การพยาบาลผู้ป่วยเนื้องอกมดลูกที่เข้ารับการผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทั้งหมดแบบผ่าตัด เปิดทางหน้าท้อง และผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก: กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ดวงใจ นิ่มวัฒนกุล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมดลูก, การผ่าตัดแบบเปิดทางหน้าท้อง, การผ่าตัดผ่านกล้อง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบสภาพปัญหาและศึกษาความต้องการการพยาบาลผู้ป่วยเนื้องอกมดลูก 2 ราย ซึ่งเข้ารับการผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทั้งหมดแบบผ่าตัดเปิดทางหน้าท้องจำนวน 1 ราย และผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก 1 ราย ที่มีความแตกต่างด้านปัจจัยส่วนบุคคล แผนการรักษา และความต้องการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยการพยาบาล

วัสดุและวิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงในผู้ป่วยเนื้องอกมดลูก จำนวน 2 รายที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยพิเศษสงฆ์เฉลิมพระเกียรติชั้น 3, 4 โรงพยาบาลร้อยเอ็ด ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ผู้ดูแลและการสังเกตอาการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการเปรียบเทียบ พยาธิสภาพและอาการแสดงของผู้ป่วย แผนการรักษา ประเมินปัญหาทางการพยาบาลด้วยแผนสุขภาพ 11 แบบของกอร์ดอน และวางแผนปฏิบัติการพยาบาลตามข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล และช่วยเหลือตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยใน สรุปและประเมินผลลัพธ์ทางการพยาบาล

ผลการศึกษา : พบว่า 1. ระยะก่อนผ่าตัด ผู้ป่วยทั้งสองรายมีความวิตกกังวลต่อการผ่าตัดเหมือนกันถึงแม้ว่าชนิดของการผ่าตัดจะแตกต่างกัน ส่วนปัญหาที่แตกต่าง คือ ผู้ป่วยรายที่ 1 มีภาวะซีดเดิมตั้งแต่ก่อนผ่าตัดจำเป็นต้องได้รับเลือดก่อนผ่าตัด 2. ระยะหลังผ่าตัด พบว่า ผู้ป่วยทั้งสองรายมีปัญหาและความต้องการคือ 1) ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผล โดยผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดโดยเปิดหน้าท้องมีระดับความปวดมากกว่าผู้ป่วยผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็กเนื่องจากแผลผ่าตัดมีขนาดใหญ่ทำให้เนื้อเยื่อได้รับการบาดเจ็บมากกว่า แต่ผู้ป่วยผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็กมีอาการไม่สุขสบายจากการปวดร้าวไหล่ร่วมด้วยอันเป็นผลมาจากการใส่แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในช่องท้อง 2) ผู้ป่วยขาดความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวภายหลังผ่าตัดเมื่อกลับไปอยู่บ้านและพบว่าการฟื้นตัวหลังการผ่าตัดโดยวิธีผ่าตัดส่องกล้องแผลเล็กเร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง ส่วนปัญหาที่แตกต่างกัน คือ ผู้ป่วยที่ผ่าตัดเปิดทางช่องท้องยังต้องเฝ้าระวังภาวะซีดเนื่องจากการเสียเลือดขณะผ่าตัด 700 มิลลิลิตร และได้ PRC 1 unit ในห้องผ่าตัด ผลจากการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรับปรุงการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัดเนื้องอกมดลูกซึ่งเข้ารับการผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทั้งหมดแบบผ่าตัดเปิดทางหน้าท้อง และผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก เพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้

สรุปและข้อเสนอแนะ : จากผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า พยาบาลควรพัฒนาสมรรถนะการช่วยเหลือผู้ป่วยตามมาตรฐานผู้ป่วยในและทักษะในการประเมินอาการและอาการแสดงอย่างครอบคลุม รวมทั้งเฝ้าระวังสังเกตอาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้นในการผ่าตัดทั้งสองแบบ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน

References

ปวีณา พังสุวรรณ, อุบล แสงอนันต์. แนวทางการดูแลรักษาเนื้องอกมดลูกโดยไม่ผ่าตัดมดลูก. สูติศาสตร์ล้านนา [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 8 กันยายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/5630/

ธันยารัตน์ วงศ์วนานุรักษ์, สุรศักดิ์ อังสุวัฒนา. เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก. ใน: ประสงค์ ตันมหาสมุทร และคณะ, บรรณาธิการ. หนังสือนรีเวชทันยุค. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล;2561. หน้า 204-17.

Prasert Triwijitsilp. Tumors and cervical cancer. (3rd printing). Bangkok: OS Printing Hous; 2016.

ศูนย์ข้อมูล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด. สถิติบริการผู้ป่วยเนื้องอกมดลูก. ร้อยเอ็ด. โรงพยาบาลร้อยเอ็ด; 2565.

ปัทมา พรหมสนธิ, เสาวคนธ์ อัจจิมากร. การประเมินก่อนการผ่าตัดและการดูแลหลังการผ่าตัด. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2559.

Gordon M. Nursing diagnosis: Process and Application. New York: McGraw-Hill; 1994.

ณัฏฐ์วรดี จิรายุสวุฒิธนา. การพยาบาลผู้ป่วยเนื้องอกมดลูกที่เข้ารับการผ่าตัดมดลูกและปากมดลูกออกทั้งหมดแบบผ่าตัด เปิดทางหน้าท้องและผ่าตัดผ่านกล้องแผลเล็ก: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2565;5:110-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-14