การพัฒนารูปแบบการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง งานผู้ป่วยในโรงพยาบาลธวัชบุรี

ผู้แต่ง

  • จันทร์เมือง ทนงยิ่ง โรงพยาบาลธวัชบุรี
  • รัตนาภรณ์ อุปแก้ว โรงพยาบาลธวัชบุรี
  • ดวงกมล สุขบาล โรงพยาบาลธวัชบุรี

คำสำคัญ:

การวางแผนการจำหน่าย, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหา พัฒนารูปแบบ และศึกษาผลของรูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง งานผู้ป่วยในโรงพยาบาลธวัชบุรี     

รูปแบบการวิจัย : การวิจัยและพัฒนา (Research and development)  

วัสดุและวิธีวิจัย : ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาที่งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลธวัชบุรี จำนวน 21 คน ญาติผู้ดูแล จำนวน 21 คน และทีมสหวิชาชีพ จำนวน 18 คน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Percentage difference  

ผลการวิจัย : 1) ปัญหาความบกพร่องทางร่างกายส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย จำนวน 20 ราย (95.0%) ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนปี พ.ศ.2563-2565 จำนวน  3 ราย 1 ราย และ 1 รายตามลำดับ 2) รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะระยะกลางประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ (1) การลงทะเบียนรับ (2) รับเข้าห้องสหรักษ์ฟื้นฟูและประเมินผู้ป่วย/ครอบครัว (3) วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการผู้ป่วยและญาติ (4) กำหนดเป้าหมายการดูแลฟื้นฟู  (5) วางแผนการพยาบาล (6) ประเมินความพร้อม และ (7) จำหน่ายผู้ป่วย และ 3) หลังการพัฒนา พบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะระยะกลางมีคะแนนความแตกต่างความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน (Activities of Daily Living = ADL) เพิ่มขึ้นจาก 14.23 คะแนน เป็น 17.76 คะแนน เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.20 คะแนน อัตราการ Re-Admit ด้วยภาวะแทรกซ้อนภายใน 28 วัน ลดลง คิดเป็นร้อยละ 200.00  

สรุปและข้อเสนอแนะ : ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่ารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลางส่งผลผู้ป่วยมีความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำรูปแบบนี้ไปดำเนินการในพื้นที่

References

ทีมสุขภาพโรคหลอดเลือดสมอง. คู่มือระบบบริการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเครือข่ายจังหวัดขอนแก่น PNC : Provincial Healthcare Network Certification; 2562.

World Health Organization. Stroke Cerebrovascular accident health topic [Internet]. 2021 [cited 2023 Oct 21]. Available from: http://www. who.int./topics/cerebrovascular_accident/en/

National Stroke Association 2017. Effects of stroke [Internet]. 2017 [cited 2023 Oct 21]. Available from: http://www.stroke.org/site/Page Server?pagename=effects

Wang Y, Yang F, Shi H, Yang C, Hu H. What Type of Transitional Care Effectively Reduced Mortality and Improved ADL of Stroke Patients? A Meta- Analysis. International Journal of Environmental Research and Public Health. 2017;14(5):510-18.

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 18 14 - 17 มีนาคม 2560 ณ ศูนย์การประชุมอิมแพ็คฟอรั่ม เมืองทองธานี. นนทบุรี: บริษัทหนังสือดีวัน จำกัด; 2560.

โรงพยาบาลธวัชบุรี. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประจำปี พ.ศ.2565. ร้อยเอ็ด; 2565.

Farahvar A, Gerber L M, Chiu Y L, Carney N, Hartl R, Ghajar J. Increased mortality in patients with severe traumatic brain injury treated without intracranial pressure monitoring. Journal of Neurosurgery. 2012;117(4):729-34.

Li J, Zhang P, Wu S, Wang Y, Zhou J, Yi X, et al. Stroke-related complications in large hemisphere infarction: incidence and influence on unfavorable outcome. Therapeutic Advances in Neurological Disorders. 2019;12(3):224-35.

Kishore A K, Vail A, Jeans A R, Chamorro A, Di Napoli M, Kalra L, et al. Microbiological etiologies of pneumonia complicating stroke: a systematic review. 2018;49(7):1602-9.

Yan T, Liu C, Li Y, Xiao W, Li Y, Wang S. Prevalence and predictive factors of urinary tract infection among patients with stroke: a meta-analysis. American Journal of Infection Control. 2018;46(4):402-9.

Suri M F K, Qureshi A I. Readmission within 1 month of discharge among patients with acute ischemic stroke: results of the University Health System Consortium Stroke Benchmarking study. Journal of Vascular and Interventional Neurology. 2013;6(2):47.

Bravata D M, Ho S Y, Meehan T P, Brass L M, Concato J. Readmission and death after hospitalization for acute ischemic stroke: 5-year follow-up in the medicare population. 2015;38(6):1899-904.

Tsai P C, Yip P K, Tai J J, Lou M F. Needs of family caregivers of stroke patients: a longitudinal study of caregivers' perspectives. Patient Preference and Adherence. 2015;9(3); 449.

Camicia M, Lutz B J, Markoff N, Catlin A. Determining the needs of family caregivers of stroke patients during inpatient rehabilitation using interview, art, and survey. Rehabilitation Nursing Journal. 2019;44(6):328-37.

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.

นันทิยา ภูงาม, ขนิษฐา ทาพรมมา. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะกลาง (Intermediate care) หอผู้ป่วยชาย โรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสุขภาพและสั่งแวดล้อมศึกษา. 2565;7(4):1-14.

ธนัชญา พูนวศิน, เอมอร อาภรณ์รัตน์. การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องที่บ้านของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 2566;4(2):126-36.

คนึงนิจ ศรีษะโคตร, พจนีย์ ขูลีลัง, เบญจพร เองวานิช, บุญมี ชุมพล, สุวัลยา ศรีรักษา. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายแบบบูรณาการในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารสภาการพยาบาล. 2565;37(3): 20-43.

วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, ทิพาพันธ์ สังฆะพงษ์, ศรัณยา โฆสิตะมงคล. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโดยความร่วมมือของทีมสหวิชาชีพ. วารสารพยาบาล 2554;60(3):29-35.

Foust J B. Discharge Planning as Part of daily Nursing Practice. Applied Nursing Research. 2007:20(1):72-7.

Naylor M D, Brooten D A, Campbell R L, Maislin G, McCauley K M, Schwartz J S. Transitional Care of Older Adults Hospitalized with Heart Failure: a Randomized, Controlled Trial. J Am Geriatr Soc. 2004;52(5):675-84.

กชพร ชอบนิทัศน์. การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการตูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง รพ. แมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2550.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-12