การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือดและช็อกจากการติดเชื้อ ที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวฉับพลัน: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
ภาวะติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือด, ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ, ภาวะการหายใจล้มเหลวฉับพลัน, แนวคิดทางการพยาบาล FANCASบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือดตามแนวคิดทางการพยาบาล FANCAS และเสนอแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือดและช็อกจากการติดเชื้อ ที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวฉับพลัน
รูปแบบการศึกษา : เชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง รายกรณีศึกษา 2 ราย
วัสดุและวิธีการศึกษา : โดยทบทวนข้อมูลผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือด ที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ และการหายใจล้มเหลว โดยได้ใช้แบบประเมิน FANCAS วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา : กรณีศึกษาที่ 1 หญิงไทย อายุ 62 ปี มีอาการไข้สูง ไอมีเสมหะ ก่อนมาโรงพยาบาล 1 วัน แรกรับ พบว่า มีไข้ ความดันโลหิตต่ำ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง แพทย์ได้ให้ผู้ป่วยเข้ารักษาในแผนกอายุรกรรม ต่อมามีภาวะการหายใจล้มเหลว ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและย้ายเข้ารักษาต่อในหอผู้ป่วยหนัก (ICU) กรณีศึกษาที่ 2 หญิงไทย อายุ 77 ปี มีอาการเหนื่อย หายใจหอบ ถ่ายอุจจาระเหลว 9 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล แรกรับผู้ป่วยมีภาวะการหายใจล้มเหลวฉับพลัน ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและรับเข้ารักษาในแผนกผู้ป่วยหนัก ผู้ป่วยทั้งสองรายอยู่ในระยะวิกฤตได้รับการพยาบาลตามแนวคิดทางการพยาบาล FANCAS ดังนี้ 1) ด้านสมดุลน้ำ: เกิดภาวะไม่สมดุลของอิเล็กโตรไลท์ ผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ มีภาวะความเข้มข้นในเลือดสูงเนื่องจากน้ำตาลคั่งในเลือดมาก 2) ด้านการหายใจ: เกิดภาวะพร่องออกซิเจนในเลือดเนื่องจากภาวะการหายใจล้มเหลวฉับพลัน มีภาวะเสียสมดุลกรดด่างในร่างกาย 3) ด้านภาวะโภชนาการ: มีโอกาสเกิดภาวะทุพโภชนาการเนื่องจากแบบแผนการรับประทานอาหารเปลี่ยนแปลง 4) ด้านการติดต่อสื่อสาร:มีความวิตกกังวลและกลัว เนื่องจากอยู่ในภาวะรุนแรงของโรคและความไม่แน่นอนของการดำเนินของโรค 5) ด้านการทำกิจกรรม: พร่องสุขวิทยาส่วนบุคคลเนื่องจากช่วยเหลือตนเองได้น้อยลง 6) ด้านการกระตุ้น: มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อ และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจและการใช้เครื่องช่วยหายใจ
สรุปและข้อเสนอแนะ : แนวคิดทางการพยาบาล FANCAS สามารถนำมาประยุกต์ใช้ดูแลผู้ป่วยติดเชื้อรุนแรงในกระแสเลือดและภาวะช็อกจากการติดเชื้อที่มีภาวะการหายใจล้มเหลวฉับพลันได้เหมาะสม สามารถใช้รวบรวมข้อมูลสำคัญจำเป็น ที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงด้านพยาธิสรีรภาพของผู้ป่วยในภาวะวิกฤต ได้อย่างครบถ้วน
References
World Health Organization. The World Health Organization’s first global report on sepsis [Internet]. 2021 [cited 2021 Oct 5]; Available from: https://www.who.int/news/item/08-09-2023
Health Data Center. Ministry of Public Health [internet]. 2023 [cited 2023 Oct 5]. Available from; https://hdcservice.moph.go.th
กระทรวงสาธารณสุข. Healthkpi [อินเตอร์เน็ต]. 2021 [เข้าถึงเมื่อ 5 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://healthkpi.moph.go.th
Hanlumyuang G. The analysis of contributing factors to septic death in Pakkred Hospital. Journal of Preventive Medicine Association of Thailand. 2020;10(1):108-17.
Charoenpong L, Pholtawornkulchai K. Incidence and risk factors associated with mortality from sepsis At Chaophrayayommarat Hospital. Region 4-5 Medical Journal. 2020;39(4):542-60.
คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสาขาอายุรกรรม. แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Sepsis and Septic Shock). จังหวัดร้อยเอ็ด; 2566.
Holloway M. Nursing the Critically ILL Adult. California: Addison-Wesley; 1979.
Singer M. Deutschman C S, Seymour C W, Shankar-Hari M, Annane D, Bauer M, et al. The Third International Consensus Definitions for Sepsis and Septic Shock (Sepsis-3). JAMA. 2016;315(8):801-10.
Dugar S, Choudhary C, Duggal A. Sepsis and septic shock: Guideline-based management. Cleveland Clinic Journal of Medicine. 2020;87:53-64.
Evans A, Rhodes A, Alhazzani W, Antonelli M, Coopersmith C M, French C, et al. Surviving Sepsis Campaign: International guidelines for management of sepsis and septic shock 2021. Intensive Care Med. 2021;7(11):1181-247.
ปรีชา ธำรงไพโรจน์. การใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างเหมาะสมในภาวะเซพซิส. ใน: ระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์, มณฑิรา มณีรัตนะพร, สุรัตน์ ทองอยู่, นัฐพล ฤทธิ์ทยมัย, บรรณาธิการ. อายุรศาสตร์ทันยุค.กรุงเทพฯ: พริ้นท์เอเบิ้ล; 2562. หน้า 81-90.
Levy M M, Evans L E, Rhodes A. The Surviving Sepsis Campaign Bundle: 2018 update. Intensive Care Med. 2018;46(6):997- 1000.
Seymour C W, Gesten F, Prescott H C, Friedrich M E, Iwashyna T J, Phillips G S, et al. Time to treatment and mortality during mandated emergency care for sepsis. New England Journal of Medicine. 2017;376(23):2235-44.
Rhodes A, Evans L E, Alhazzani W, Levy M M, Antonelli M, Ferrer R, et al. Surviving Sepsis Campaign: International Guidelines for Management of Sepsis and Septic Shock: 2016. Intensive Care Med, 2017;43(3):304-37.
Thompson K, Venkatesh B, Finfer S. Sepsis and septic shock: current approaches to management. Internal Medicine Journal. 2019;49(2):160-70.
ชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทย. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พรี-วัน; 2563.
Mathukia C, Fan W, Vadyak K, Biege C, Krishnamurthy M. Modified early warning system improves patient safety and clinical outcomes in an academic community hospital. Journal of Community Hospital Internal Medicine Perspectives. 2015;5(2):267-316.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-02-22 (3)
- 2024-02-22 (2)
- 2024-02-22 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง