การปฏิบัติการพยาบาลและอุปสรรคในการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • เบ็ญจวรรณ คำแหงพล โรงพยาบาลร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, ปอดอักเสบ, การใช้เครื่องช่วยหายใจ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาการปฏิบัติการพยาบาลและอุปสรรคในการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้ เครื่องช่วยหายใจของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) โดยมีการเก็บข้อมูลในกลุ่มตัวอย่างเพียงครั้งเดียวช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2566 ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นบุคลากรพยาบาลวิชาชีพมีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจจำนวน 180 คน

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 180 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามรายข้อและรายด้าน ซึ่งเป็นการศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2566 วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนา (Descriptive statistics) ได้แก่ จำนวน และร้อยละ 

ผลการศึกษา : พบว่ากลุ่มตัวอย่างปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันปอดอักเสบจาการใช้เครื่องช่วยหายใจ โดยรวมอยู่ในระดับดี (79.44%)  เมื่อพิจารณาเป็นรายกิจกรรม พบว่าการให้อาหารทางสายยาง (95.55%) มีปฏิบัติได้มากที่สุด รองลงมาคือการทำความสะอาดมือ (87.77%) การดูแลความสะอาดปากและฟัน (84.44%) การดูแลอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจขณะใช้กับผู้ป่วย (74.38%) การดูดเสมหะ (73.33%) แต่เป็นที่น่าสนใจว่าการหย่าเครื่องช่วยหายใจ (60.44%) มีการปฏิบัติน้อยที่สุด และอุปสรรคในการป้องกันปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (43.89%) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านการบริหารจัดการ (78.33%) มีอุปสรรคมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านบุคลากร (39.70%) และด้านสิ่งสนับสนุน (16.67%) ตามลำดับ

สรุปและข้อเสนอแนะ : จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้ว่าพยาบาลควรได้รับการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ในการปฏิบัติการดูแลกับผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันการติดเชื้อในกลุ่มผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้นและต่อเนื่อง  

References

สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล.นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

Burja S, Belec T, Bizjak N, Mori J, Markota A, Sinkovič A. Efficacy of a bundle approach in preventing the incidence of ventilator associated pneumonia(VAP). Bosn J Basic Med Sci 2018(1):105-9. doi: 10.17305/bjbms.2017.2278. PubMed PMID: 28976870.

CDC, N. Surveillance Definitions for Specific Types of Infections; 2023.

Borah K, Ramamoorthy L, Senthilnathan M, Murugesan R, Lalthanthuami H T, Subramaniyan R. Effect of fourth hourly oropharyngeal suctioning on ventilator-associated events in patients requiring mechanical ventilation in intensive care units of a tertiary care center in South India: a randomized controlled trial. Acute Crit Care 2023;38(4):460-8. doi:10.4266/acc.2022.01501. PubMed PMID: 38052511.

เมตตา เขียวแสวง, อรสุดา โสภาพรมม, อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ, ยุดา สุธีรศานต์. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 2563;7(1):98-109.

Kollef M H, Hamilton C W, Ernst F R. Economic impact of ventilator-associated pneumonia in a large matched cohort. Infect Control Hosp Epidemiol 2012;33(3):250-6. doi: 10.1086/664049. PubMed PMID: 22314062.

Martinez-Reviejo R, Tejada S, Jansson M, Ruiz-Spinelli A, Ramirez-Estrada S, Ege D, et al. Prevention of ventilator-associated pneumonia through care bundles: A systematic review and meta-analysis. J Intensive Med 2023;3(4):352-64. doi: 10.1016/ j.jointm.2023.04.004. PubMed PMID: 38028633.

Shen Y, Dai L, Zhu Y, Lang Y. The Impact of Improved Oral Care Methods on the Oral Health of Patients Undergoing Transoral Mechanical Ventilation. Comput Math Methods Med 2022. doi: 10.1155/2022/7596654. PubMed PMID: PMC9507657.

Takahama Jr A, Sousa V L D, Tanaka E E, Ono E, Nakanishi Ito F A, Costa P P, et al. Analysis of oral risk factors for ventilator-associated pneumonia in critically ill patients. Clin Oral Investig 2021;25(3):1217-22. doi: 10.1007/s00784-020-03426-x. PubMed PMID: 32594308.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-21