ผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการและเสริมสร้างวินัยเชิงบวก โดยครอบครัวมีส่วนร่วม ส่งผลต่อความฉลาดทางด้านสติปัญญา ความฉลาดทางด้านอารมณ์ และพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาการเด็กเล็กในเขตตำบลหัวช้าง อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
สร้างวินัยเชิงบวก, ครอบครัวมีส่วนร่วม, ความฉลาดทางอารมณ์, พฤติกรรมของผู้ปกครองบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์และพฤติกรรมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการ และสร้างวินัยเชิงบวกเด็กอายุ 3-5 ปี ในโรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน
รูปการการวิจัย : การวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) แบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและหลังสิ้นสุดโปรแกรม (One group Pretest-Posttest Group)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองและเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 3-5 ปีบริบูรณ์ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าอย่างน้อย 1 ด้าน จำนวน 85 คู่ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนกรกฎคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Paired t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ 95% confidence interval
ผลการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 85 คน หลังการทดลองพบว่า เด็กอายุ 3-5 ปีมีคะแนนเฉลี่ยความลาดทางอารมณ์โดยรวมมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 1.20 คะแนน (95%CI;1.14, 1.44) และพบว่าหลังการทดลองผู้ปกครองมีคะแนนค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยรวม มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวกโดยรวมมากกว่า 1.19 คะแนน (95%CI; 0.96, 1.44)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษาครั้งนี้ส่งผลให้เด็กอายุ 3-5 ปี มีผลลัพธ์ดีขึ้น ดังนั้น ควรส่งให้นำโปแกรมนี้มาใช้ในหน่วยงายที่เกี่ยวข้องต่อไป
References
สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). กรุงเทพฯ; 2560.
World Health Organization. Developmental Difficulties in Early Childhood: Prevention, Early identification, Assessment and Intervention in Low- and Middle Income Countries: a Review. Child and Adolescent Health and Development. Turkey: Turkey Country Office and CEECIS Regional Office; 2012.
หนึ่งฤทัย เกื้อเอียด, ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, สมเกียรติยศ วรเดช. สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2561;5(1):281-96.
ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. คู่มือแนวทางการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก เขตสุขภาพที่ 7. ขอนแก่น: หจก.ขอนแก่นการพิมพ์; 2563.
โรงพยาบาลจตุรพักตรพิมาน. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์. กลุ่มงานยุทธศาสตร์; 2565.
Real play coalition. Value of play report [Internet]. 2018 [cited 2023 Dec 23]. Available from: https://www.realplaycoalition.com/wp-content/uploads/2018/11/The-Real-Play-Coalition_Value-of-Play-Report.pdf
เข็มพร วิรุณราพันธ์. รู้เท่าทันสื่อ ICT [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 26 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http:/linetfoundation.or.th/icthappydownloadlearn/pdf/1.ICT_Book 1.pdf
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์. โปรแกรมการส่งเสริมพัฒนาการและสร้างวินัยเชิงบวก โดยครอบครัวมีส่วนร่วม. เชียงใหม่:ปริษัท สยามพิมพ์นานา จำกัด; 2563.
กัญญพัชร พงษ์ช้างอยู่. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการเล่านิทานต่อความฉลาดทางอารมณ์และพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัย [วิทยานิพนธ์]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.
จุฬาลักษณ์ ยะวิญชาญ, วิชาภรณ์ คันทะมูล, ระบอบ เนตรทิพย์. ผลการศึกษาของประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์และเสริมสร้างวินัยเชิงบวกในเด็กปฐมวัยโดยครอบครัวมีส่วนร่วม อำเภอปัว จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 2562;6(1):71-85.
สุพัตรา นุตรักษ์, สมสิริ รุ่งอมรรัตน์, อุ่นเรือน แก้วพินิจ. ผลของโปรแกรมพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับเด็กวัยก่อนเรียนในสถานสงเคราะห์เด็กอ่อนรังสิต. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2555;7(2):84-95.
วิจิตร จันดาบุตร, วิทยา อยู่สุข, วิโรจน์ เซมรัมย์. การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลสีวิเชียร อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 2561;13(1):208-19.
อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร, พัชราภรณ์ พุทธิกุล. การวิเคราะห์สถานการณ์ของการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยโดยผู้ปกครองที่ไม่ใช่พ่อแม่และการนำเสนอนวัตกรรมเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว. วารสารครุศาสตร์. 2560;45(3):188-205.
ชดาพิมพ์ เผ่าสวัสดิ์. การเสริมสร้างความผูกพันทางอารมณ์ สำหรับเด็กวัยแรกเกิด-5 ปี ด้วยกินกอด เล่น เล่า. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-03-07 (3)
- 2024-03-07 (2)
- 2024-02-29 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง