การพัฒนาระบบและกลไกการจัดการความปลอดภัยทางถนนในชุมชนโดยการมีส่วนร่วม ของพหุเครือข่ายอำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ประชาญ เจริญถนอม สาธารณสุขอำเภอจังหาร

คำสำคัญ:

ระบบและกลไก, การจัดการความปลอดภัยทางถนน, พหุเครือข่าย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาระบบและกลไก และประเมินผลระบบและกลไกการจัดการความปลอดภัยทางถนนในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของพหุเครือข่ายอำเภอจังหาร 

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and Development Research)

วัสดุและวิธีการวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอจังหาร และเครือข่าย จำนวน 44 คน การดำเนินการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอนคือ การเตรียมการวิจัย และการดำเนินการวิจัย ดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนธันวาคม 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบทดสอบและแบบรายงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ Percentage differences

ผลการวิจัย : ก่อนการพัฒนาพบว่า สภาพการจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยรวมอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะประเด็นงานวิศวกรรมทางถนน และการปฏิบัติตามกฎจราจรมีสภาพปัญหามากที่สุด ระบบและกลไกการจัดการความปลอดภัยทางถนน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน (1) การวิเคราะห์สภาพปัญหา (2) การพัฒนาศักยภาพผู้เกี่ยวข้อง (3) การจัดทำโครงการแบบการมีส่วนร่วม (4) ติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่องและ (5) สรุป ถอดบทเรียนและประชาสัมพันธ์ และหลังการพัฒนาคะแนนความรู้เกี่ยวกับการจัดการความปลอดภัยทางถนนโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 11 คะแนน (44%) เป็น 19 คะแนน (76%) โดยมีคะแนนร้อยละความแตกต่างเพิ่มขึ้น 53.33% จำนวนอุบัติเหตุลดลงจากปี พ.ศ.2565 จาก 347 ครั้งเป็น 262 ครั้ง ลดลง 27.91% จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บลดลงจาก ปี พ.ศ.2565 จำนวน 394 คน เป็น 273 คน ลดลง 36.28% และไม่มีผู้เสียชีวิตในเทศกาลปีใหม่และวันสงกรานต์

สรุปและข้อเสนอแนะ :ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้มีการจัดการความปลอดภัยทางถนนเพิ่มขึ้น ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำไปใช้แก้ปัญหาในพื้นที่

References

WHO. รายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนน พ.ศ.2560 [อินเตอร์เน็ต]. WHO; 2560 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.searo.who.int/thailand/areas/gsrs-thai.pd?ua=1

ศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย. รายงานสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กรมการขนส่งทางบก; 2555.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอจังหาร. ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สาธารณสุข ปี พ.ศ.2565. งานอุบัติเหตุ. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอจังหาร; 2565.

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ. รายงานสถิติในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2563 [อินเตอร์เน็ต]. สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 12 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.accident.or.th/index.php/2017-12-04-07-32-28/229-2563

อัฌษไธค์ รันตนดิลก ณ ภูเก็ต. ศูนย์รถหายสายด่วน1192 [อินเตอร์เน็ต]. MGR ONLINE; 2565 [เข้าถึง เมื่อ 12 ธันวาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.manager.co.th/Motoring/ViewNews.aspx?NewsID=9570000004426

ถนอมศักดิ์ บุญสู่, อรรณพ สนธิไชย, ปณิตา ครองยุทธุ์. รูปแบบการจัดการความปลอดภัยทางถนนอย่างมีส่วนร่วมของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2563;7(3):309-21.

มาเรียม นิลพันธุ์. การประเมินโครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบกิจกรรมการพัฒนานิเทศแนวใหม่. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2553.

สมบูรณ์ แนวมั่น. รูปแบบการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในตำบลโคกหล่าม อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. 2563;18(1):40-51.

สมบูรณ์ จิตต์พิมาย. ผลการจัดการด่านชุมชนเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. 2564;7(1):237-55.

สุรางค์ศรี ศีตมโนชญ์, วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์, ลักขณา ไทยเครือ, อรชร อัฐทวีลาภ. การพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรอย่างมีส่วนร่วมโดยอาศัยทรัพยากรและศักยภาพในพื้นที่ จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2557;23(4):582-90.

วิไลวรรณ บัวชุม. ประสิทธิผลการจัดการความปลอดภัยทางถนนตามยุทธศาสตร์ 5E เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนของสำนักงานขนส่งจังหวัดเพชรบุรี [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-24