การพัฒนาระบบการคัดกรองผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลโพนทอง
คำสำคัญ:
ระบบการคัดกรอง, ผู้ป่วยฉุกเฉินบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาระบบการคัดกรอง และประเมินผลลัพธ์การคัดกรองผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลโพนทอง
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Mutual collaborative action research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้รับบริการที่งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตูฉุกเฉิน 25 คนที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้าและคัดออก (Inclusion criteria and exclusion criteria) ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง 20 คน และผู้รับผิดชอบการพัฒนาระบบการคัดกรองผู้ป่วยฉุกเฉิน 6 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบบันทึก แบบประเมิน แนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย : (1) สถานการณ์ปัญหาการคัดกรองผู้ป่วยฉุกเฉิน พบปัญหาทั้งด้านบุคลากรคัดกรอง ระบบบริการคัดกรอง และสถานที่คัดกรอง (2) ผลการพัฒนาระบบการคัดกรองผู้ป่วยฉุกเฉิน 6 ด้าน 1) การพัฒนาบุคลากรคัดกรองให้มีความเหมาะสม 2) การพัฒนารูปแบบการคัดกรองที่สอดคล้องกับบริบท 3) การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการคัดกรองให้ง่ายต่อการนำไปใช้ 4) การพัฒนาสถานที่สำหรับการคัดกรองและรอรับบริการให้เพียงพอต่อการบริการ 5) การพัฒนารูปแบบการสื่อสารลำดับคิวและระดับความรุนแรงทั้งทางด้านผู้รับบริการและผู้ให้บริการ 6) การพัฒนารูปแบบการบันทึกข้อมูลการคัดกรองที่มีความสมบูรณ์ และ (3) การประเมินผลลัพธ์พบว่า การคัดกรองผู้ป่วยถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 80.90 เป็น ร้อยละ 88.71 คัดกรองสูงกว่าความเป็นจริง (Over Triage) ลดลงจากร้อยละ 14.32 เป็นร้อยละ 8.22 คัดกรองต่ำกว่าความเป็นจริง (Under Triage) ลดลงจากร้อยละ 4.77 เป็น ร้อยละ 3.06 และผู้ให้บริการมีความพึงพอใจต่อแนวปฏิบัติอยู่ในระดับมาก (66.8%)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้ส่งผลให้ผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และผลลัพธ์การให้บริการมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงควรนำแนวทางการพัฒนาจากการวิจัยครั้งนี้ไปใช้พัฒนาในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
References
Emergency Nurses Association. Emergency nurses association position statement: Crowding in the emergency department. J Emerg Nurs. 2005;32(1):42-7.
Fry M, Bucknall T K. Review of the triage literature: Past, present, future? Aust Emerg Nurs J. 2002;5(2):33-8.
Christ M, Goransson F, Winter D, Bingisser R, Platz E. Modern Triage in the Emergency Department. Medicine. 2010;107(50);892-98.
Hoot N R, Aronsky D. Systematic Review of Emergency Department Crowding: Cause, Effects and Solutions. Annals of Emergency Medicine. 2008; 52(1):126-36.
พนอ เตชะอธิก, ปริวัฒน์ ภู่เงิน. กระบวนการคัดแยกผู้ป่วยในห้องฉุกเฉิน. ใน: ฐปนวงศ์ มิตรสูงเนิน, ปริวัฒน์ภู่เงิน, กมลวรรณ เอี้ยงฮง, กรกฏ อภิรัตน์วรากุล, พนอ เตชะอธิก. Essential knowledge in emergency care. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานา; 2557.
กองการพยาบาล. แนวทางการจัดอัตรากำลังพยาบาล. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.); 2547.
สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. MOPH ED Triage. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
Gilboy N, Tanabe P, Travers D, Rosenau A M. Emergency Severity Index (ESI): A Triage Tool for Emergency Department Care, Version 4. Implementation Handbook 2012 Edition. AHRQ Publication No.12-0014. Rockville, MD: Agency for Healthcare Research And Quality; 2015.
Subas F, Dunn F, McNicholl B, Marlow J. Team triage improves emergency department efficiency. Emergency Medicine Journal. 2014;21(2):542-44.
ศูนย์พัฒนาคุณภาพ โรงพยาบาลโพนทอง. รายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยง โรงพยาบาลโพนทอง ปีงบประมาณ 2565. ร้อยเอ็ด; 2565.
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. คู่มือแนวทางการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและ การจัดลำดับการการบริบาล ณ ห้องฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่ กพฉ. กำหนด; 2556.
Christ M, Goransson F, Winter D, Bingisser R, Platz E. Modern Triage in the Emergency Department. Medicine. 2010;107(50):892-98.
สหัศถญา สุขจำนงค์, สายสกุล สิงห์หาญ, ผดงศิษฎ์ ชำนาญบริรักษ์, บัวบาน ปักการะโต, วิศรูต ศรีสว่าง. คุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย. 2564;1(2):123-33.
จันทิรา วงศ์ชาลี. ผลของการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินหลายระบบโรงพยาบาลนายูง จังหวัดอุดรธานี. โรงพยาบาลนายูง จังหวัดอุดรธานี; 2566.
อนุศร การะเกษ, สชาย ภานุมาสวิวัฒน์, วรรณชาติ ตาเลิศ, สนอง ประนม. การลดความแออัด ณ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2564;30(1):102-12.
เทพีรัตน์ เทศประสิทธิ์. การพัฒนาระบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยงานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลโชคชัย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 2564;15(36):160-78.
ธนิษฐา ยศปัญญา. ประสิทธิผลการพัฒนารูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร. โรงพยาบาลดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร; 2564.
ชัคคเณค์ แพรขาว, โพธิพงษ์ เรืองจุ้ย, สุภาพรณ์ ตัณฑ์สุระ, นิชาภัทร บุษมงคล, พจนา ทัพซ้าย. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการจัดการความปวดในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองรุนแรงและบาดเจ็บอวัยวะอื่นร่วม. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2561;28(2):41-52.
เนตรญา วิโรจวานิช. ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในหน่วยงานอุบัติตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2561;12(1):84-94.
อรวรรณ ฤทธิ์อินทรางกูร. การพัฒนาระบบการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารกรมการแพทย์. 2561;43(2):146-51.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง