ผลลัพธ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV/AIDS โรงพยาบาลโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ยาต้านไวรัส, โรคเอดส์, ความสัมพันธ์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของการรักษาและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการรักษาด้วยยาต้านไวรัสของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV/AIDS โรงพยาบาลโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด
รูปแบบการวิจัย : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (Retrospective Descriptive Study)
วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยติดเชื้อ HIV/AIDS ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การคัดเข้า จำนวน 103 คน ทำการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย โปรแกรม NAP plus และแบบบันทึกการบริบาลเภสัชกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด Fisher Exact Test และ Spearman Rank Correlation Coefficient
ผลการวิจัย : ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 51.50 เป็นเพศหญิง ค่ามัธยฐานของอายุ 52 ปี มีสถานภาพสมรสร้อยละ 50.48 ได้รับยาสูตรแรกร้อยละ 99.02 ระยะเวลาของการรักษาด้วยยาต้านไวรัสมีค่ามัธยฐาน 17 ปี ค่าเฉลี่ยของปริมาณ CD4 เท่ากับ 483.04 cells/mm3 และระดับของ Viral load ที่ระดับ < 50 copies/ml ร้อยละ 90.30 ผลของการทดสอบความสัมพันธ์พบว่า เพศ สูตรยาที่ป่วยได้รับ การติดเชื้อฉวยโอกาสหรือเชื้อดื้อยา ระยะเวลาของการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ และความร่วมมือในการรับประทานยามีความสัมพันธ์กับผลการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในส่วนของระดับ CD4 และพบว่าสูตรยาที่ป่วยได้รับ การติดเชื้อฉวยโอกาสหรือเชื้อดื้อยา และความร่วมมือในการรับประทานยามีความสัมพันธ์กับผลการรักษาด้วยยาต้านไวรัสในส่วนของระดับ Viral Load ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
สรุปและข้อเสนอแนะ : โดยสรุปผลของการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเป็นไปตามแนวทางการรักษา ในส่วนของปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ สูตรยาที่ป่วยได้รับ การติดเชื้อฉวยโอกาสหรือเชื้อดื้อยาและความร่วมมือในการรับประทานยามีความสัมพันธ์กับผลการรักษาด้วยยาต้านไวรัสทั้งในส่วนของระดับ CD4 และระดับ Viral Load ดังนั้นเภสัชกรและทีมสหวิชาชีพควรดูแลรักษาตามแนวทาง และส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความร่วมมือในการรับประทานยามากยิ่งขึ้น เพื่อผลการรักษาที่ดีและเป็นการป้องกันการเกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสหรือเชื้อดื้อยาของผู้ป่วยในอนาคต
References
United Nations Programme on HIV/AIDS (UNAIDS) [Internet]. 2022 [cited 2022 Oct 10]. Available from: https://www.unaids.org/en
HIV info hub. Division of AIDS and STIs [Internet]. 2022 [cited 2022 Oct 10]. Available from: https://hivhub.ddc.moph.go.th/epidemic.php
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://www.nhso.go.th/news/2828
พัชรภรณ์ ภวภูตานนท์, นุชนาถ ยิ้มใย. แนวทางการจัดบริการรับยาต้านไวรัสสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีอาการคงที่ โดยมีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง ตามบริบทของหน่วยบริการสุขภาพในไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท เรดิชั่น จำกัด; 2563.
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจวินิจฉัย รักษาและ ป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2564/2565. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.
ศศิธร แสงเนตร. ผลการบริบาลทางเภสัชกรรมในคลินิกผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลวาปีปทุม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. 2563;4(8):1-12.
เจตนิพัทธ์ มิดขุนทด. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะล้มเหลวในการรักษาด้านเชื้อไวรัสของผู้ป่วยติดเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์โรงพยาบาลตาคลี จังหวัดนครสวรรค์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร. 2562;16(2):65-75.
เรืองฤทธิ์ จิณะเสน. การวิเคราะห์สถานการณ์การติดเชื้อและการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารโรคเอดส์. 2561;30(2):57-68.
สุนันทา เส็งมังสา. ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อความสำเร็จทางไวรัสในการรักษาโดยการให้ยา ARV ในผู้ป่วยเชื้อ HIV/AIDS รายใหม่ ที่มารับการบริการที่คลินิกนภา โรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2561;21(2):123-35.
กัญญา พฤติสืบ. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการขาดนัดการรักษาของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ที่เข้ารับการรักษา ในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารโรคเอสด์. 2564;33(2):58-72.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.
วีนัส พีชวณิชย์, สมจิต วัฒนาชยากุล, เบญมาศ ตุลยนิติกุล. สถิติพื้นฐานสำหรับนักสังคมศาสตร์ พร้อมการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ไมโครซอฟท์เอ็กเซล. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก; 2547.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง