This is an outdated version published on 2024-01-17. Read the most recent version.

ผลของโปรแกรมการให้ความรู้รายบุคคลต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่ป่วยด้วยโรคปอดอักเสบตามการรับรู้ของมารดาในโรงพยาบาลโพธิ์ชัย

ผู้แต่ง

  • ธนิยา กุสุมาลย์ โรงพยาบาลโพธิ์ชัย

คำสำคัญ:

การให้ความรู้รายบุคคล, พฤติกรรมการดูแลเด็ก, โรคปอดอักเสบ, การรับรู้

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ความสามารถ และพฤติกรรมการดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่ป่วยด้วยโรคปอดบวมตามการรับรู้ของมารดาในโรงพยาบาลโพธิ์ชัย 

รูปแบบการวิจัย : การศึกษากึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (Two groups, pre-posttest design)

วัสดุและวิธีการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาเด็กที่มีเด็กป่วยด้วยโรคปอดบวมอายุต่ำกว่า 5 ปีที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลโพธิ์ชัยที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (Independent t-test)

ผลการวิจัย : หลังการทดลองพบว่ามารดากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถในการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบโดยรวมมากกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถมากกว่า 2.02 คะแนน (95%CI: 1.75, 2.29); ส่วนพฤติกรรมการดูแลบุตรอายุต่ำกว่า 5 ปี หลังการทดลองพบว่า มารดาในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการดูแลขณะเจ็บป่วยโดยรวมมากกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 1.50 คะแนน (95%CI: 1.14, 1.87) และคะแนนเฉลี่ยการดูแลเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยซ้ำโดยรวมมากกว่ากลุ่มควบคุม (p<.001)  โดยมีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า 2.29 คะแนน (95%CI: 2.08, 2.49)

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้มารดามีการรับรู้ความสามารถและพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบเพิ่มขึ้น ดังนั้น ควรส่งเสริมการนำ Intervention ดังกล่าวมาใช้ในหน่วยงาน

References

Strategy and Planning Division. Standard coding guidelines. Saeng Chan Press Limited Partnership; 2560.

Department of Disease Control. Annual epidemiological surveillance report 2012; 2012.

กรมควบคุมโรค สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา. โรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส RSV. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2566.

กรมควบคุมโรค. DDC WATCH จับตาโรคและภัยสุขภาพ. 2564;9(1):1-20.

โรงพยาบาลโพธิ์ชัย. สรุปผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์สาธารณสุข ปี พ.ศ.2564. งานยุทธศาสตร์; 2564.

ปราการ ตอวิเชียร. โรคปอดอักเสบติดเชื้อในเด็ก. ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2565.

สุจิน เพชรมาก. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนและให้ความรู้มารดาต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคปอดอักเสบ. กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง; 2564.

Kristensson-Hallstrom I. Parental participation in pediatric surgical care. Association of perioperative Registered Nurse [AORN] Journal. 2000;71(5):1021-33.

วนิดา แสนพุก, สุดใจ ศรีสงค์, เพ็ญจุรี แสนสุริวงศ์. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเด็กโรคปอดอักเสบ. วารสารกองการพยาบาล. 2563;47(1):153-71.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Thorofare, NJ: Erlbaum; 1988.

บุษบง โกฏิวิเชียร. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมของมารดาเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจในเด็กชุมชนเขตบางเขน กรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2533.

ศิราณี อิ่มน้ำขาว. การรับรู้อาการและแบบแผนการดูแลเด็กโรคปอดบวมที่ป่วยซ้ำของผู้ดูแล [วิทยานิพนธ์].ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2548.

ศิราณี อิ่มน้ำขาว, วิภาดา ดวงพิทักษ์, ไรจูณ กุลจิติพงศ์, อลิสา ผาบพุทธา. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมต่อความสามารถของผู้ดูแลเด็กโรคปอดบวม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 2565;19(3):165-76.

อัลจนา ไชยวงศ์, มาลีวรรณ เกษตรทัต, อุษณีย์ นากุ, สุรสิทธิ์ จีสันติ. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อการป้องกันปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2557;10(3):183-93.

ภาวิณี ช่วยแท่น, ภรณี วัฒนสมบูรณ์, สุปรียา ตันสกุล. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการกลับมารักษาซ้ำในมารดาเด็กโรคปอดอักเสบ. วารสารสุขศึกษา. 2563;43(1):12-24.

Evans R I. Albert Bandura: The Man and His Ideas. New York: Praeger Press; 1989.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-17 — Updated on 2024-01-17

Versions