การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วม ของทีมสหวิชาชีพในโรงพยาบาลเกษตรวิสัย

ผู้แต่ง

  • ธนพร หนองพล โรงพยาบาลเกษตรวิสัย

คำสำคัญ:

การดูแล, ผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาระบบและประเมินผลลัพธ์ของระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบลงมือปฏิบัติร่วมกัน (Mutual collaborative action research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในระยะศึกษาสถานการณ์ 30 คน บุคลากรผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง 30 คน และผู้รับผิดชอบหลัก 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยและแบบประเมินการปฏิบัติ ดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 ถึงเดือนธันวาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 ผลการวิจัย : 1) การวิเคราะห์สถานการณ์พบปัญหาทั้งด้านการบริหาร การปฏิบัติ และการสนับสนุน เมื่อวิเคราะห์สาเหตุแล้วพบว่าส่วนใหญ่เกิดจากการเข้าถึงบริการล่าช้า (Delay detection, Delay diagnosis, Delay and inappropriate antibiotic และ Delay shock-resuscitation) และการสื่อสารของทีมสหสาขาวิชาชีพ 2) ระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโดยการมีส่วนร่วมของทีมสหวิชาชีพครั้งนี้ ประกอบด้วย แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 ส่วน คือ การประเมินสภาพแรกรับ การระบุข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การพยาบาล การประเมินผลการพยาบาล และการประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก และ 3) พยาบาลปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ Sepsis Protocol โดยรวมอยู่ในระดับมาก(Mean=4.32, SD.=0.37)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ระบบการดูแลฯ ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดได้ อันจะส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐานเกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งในด้านการพยาบาลและผลลัพธ์ทางคลินิกที่สำคัญ

References

ทิฏฐิ ศรีวิชัยและวิมล อ่อนเส็ง. ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ: ความท้าทายของพยาบาลฉุกเฉิน. วารสารวิทยาลัยบรมราชชนนีอุตรดิตถ์. 2560;9(2):152-62.

สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงแผนกการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://healthkpi.moph.go.th/kpi/kpi-list/view/?id=964.

สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. Critical Care towards to Perfection [อินเทอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 13 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/wp-content/uploads/2019/07/World-Sepsis-Day-Thailand-2016.pdf

ประสิทธิ์ อุพาพรรณ. SEPSIS [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 13 ส.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://med.swu.ac.th/internalmed/images/documents/handout/ID/PU/sepsis.pdf

สาธร ธรรมเนียมอินทร์. การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. 2561;16(2):58-68.

Amland R C, Hahn-Cover K E. Clinical decision support for early recognition of sepsis. American Journal of Medical Quality. 2016;31(2):103-10.

Dellinger R P, Levy M M, Rhodes A, Annane D, Gerlach H, Opal S M, et al. Surviving Sepsis Campaign Guidelines Committee Including the Pediatric Subgroup. Surviving Sepsis Campaign: international guidelines for management of severe sepsis and septic shock: Crit Care Med. 2012;41(2):580-637.

ฑิตยา วาระนัง. ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงรายเวชสาร. 2562;11:1-8.

ประกาศิต เทนสิทธิ์, ชยันตร์ธร ปทุมานนท์, สุขี พบลาภ, ชลิสา นันทสันติ, ธนิตา มนตรี. ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตเร็วและช้าในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2563;35:101-9.

โรงพยาบาลเกษตรวิสัย. ระบบสารสนเทศรายงานผลการดำเนินการผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดปี พ.ศ.2565. ร้อยเอ็ด: โรงพยาบาลเกษตรวิสัย; 2565.

Kemmis S, Mc Taggart R. The Action research Planner 3'ed. Geelong. Deakin University press; 1988.

พรรณี ชูศรี, อิสราภรณ์ ปัญญา, ปิยะเนตร ปานเกิด. การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง 1 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. วารสารการพยาบาลสุขภาพ และสาธารณสุข. 2565;1(2):12-27.

อรอุมา มะกรูดทอง, จินตนา ดำเกลี้ยง. ผลลัพธ์ของการพัฒนาแนวปฏิบัติการประเมินแรกรับและการจัดการทางการพยาบาลสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในห้องฉุกเฉิน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2564;41(3):60-73.

ธิราภรณ์ อุ่นแก้ว, อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์. การพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตของโรงพยาบาลขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 2564;1(2):40-52.

สมใจ จันทะวัง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดในงานห้องผู้ป่วยหนัก 2 โรงพยาบาลลำพูน. วารสารโรงพยาบาลแพร่. 2561;26(1):35-46.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-14 — Updated on 2024-02-22

Versions