู้ป่วยนอก พยาบาลแผนกอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน และแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2558;30(6):587-91.

สุมาลี จักรไพศาล, จินตนันท์ สิทธิประชาราษฎร์, ชฎาภรณ์ เปรมปราม-อมร, ณัฐนันท์ มาลา. การพัฒนาโปรแกรมการสร้างความรู้และความสามารถในการคัดกรองระดับความรุนแรงผู้ป่วยฉุกเฉินโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ของพยาบาลวิชาชีพ งานผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสระบุรี. วารสารกองการพยาบาล. 2560;44(2):117-40

กฤตพัทธ์ ฝึกฝน, ทัศนีย์ ภาคภูมิ-วินิจฉัย, โสพิศ เวียงโอสถ. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา. 2562;20(1):66-76.

โรงพยาบาลศรีสมเด็จ. สรุปรายงานประจำปีงบประมาณ 2561. งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด; 2565.

ชนิดาภา ไกรธนสอน. การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินต่อระยะรอคอยของผู้ป่วยและบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลลำพูน. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2565;30(1):69-81.

นัทชา จงศิริฉัยกุล, พรรณพิมล สุขวงษ์. การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยพยาบาลในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลน่าน. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมนครปฐม. วันที่ 8-9 กรกฎาคม 2564.

เทพีรัตน์ เทศประสิทธิ์. การพัฒนาระบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยงานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลโชคชัย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564;15(36):160-78.

อรวรรณ ฤทธิ์อินทรางกูร, วรวุฒิ ขาวทอง, ปารินันท์ คงสมบูรูณ์, สมศรี เขียวอ่อน. การพัฒนาระบบการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารกรมการแพทย์. 2561;43(2):146-51.

Gilboy N, Tanabe P, Travers D, Rosenau A M. Emergency Severity Index (ESI): A Triage Tool for Emergency Department Care, Version 4. Implementation Handbook 2012 Edition. AHRQ Publication No.12-0014. Rockville, MD: Agency for Healthcare Research and Quality; 2015.

Australian Government. Emergency Triage Education Kit 2019 [Internet]. 2019. [cited 2022 Nov 20]. Available from: www.ag.gov.au/cca

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-01