การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจ งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบ, การดูแลผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนาระบบ และประเมินผลลัพธ์ระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจ งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง
รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research)
วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ร่วมดำเนินการวิจัย ประกอบด้วยผู้ใช้บริการ พยาบาลวิชาชีพและผู้ร่วมวิจัย ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม 2566 แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ วิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนาระบบบริการ และประเมินผลลัพธ์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึก แบบประเมินการปฏิบัติ แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย : ระยะวิเคราะห์สถานการณ์ พบปัญหาการบริการทั้งด้านกระบวนการ และผลลัพธ์ ระยะพัฒนาระบบบริการพบว่ามีกระบวนการพัฒนา 2 วงจรคุณภาพเกี่ยวกับ 1) การนำส่งต่อผู้ป่วยเข้าตรวจที่โซนผู้ป่วยติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ 2) ตรวจคัดกรองโดยพยาบาล 3) การปฏิบัติตาม CPG 4) การวินิจฉัยโรค (Diagnosis) 5) การจำหน่าย 6) การส่ง Cases กับพยาบาล ARI คลินิก พร้อมแนบใบคัดกรองฯ 7) ติดป้ายแจ้งเตือนที่เปลนอน/รถเข็น (ในกรณี ATK +ve) และ 8) ปิดผ้าปิดปาก/จมูกให้ผู้ป่วย ระยะประเมินผลพบว่า การปฏิบัติตาม CPG การดูแลผู้ป่วยและพยาบาลเป็นผู้คัดกรอง (100.0%) แจ้งทีม SRRT ควบคุมติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง (90.0%) การส่งต่อ Cases กับพยาบาล ARI คลินิกแนบใบคัดกรองและปิดผ้าปิดปาก/จมูกให้ผู้ป่วย (100.0%)
สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการศึกษานี้ขี้ให้เห็นว่าระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจที่พัฒนาขึ้นช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว และได้มาตรฐาน
References
Division of Academic and Planning, Sirindhorn Hospital. Annual report 2016. Bangkok: Sirindhorn Hospital; 2016.
กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV). กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชบ้านดุง. ผลการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อทางเดินหายใจ งานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช จังหวัดอุดรธานี; 2565.
จริยา ชื่นศิริมงคล, เลิศศิลป์ เอี่ยมพงษ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเข้าข่ายสงสัย/ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ห้องตรวจผู้ป่วยนอกติดเชื้อทางเดินหายใจ (OPD ARI). วชิรสารการพยาบาล. 2565;27(2):27-37.
Garritty C M, Norris S L, Moher D. Developing WHO rapid advice guidelines in the setting of a public health emergency. J Clin Epidemiology. 2017;82:47-60.
วัลทณี นาคศรีสังข์. ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลบุตรที่ป่วยด้วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบทางเดินหายใจ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. 2564;4:82-8.
Deming W E, Orsini J N. The essential Deming: Leadership principles from the father of quality management. McGraw-Hill; 2013.
สุคนธ์ทิพย์ ปัตติทานัง, ดวงแก้ว ศรีเคน, ศิริขวัญ ทิพสีลาด, อนุชา ไทยวงษ์, ปาริชาติ วันชูเสริม. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา-2019 ที่มีภาวะปอดอักเสบ. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2566;20(2):126-37.
นิดา เมตจิตกุล, แสงดาว ศรีสังสิทธิสันติ, ปานจิตร์ วงศ์ใหญ่. ผลของการใช้แนวปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการป้องกันการเกิดปอดอักเสบในโรงพยาบาลมะเร็งลำปาง. ลำปาง. กลุ่มการพยาบาล; 2559.
พัชรินทร์ นาคะอินทร์. ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 แผนกอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน โรงพยาบาลสกลนครวารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 2565;25(3):99-109.
อรวิชชา ศรีขาวรส. ผลของการใช้รูปแบบการดูแลตามมาตรฐานการพยาบาลผู้ป่วยเด็กระบบทางเดินหายใจติดเชื้อเฉียบพลันร่วมกับการคัดกรองด้วยระบบสัญญาณเตือนอาการเปลี่ยนแปลงต่อความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2562.
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกรมการแพทย์ เรื่อง แนวทางการจัดบริการผู้ป่วยสำหรับสถานพยาบาลกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 25 มกราคม 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://covid19.dms.go.th/Content/Select Landding_page?contentId=179
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2024-02-08 (4)
- 2024-02-08 (3)
- 2024-02-08 (2)
- 2024-02-08 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด
บทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิจัย และพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด ถือเป็น ผลงานวิชาการ งานวิจัย วิเคราะห์ ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้ประพันธ์ กองบรรณาธิการไม่จําเป็นต้องเห็น ด้วยเสมอไป และผู้ประพันธ์จะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง